"บุหรี่กับปัจจัยเสี่ยงในชุมชน"
"บุหรี่กับปัจจัยเสี่ยงในชุมชน"
วันที่ 24-25 มีนาคม 2564 สคร.เขต 12 ชวนไปเป็นกรรมการวิพากษ์ชุมชนที่ส่งโครงการเข้าประกวดระดับเขตเพื่อรับโล่ห์รางวัล มีหลายพื้นที่มีกิจกรรมที่น่าสนใจ ได้เห็นความมุ่งมั่นของคนที่เกี่ยวข้องทั้งรพ.สต. ท้องถิ่น ท้องที่ อสม. ผู้นำศาสนา มาทำเรื่องยากๆ ที่ไม่ค่อยมีใครอยากทำ ผมมีข้อสังเกตไปดังนี้ครับ
1)บุหรี่ควรมองในระดับกว้างที่เชื่อมโยงกับปัจจัยด้านสังคม เศรษฐกิจ ที่มีผลมากพอๆกับสุขภาพ บุหรี่คือต้นทางไปถึงเหล้า และยาเสพติดชนิดอื่น ซึ่งเป็นปัญหาที่หนักหนาสาหัสกว่าในชุมชน
2)บุหรี่เป็นเพียงเครื่องมือเพื่อนำไปสู่การสร้างชุมชน ฟื้นฟูความสัมพันธ์ที่ต่างคนต่างอยู่ให้หันหน้ามาคุยกัน ตั้งแต่ระดับครอบครัว ไปถึงระดับชุมชน คืนเรื่องบุหรี่ให้เป็นเรื่องของชุมชน ร่วมคิดและตัดสินใจด้วยกัน และมีปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่มากกว่าระบบบริการทางการแพทย์ การส่งเสริมและปัองกัน มีบริบทของพื้นที่ทั้งศาสนา วิถีชีวิต เศรษฐกิจ สังคม สภาพแวดล้อมที่เป็นภูเขาน้ำแข็งเช่นนี้ ปัญหาบุหรี่เป็นปลายยอดจึงควรจะวิเคราะห์ให้เห็นพื้นฐานปัญหาเชิงโครงสร้างก่อนนำไปกำหนดกิจกรรมแก้ปัญหา
3)การกลัดกระดุมเม็ดแรกคือ การสื่อสารทางสังคมไปสู่ชุมชนให้ชัดเจนว่าเรามีเป้าหมายร่วมกัน ก่อนที่จะดำเนินการผ่านกลไกคณะทำงานที่ประกอบด้วยตัวแทนความคิดของผู้คนในสังคมมาร่วมกำหนดแนวทาง และใช้ข้อมูลมาประกอบการวิเคราะห์ให้เห็น "หัวใจ" ของปัญหา
4)มาตรการทางสังคม ทำได้ทั้งแบบกติกาเชิงบวก สร้างความรัก ความไว้วางใจ และความสัมพันธ์ ให้สมดุลกับเชิงกฏหมายหรือเชิงอำนาจ
5)กิจกรรมโดยรวมจากการนำเสนอจะเริ่มด้วยการสร้างกลไก คัดกรองเพื่อค้นหากลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ(ทั้งจากเก็บข้อมูล/การเป่าปอดเพื่อหาผู้ป่วย/การให้ความรู้ควบคู่กับการคัดกรอง) การสร้างคนต้นแบบ ครัวเรือนต้นแบบ การทำป้ายรณรงค์จำกัดพื้นที่สูบ สร้างสภาพแวดล้อม การให้ความรู้เยาวชน การสร้างกิจกรรมทางเลือก การบำบัดรักษา สร้างทางเลือกในการสูบผ่านสมุนไพร การสร้างกติกาในชุมชน/นโยบายเพื่อลดพื้นที่และคนสูบ ควบคุมร้านค้า ยังสามารถเพิ่มเติมกลยุทธ์อื่นๆได้อีก ตามข้อมูลที่ผ่านการวิเคราะห์ที่กล่าวมาข้างต้น
Relate topics
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”