สมาคมอาหารธรรมชาติยั่งยืนนครศรีธรรมราชและภาคีเครือข่ายกับกลไกและภารกิจพัฒนาขับเคลื่อน PGS นครศรีธรรมราช

  • photo  , 1280x576 pixel , 97,364 bytes.
  • photo  , 1280x576 pixel , 88,278 bytes.
  • photo  , 1280x576 pixel , 71,251 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 83,795 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 70,046 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 64,598 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 66,501 bytes.
  • photo  , 1280x576 pixel , 88,859 bytes.

สมาคมอาหารธรรมชาติยั่งยืนนครศรีธรรมราช​ ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้​เมื่อวันที่​ 25​ สิงหาคม​ 2563 ​โดยร่วมกันปรับปรุงมาตรฐานเกษตรอินทรีย์​ แบบ​มีส่วนร่วม​ ในนาม​ PGS​ นคร​ศรี​ธรรมราช​ ประจำปี​ 2563​ โดยมีเกณฑ์​มาตรฐาน​ ดังนี้

เกณฑ์​มาตรฐาน PGS นครศรีธรรมราช 2563 : เกษตร​อินทรีย์​ (ปรับปรุง​ สิงหาคม​ 2563)​

ด้านความใส่ใจ (CARE)

1.ระยะเวลาปรับเปลี่ยนจากเคมีสู่อินทรีย์ใช้เวลา 1 ปีสำหรับพืชล้มลุก / 1 ปีครึ่งสำหรับพืชยืนต้น

2.ต้องมีการบันทึกข้อมูลและกิจกรรมในแปลง

3.บรรจุภัณฑ์ต้องไม่เคยบรรจุสารเคมีมาก่อน

4.การปลูกพืชคู่ขนานต้องมีมาตรการแยกแยะผลผลิตให้ชัดเจน​ และต้องปรับเปลี่ยนเป็นอินทรีย์​ทั้งหมดภายใน​ 3 ปี

ด้านสุขภาพ (HEALTHY)

5.เมล็ดพันธุ์ ต้องรู้แหล่งที่มา ต้องไม่เป็นพืช GMO , ต้องไม่เป็นพืชฉายแสง​ และไม่ปนเปื้อนสารเคมี

6.ผลิตเมล็ดพันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์​เองอย่างน้อย​ 3 ชนิด​ เป็นการอนุรักษ์​พรรณพืชท้องถิ่น

7.ห้ามใช้ฮอร์โมน สารเคมีสังเคราะห์หรือสารเคมีทางการเกษตรในแปลงเด็ดขาด​ และไม่ใช้ปัจจัย​การผลิตที่สมาคมฯไม่อนุญาต​

8.มีการจัดเก็บอุปกรณ์ ปัจจัยการผลิตให้เป็นสัดส่วนไม่นำมาปนกับสารเคมี

9.​ห้ามใช้มูลสัตว์​ที่ได้จากการผลิตสัตว์​ที่ไม่เป็นธรรม​ และไม่ใช้สิ่งขับถ่ายของมนุษย์​บนพืชที่เป็นอาหารมนุษย์​

ด้านระบบนิเวศน์ (ECOLOGY)

10.​ปลูกพืชใช้ดินเป็นหลัก​ ช่วยอนุรักษ์​ดินและปรับปรุง​โครงสร้างดิน​ ให้มีความอุดมสมบูรณ์​และหลากหลายทางชีวภาพของดิน

11.ต้องมีพืชอาหารในแปลงอย่างน้อย 10 ชนิด สร้างความมั่นคงทางอาหาร

12.ต้องมีไม้ยืนต้นอย่างน้อย 5 ชนิดในแปลง และอย่างน้อย​ 5 ต้นต่อไร่​ สร้างความยั่งยืนและความหลากหลายในระบบ​นิเวศน์​

13.มีแนวกันชนป้องกันสารเคมีจากแปลงข้างเคียงโดยประเมินจากความเสี่ยง

14.มีมาตรการ​ป้องกันการเสื่อมโทรม​ของสภาพดิน​ ได้แก่​ การป้องการการชะล้างหน้าดิน​ การป้องกันดินเค็มโดยวิธีการทางนิเวศ

15.มีการจัดการน้ำและใช้น้ำอย่างยั่งยืน​ โดยน้ำที่นำมาใช้ต้องมั่นใจว่ามีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้ ​ 16.​ดูแลสภาพแวดล้อมในแปลง​ มีการจัดการขยะอย่างเหมาะสม​ หากมีการเผา ห้ามเผาไล่ทุ่ง

ด้านความเป็นธรรม (FAIRNESS)

17.ผู้รับการตรวจต้องยินยอมให้ตรวจ และเปิดเผยข้อมูลการผลิต สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้

18.การจ้างงานและแรงงานต้องเป็นธรรม

19.พึ่งพาตนเองน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางดำเนินการในแปลง เช่น ผลิตปัจจัยการผลิตเอง ได้แก่​ ปุ๋ยชีวภาพ น้ำหมักชีวภาพ​ เป็นต้น

ทั้งนี้ยังมีการเสนอแนะเทคนิคและวิธีการ​ตรวจแปลงในแต่ละข้อกำหนด​ เพิ่มเติมข้อพิจารณา​ในการขอตรวจแปลงและทำปฏิทินตรวจแปลงประจำปีเบื้องต้น และยังหารือในเรื่องการพัฒนา​เครือข่ายสมาคมอาหารธรรมชาติยั่งยืนนครศรีธรรมราช

โดยศูนย์​เครือข่ายมีภาระกิจดำเนินกิจกรรมตามหลักเศรษฐกิจ​พอเพียง​ ที่เหมาะสมกับตนเอง​ ในบริบทตามพื้นที่และศักยภาพ​ของศูนย์​ ภายใต้การบริหารจัดการของศูนย์อย่างอิสระ​ พัฒนาศักยภาพ​ในระดับต่างๆ​ ได้แก่

ระดับ​ 1​ ศูนย์​ประสานงานเครือข่าย

ขยายฐานสมาชิก​ เชื่อมโยงกับสมาคม​ ด้วยแนวทางการมีส่วนร่วม​ และสร้างกระบวนการรับรองมาตรฐาน​เกษตร​อินทรีย์​ PGS

ระดับ 2​ ศูนย์เรียนรู้

ค้นคว้า​ วิจัย​ พัฒนา​องค์​ความรู้​ ส​ร้างนวัตกรรม​ทางด้านการเกษตร​ยั่งยืน​ และถ่ายทอด​ ส่งต่อองค์​ความรู้แก่สมาชิกและผู้สนใจ

ระดับ 3​ ศูนย์เชื่อมโยงตลาด

สร้างธนาคารอาหารชุมชน​ ในรูปแบบ​ ตลาดชุมชน​ ร้านค้าชุมชน​ เชื่อมโยงกับชุมชน​ วัด​ โรงเรียน​ตามศักย​ภาพ​ของศูน​ย์ และเชื่อมโยงการตลาดของสมาชิก​ สร้างจุดเชื่อมโยงตลาดภายนอก​ พัฒนาศูนย์กระจายสินค้า​ จุดรับซื้อและบรรจุที่เป็นมาตรฐาน​  ขับเคลื่อนแนวทางการตลาดแบบยั่งยืน สร้างตัวตนบนการตลาด​ (Brand)​  ด้วยพื้นฐาน​ 4 p (สินค้า, กลไกลราคา, ช่องทางตลาด, ส่งเสริมการตลาด) สร้างสรรค์​รูปแบบการตลาดเชิงเนื้อหา​(Content​ marketing​)​ เชื่อมโยงกับการออกแบบริการ​ (Service Design)​ ส่งเสริมให้สมาชิกสร้างและพัฒ​นา​ช่องทางตลาดของตนเองในบริบทที่ตนเองมีศักย​ภาพ​ประกอบด้วย

1.ตลาดตนเอง(C2C)​

ร้านสีเขียว, ฟาร์ม​สเตย์​, หน้าร้านออนไลน์(Facebook, Line, IG)​, ร้านในตลาดออนไลน์(Shopee, Lazada, JD CENTRAL​)​

2.ตลาดเครือข่าย(B2C)​

ร้านค้าสีเขียว (Green Shop),ตลาดสีเขียว  (Green Maket),ตลาดชุมชน, ตลาดในตลาด​ (ประชารัฐ, มุมอินทรีย์), ตลาดร่วมมือ​ (ธกส., ปตท.), ตลาดร่วมค้า, ตลาดเครือข่าย (สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์ไทย พีจีเอส)

3.ตลาดตัวแทน​ (B2B2C)​

ค้าส่งเครือข่าย, ค้าส่งห้างสรรพสินค้า​ ผ่านศูนย์คัดแยกและกระจายสินค้า

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ สมาคมอาหารธรรมชาติยั่งยืน นครศรีธรรมราช

Relate topics