ประชุมคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนเขต ๑๒ และภาคีเครือข่าย ครั้งที่ ๗ (ครั้งที่ ๓ /๒๕๖๑)

  • photo  , 1000x750 pixel , 114,327 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 105,291 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 112,199 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 93,161 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 62,519 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 111,771 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 90,971 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 85,912 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 81,753 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 81,068 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 98,071 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 88,138 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 92,801 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 85,185 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 69,779 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 90,265 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 68,428 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 82,474 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 84,488 bytes.
  • photo  , 1000x1333 pixel , 137,653 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 94,453 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 96,379 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 111,477 bytes.
  • photo  , 960x719 pixel , 64,244 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 79,117 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 73,949 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 78,596 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 78,659 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 80,531 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 82,154 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 68,696 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 72,080 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 61,327 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 78,013 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 59,152 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 70,046 bytes.
  • photo  , 1000x639 pixel , 125,561 bytes.

ประชุมคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนเขต ๑๒ และภาคีเครือข่าย ครั้งที่ ๗ (ครั้งที่ ๓ /๒๕๖๑)

วันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เวลา ๐๙.๐๐-๑๕.๐๐ น.

ณ ห้องจันผา ชั้น ๒ โรงแรมบุรีศรีภู อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

คณะกรรมการเข้าร่วมประชุม ๓๐ คน

สรุปการประชุม

เรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบ

๑) วันที่ ๒๙-๓๐ ตุลาคม ๒๕๖๑ ที่ผ่านมา ประธานกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนเขต ๑๒ และเลขาร่วม เข้าร่วมเวทีถอดบทเรียนและกำหนดทิศทางการทำงาน ซึ่งจัดที่กทม. ภาพรวมคือมีการปรับทิศทางการทำงานในรูปแบบการทำงานที่หลากหลายในลักษณะของสหวิชาชีพ การบูรณาการการทำงานร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเกษตร อาหาร การท่องเที่ยว ฯลฯ ที่ต้องเชื่อมโยงการทำงานกัน  ส่วนกลางคาดหวังว่ากขป.จะเป็นกลไกหนึ่งในการขับเคลื่อนพื้นที่  โดยเชื่อมโยงกับแผนพัฒนาประเทศ ๒๐ ปี  ระดับพื้นที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนเชิงปฏิบัติการรูปธรรม และส่วนกลางมีบทบาทมองในภาพรวมในการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย

๒) วันที่ ๒๘ กันยายน ๒๕๖๑ ทีมประเมินส่วนกลาง ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามหนุนเสริมการทำงานในพื้นที่สงขลาและสตูล ซึ่งได้เห็นรูปธรรมการเชื่อมต่อกับพื้นที่อื่นๆ ประเด็นที่น่าสนใจคือรูปแบบการขับเคลื่อนงานจากเขตไปจังหวัด และการขับเคลื่อนงานจากจังหวัดไปพื้นที่เป็นอย่างไร ที่จะช่วยหนุนเสริมการทำงานระดับล่าง ให้มีศักยภาพและนำไปสู่เป้าหมายการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนในเขต ๑๒

เรื่องสืบเนื่องจากการประชุม

ความก้าวหน้าการดำเนินงาน

๑. นำเสนอความคืบหน้าประเด็นบุหรี่และปัจจัยเสี่ยง  โดยดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร  ผู้แทนจากสถาบันการจัดการระบบสุขภาพภาคใต้

๑) จากการดำเนินงานในช่วงระยะที่ผ่านมา ประเด็นบุหรี่และปัจจัยเสี่ยงได้มีกิจกรรมศึกษาดูงาน  พบปะแบบไม่เป็นทางการ  จัดทำ Mapping เครือข่าย  และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีการวางแผนการทำงานและมองเป้าหมายเป็นหลัก คือ กขป.เป็นตัวเชื่อมร้อยและหาทีมในทุกจังหวัด โดยค้นหาประเด็นร่วม เสริมการทำงานในแต่ละจังหวัด ช่วยกันขับเคลื่อน และเชิญองค์กรภาคีมาเป็นอนุกรรมการ

๒) การ Mapping ในแต่ละจังหวัด ในเรื่องปัจจัยเสี่ยงเน้นประเด็นบุหรี่ก่อน เนื่องจากมี เครือข่ายการทำงานเดิมอยู่แล้ว  สิ่งที่ได้ คือ มีแนวทางปฏิบัติเพื่อให้เกิดเป็นรูปธรรม คือ องค์ความรู้ที่มีอยู่  โดยการรวบรวมชุดความรู้  ในภาคราชการมีหน่วยสนับสนุนในเรื่องของการเลิกบุหรี่ คือ รพ.รามันและคณะเภสัชศาสตร์มอ. ซึ่งหากมีหน่วยงานสนับสนุนเพียงแค่นี้จะไม่เพียงพอต่อการรณรงค์ให้ประชาชนเลิกบุหรี่  มีข้อเสนอว่าหากมีภาคประชาชนที่ช่วยกันเองในพื้นที่ ๗ จังหวัด จะสามารถขับเคลื่อนงานได้มากกว่านี้ นอกจากนี้สิ่งที่ต้องทำงานควบคู่กันคือ กลุ่มที่ยังไม่เข้าไปสู่การสูบบุหรี่ และกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากการสูบบุหรี่ที่ลุกขึ้นมาเพื่อพิทักษ์สิทธิของตัวเอง

เพิ่มเติมข้อมูล

๑)งานในระดับพื้นที่ที่มีการดำเนินการ เช่น ในพื้นที่อำเภอบางกล่ำ ชุมชนร่วมกับอบจ.,อบต.และเครือข่ายองค์กรงดเหล้า จัดกิจกรรมแข่งเรือยาว เพื่อรณรงค์ในเรื่องกีฬาเยาวชน

๒)สถานการณ์การสูบบุหรี่ ภาคใต้สูบบุหรี่มากที่สุดคือในพื้นที่เขต ๑๑ รองลงมาคือพื้นที่เขต ๑๒ ในจังหวัดตรังมีการสูบบุหรี่มากที่สุด

๓)หากใช้ความรู้มิติศาสนา และความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาเชื่อมโยงกัน ทำความรู้ให้เป็น ความรู้สาธารณะ เชื่อมโยงความรู้สู่พื้นที่รูปธรรม เช่น วัด มัสยิด โรงเรียน เพื่อขับเคลื่อนให้มีการขยายผล การปรับพฤติกรรมส่วนบุคคล การปรับสภาพแวดล้อม และการปรับในเชิงกฎหมาย น่าจะเป็นทิศทางที่จะทำให้เกิดความสำเร็จของการทำงานอีกแนวทางหนึ่ง

๒. นำเสนอความคืบหน้าประเด็นการดูแลสุขภาพตามกลุ่มวัย โดยนางสาววราภรณ์ เส็นสมมาตร ศูนย์บริหารการพัฒนาสุขภาพจังหวัดชายแดนใต้

๑) ความคืบหน้าการดำเนินงานเมื่อได้ประเด็นแล้ว ได้มีการจัดวงคุยแลกเปลี่ยนและศึกษา ชุมชนต้นแบบ คือ ชุมชนกะมิยอ ต.กะมิยอ อ.เมือง จ.ปัตตานี และ Mapping เครือข่ายร่วมกับมูลนิธิสุขภาพภาคใต้ พชอ. สปสช. รวมทั้งพัฒนากลไกการทำงานร่วมกับเขตสุขภาพที่๑๒  โดยพัฒนากลพื้นที่ทำงานหลักขยายผลไประดับชุมชนตำบลอำเภอและจังหวัด

๒) ได้มีการจัดทำแผนการทำงานร่วมกันของภาคีเครือข่าย โดยเน้นหนักไปที่ประเด็นแม่และ เด็ก  ประเด็นนี้ยังไม่ได้มีการประชุมเพื่อสรรหาอนุกรรมการ แต่ได้มีการประสานการทำงานระหว่างเขตสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขและงานเขตกขป. ในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างซึ่งเป็นปัญหาร่วมกัน

เพิ่มเติมข้อมูล

๑) ประเด็นแม่และเด็กถือว่าประเด็นร่วมของงานสมัชชาในแต่ละพื้นที่ด้วย

๒) กขป.ต้องมองบทบาทที่ส่งผลกระทบต่อภาวะฉุกเฉิน เช่น ปัญหาเรื่องวัคซีน ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นประเด็นความเชื่อทางศาสนา  ทิศทางของกขป.จะมีการช่วยกันขับเคลื่อนในประเด็นนี้อย่างไรเพื่อเป็นการช่วยกันแก้ปัญหาของชุมชน

๓) ตอนนี้ ดร.วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงาน สำนักจุฬาราชมนตรีประจำภาคใต้  มัสยิดกลางประจำจังหวัดสงขลา ได้มีการเขียนบทความที่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีน  เผยแพร่ไปยังมัสยิดต่างๆ เพื่อให้เกิดความตระหนักว่าการป้องกันโรคเป็นสิ่งจำเป็น สิ่งที่ใช้ป้องกันโรคแม้จะมาจากสิ่งที่ไม่ฮาลาล ก็อนุญาตให้สามารถใช้ได้  การนำบทความเผยแพร่ยังมัสยิดต่างๆ จะสามารถสร้างความเข้าใจได้มากยิ่งขึ้นและหากกขป.มีบทบาทเข้าไปขับเคลื่อนจะทำให้เกิดการสร้างความเข้าใจในระดับพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น

๔) ปัญหาการใช้ข้อมูลในหน่วยบริการ ในเรื่องการสร้างความเข้าใจในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ การทำงานต้องทำให้ครอบคลุมทุกประเด็นของงานสาธารณสุขในพื้นที่สามจังหวัดภาคใต้ นอกจากนี้ยังมีสถานการณ์ของคนข้ามแดนที่ข้ามไปมาระหว่างไทย-มาเลเซีย ที่เข้าไม่ถึงวัคซีน กขป.น่าจะขับเคลื่อนงานดังกล่าวด้วย ๕) สถานการณ์การระบาดของโรคหัด ที่ค่อนข้างรุนแรงในช่วงนี้ โดย ดร.ทพ.วิรัตน์ เอื้องพูลสวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต ๑๒ สงขลา จะให้สัมภาษณ์ทางวิทยุFM ๙๖.๕ คลื่นความคิดในวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๖๑ เป็นการให้ความรู้และคำแนะนำในการดูแลป้องกัน สามารถรับฟังได้ตั้งแต่เวลา ๒๑.๓๐ น.หรือรับฟังทาง You Tube ก้าวใหม่ สปสช.

๓. นำเสนอความคืบหน้าประเด็นสุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์และเปราะบางทางสังคม

ประเด็นสุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์

นำเสนอโดย โดยนางนิธินาถ  ศิริเวช  เลขานุการร่วม สปสช.

๑) สปสช.มีการดำเนินงานใน ๕ ยุทธศาสตร์ หนึ่งในนั้นคือ การผลักดันให้เข้าถึงสิทธิบัตรทองของกลุ่มชาติพันธุ์และกลุ่มเปราะบางทางสังคม  กลุ่มชาติพันธุ์ที่มีในเขต ๑๒ คือ กลุ่มมันนิ อูรักลาโว้ย

๒) สถานการณ์คือมันนิอาศัยอยู่บริเวณเทือกเขาบรรทัดและเทือกเขาสันการาคีรี ใช้ชีวิตแบบธรรมชาติแต่ก็ยังมีการเจ็บป่วยซึ่งต้องพึ่งการรักษา ในเรื่องของสิทธิหลักประกันต้องใช้บริการในหน่วยบริการที่ระบุไว้เท่านั้น แต่วิถีชีวิตของมันนิอาศัยอยู่ทั่วไปในบริเวณป่า ทำให้ไม่สามารถใช้สิทธิได้ตรงกับหน่วยบริการ

๓) กลุ่มมานิเป็นกลุ่มหลักที่สปสช.ได้มีการค้นหาและจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเมื่อ ๒ ปีที่แล้ว การดำเนินงานเบื้องต้นคือ การให้ได้รับสิทธิเข้าถึงการรักษาพยาบาล ปัจจุบันมีกลุ่มที่ได้สิทธิอยู่บ้างแล้ว ในพื้นที่ละงู จังหวัดสตูล และป่าบอน ประมาณ ๘๐๐ ราย ในพื้นที่เทือกเขาบรรทัดและเทือกเขาสันการาคีรี ได้รับสิทธิประมาณ ๔๐๐ราย

๔) ตอนนี้กระทรวงมหาดไทยมีหนังสือแจ้งชัดเจนไม่ต้องทำการพิสูจน์สิทธิแล้ว เนื่องจากชี้ชัดในเรื่องลักษณะรูปร่างของมันนิ  เป็นที่รับรู้กัน โดยสืบค้นจากนามสกุล เช่น ศรีมนัง ศรีธารโตฯลฯ ก็สามารถออกเลข ๑๓ หลักได้เลย

๕) สิ่งที่ยังเป็นปัญหา คือ มันนิกลุ่มที่ไม่มีการลงทะเบียนใดๆ แต่เข้ารับการบริการ ทำให้มี งบประมาณที่ไม่ได้ตั้งไว้ ซึ่งทางโรงพยาบาลต้องทำการสำรองจ่ายไปก่อน ตอนนี้มีตัวเลขค่ารักษาประมาณ ๒๐๐,๐๐๐ บาท ที่หน่วยบริการต้องชดเชยหรือสงเคราะห์ให้  โดยจะนำข้อปัญหาต่างๆ เข้าสู่เวทีอนุหลักประกันสุขภาพระดับเขต(อปสข.)ต่อไป

กลุ่มเปราะบางทางสังคม

นำเสนอโดยนายชาคริต  โภชะเรือง  เลขานุการร่วม สช.

๑) เป้าหมาย คือ ๑.แก้ปัญหาการเข้าไม่ถึงสิทธิในด้านต่างๆ ๒.การเข้าถึงปัจจัย ๔ อาหาร  โดยการทำงานต่อยอดจากงานศูนย์ประสานงานพหุภาคีพัฒาจังหวัด(ศปจ.)  วิธีการทำงานดูเป้าหมายเป็นหลัก  เป้าหมายสัมพันธ์กับหน่วยงานไหนบ้างระดับตำบลอำเภอจังหวัด โดยการทำ Mapping และเชิญเครือข่ายที่เกี่ยวข้องมาแลกเปลี่ยนกัน

๒) การทำงานใช้ฐานข้อมูล เป็นระบบกลางผ่านแอพพลิเคชั่น iMed@home
เป็นเครื่องมือกลางในการทำงานร่วมกัน  ใช้ระบบการเยี่ยมบ้านเป็นเครื่องมือเชื่อมโยง  นอกจากนี้ยังมีการจัดตั้งกองทุนกลางเพื่อช่วยเหลือคนยากลำบาก ในพื้นที่จังหวัดสงขลาใช้รูปแบบการระดมทุนผ่านกิจกรรมทอดผ้าป่าขยะรีไซเคิล

๓) การทำงานประเด็นกลุ่มเปราะบางทางสังคม เป็นการแก้ปัญหาเชิงบุคคล ซึ่งสามารถ วัดผลได้ โดยใช้ระบบข้อมูลกลาง และทำพื้นที่รูปธรรมจังหวัดละ ๑ พื้นที่ ร่วมกับอบจ.ซึ่งมีศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพฯ เชื่อมโยงสำรวจข้อมูลในกลุ่มเป้าหมาย และมีจิตอาสาทำหน้าที่ดูแลติดตาม อบจ.สนับสนุนกายอุปกรณ์  นอกจากนี้ยังมีกองทุนการปรับสภาพบ้านด้วย โดยเชื่อมโยงกับฝ่ายทหาร  ตำรวจและภาคีต่าง ๆ รวมทั้งการทำงานร่วมกับพชอ.ตอนนี้มี Mapping แล้วว่ามีพชอ.ไหนบ้างที่ทำงานร่วมกับเขตสุขภาพเพื่อประชาชนเขต ๑๒

๔) ช่องทางการสื่อสาร ใช้กลุ่มไลน์ กขป.เปราะบาง เป็นช่องทางแลกเปลี่ยนร่วมกัน  สำหรับ พื้นที่ปฏิบัติการบางกลุ่มชุมชนมีปฏิบัติการเชิงรุกในการแก้ไขปัญหา เช่น กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อนคนพิการจังหวัดสงขลา ที่ลงพื้นที่เพื่อช่วยเหลือเยี่ยมเยียนผู้ป่วยติดบ้านติดเตียงในพื้นที่

๔. นำเสนอความคืบหน้าประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ โดยนายกำราบ พานทอง

๑) เป้าหมาย ๑.ให้ชาวสวนยางพออยู่พอกิน ๒.ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของเขต ๑๒ ไม่ให้ พึ่งพายางพารามากเกินไป ๓.ส่งเสริมการตลาดอาหารเพื่อสุขภาพ ซึ่งได้จัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพเมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๖๑ ที่ผ่านมา

๒)กิจกรรมที่ดำเนินการในระดับพื้นที่ ส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการปรับกระบวนความคิด  ให้ เกิดการวิเคราะห์สถานการณ์ที่เป็นอยู่และทำอย่างไรให้เกิดการแก้ปัญหาที่ทันต่อสถานการณ์

๓)สถานการณ์ราคายางพาราในช่วงนี้ ลดลงต่ำมากคือเฉลี่ย ๓ กิโล ๑๐๐ บาท ราคาน้ำยาง ปรับลดลง ในช่วงเดือนตุลาคมของทุกๆปียางพาราจะมีราคาตกต่ำ พืชเศรษฐกิจหลักอื่นๆ เช่น ปาล์มน้ำมัน มะพร้าว กาแฟ ก็มีราคาตกต่ำลง  และสถานการณ์ความผันผวนจากภาวะโลกร้อนที่ส่งผลต่อปริมาณน้ำยาง ปริมาณฝนที่มากขึ้น ทำให้การกรีดยางทำได้น้อยลง  และมีสถานการณ์ใหม่ๆที่น่าจับตามองในเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยการนำผลผลิตจากยางพาราไปแปรรูป

๔)กระทรวงเกษตรจัดทำแผนเพื่อบรรจุเนื้อหาเกษตรยั่งยืนไว้ในแผน โดยตั้งเป้าหมายไว้ ๓ ปี เพิ่มพื้นที่เกษตรอินทรีย์ให้ได้ ๑,๓๐๐,๐๐๐ ไร่ โดยหลังจากนี้จะจัดสมัชชาเกษตรยั่งยืนร่วมกับสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ เพื่อปรับแผนและนำไปสู่การปฏิบัติต่อไป

๕)ช่องทางสื่อสาร คือ มีไลน์เกษตรกขป.การใช้สื่อโทรทัศน์และสื่อออนไลน์อื่นๆ

๖)ข้อเสนอแนะต่อทิศทางการทำงาน คือ การเพิ่มมูลค่าผลผลิต  ช่องทางและกลไกตลาด
การท่องเที่ยวชุมชน การทำงานร่วมกับสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดสงขลา , สภาองค์กรชุมชน ซึ่งประกาศเรื่องยางยั่งยืนเป็นวาระหนึ่งที่จะขับเคลื่อนร่วมกัน ต้องมีแผนการทำงานร่วมกันที่ชัดเจน รวมทั้งการเตรียมในแผนยุทธศาสตร์ร่วมกัน ซึ่งต้องจัดทำอย่างเร่งด่วน เนื่องจากภาวะหนี้สินและภาวะทางตันของพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยางที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  โดยจะหารือร่วมกับไทยพีบีเอส ในการนำเสนอยุทธศาสตร์ยางยั่งยืน หรือพืชเศรษฐกิจอื่นๆที่สำคัญของภาคใต้ เพื่อหาทางออกต่อสถานการณ์ภาวะที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

เพิ่มเติมข้อมูล

๑)คณะกรรมการกลุ่มการค้าชายแดนใต้ นำโดยบริษัทจีนจะมาขอศึกษาดูงานที่มอ.ในเรื่องนวัตกรรมยางพารา เพื่อนำไปสู่การพัฒนาในเชิงพาณิชย์ เช่น หมอนยางพารา โดยสามารถนำไปสู่การต่อยอดอย่างอื่นได้อีกเยอะมาก

๒)ประเด็นที่น่าสนใจที่นอกเหนือจากเรื่องรายได้จากอาชีพเกษตร คือ โรคที่เกิดจากการทำงาน  เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ทำให้เกิดโรคเครียด เกษตรกรเป็นโรคทางจิตเวชกันมากขึ้น ทำอย่างไรให้หน่วยบริการสามารถบริการครอบคลุมสิทธิในด้านการประกอบอาชีพได้ด้วย

เรื่องเพื่อพิจารณา

๑. แนวทางการประสานการขับเคลื่อน ๔ ประเด็นร่วมของคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนเขต ๑๒ มีข้อสรุปดังนี้

บทบาทในฐานะกขป.

๑.เครือข่ายเด็กและเยาวชน (นางสาวมาเรียม ชัยสันทนะ) บทบาทองค์กรช่วยประสานกลุ่มเปราะบาง/กลุ่มชาติพันธุ์ ประสานงานเครือข่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

๒.สมาคมพิทักษ์สิทธิเขาคูหา (นายเอกชัย อิสระทะ) บทบาทองค์กรทำงานการขับเคลื่อนนโยบายด้านการพัฒนาในระดับพื้นที่

๓.สำนักงานประกันสังคมจังหวัดสงขลา (นายธรรมนูญ ขุนทองเพชร) บทบาทองค์กรการช่วยเหลือในเรื่องเข้าถึงสิทธิด้านการรักษาพยาบาล

๔.สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ ๑๖ (นายจรงค์  มะสัน) การทำงานประสานและเชื่อมโยงกับงานเมืองสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

๕.สภาอุตสาหกรรมจังหวัดพัทลุง(นายกฤษณ์  เชาว์บวร) การประสานงานกับภาคีที่เกี่ยวข้อง ประสานประเด็นเร่งด่วน ร่วมสร้างพื้นที่ตัวอย่าง

๖.ประธานคณะกรรมการ (นายแพทย์สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ) การทำงานส่งเสริมด้านคุณภาพชีวิต โดยขับเคลื่อนระดับพื้นที่

๗.ตัวแทนวิชาชีพเภสัช/อย. (ภก.วิไลวรรณ สาครินทร์) บทบาทองค์กรเชื่อมประสานผู้ผลิตและผู้บริโภค ส่งเสริมเกษตรปลอดภัย/เกษตรยั่งยืน ส่งเสริมความรู้/การตรวจสอบผลิตภัณฑ์

๘.หมออนามัย/พชอ./เทคนิคการแพทย์(นายบุญเรือง ขาวนวล) บทบาทองค์กรประสานเชื่อมโยงระหว่างครอบครัวกับชุมชน ประสานองค์กรที่ทำงานในระดับชุมชน การจัดการระบบสุขภาพระดับชุมชน/งานวิชาการ และงานรณรงค์

๙.ภาครัฐ/สาธารณสุข บทบาทองค์กรประสานอนามัยสิ่งแวดล้อม งานข้อมูลด้านการตรวจสารตกค้างในแปลงเกษตร

๑๐.สภาวัฒนธรรม(นายชาญวิทูร สุขสว่าง) บทบาทองค์กรถ่ายถอดองค์ความรู้ ประสานให้เกิดวัฒนธรรมเพื่อสังคมงานด้านสหกรณ์ชุมชน งานด้านศาสนา รณรงค์ลดปัจจัยเสี่ยง

๑๑.อสม.(นายประสิทธิ์ จันทร์ลำพู) บทบาทขององค์กร การเกษตรและการแปรรูป รณรงค์ดูแลด้านสุขภาพ

๑๒.โรงพยาบาลราษฏร์ยินดี (คุณทรงชัย ไชยสุวรรณ์) บทบาทจัดทำโครงการดูดี ส่งเสริมการออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

๑๓.คณะพยาบาลศาสตร์ มอ.(ดร.รอฮานิ เจะอาแซ) บทบาทขององค์กร งานวิชาการ ดูแลด้านวัฒนธรรม/กลุ่มเปราะบาง งานวิชาการเรื่องบุหรี่ เหล้า และสารเสพติด ให้ความรู้กับกลุ่มนักเรียน คลินิกให้คำปรึกษา กลุ่มวัยด้านเด็ก/องค์กรระหว่างประเทศ เรื่องของวัคซีนและการศึกษา มิติศาสนา แก้ปัญหาความยากลำบาก

๑๔.หอการค้า (นายสมชาย ตันติ์ศรีสกุล) รณรงค์ใช้กิจกรรมศาสนาเชื่อมโยงกับมิติทางสังคมเพื่อแก้ปัญหาสารเสพติด/สร้างงานสร้างรายได้ ส่งเสริมการสร้างรายได้ในสวนยาง/ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ชาวสวนมีเวลาอยู่ในแปลงเกษตรมากขึ้น/สร้างอาชีพ

๑๕.เครือข่ายสื่อสถานีวิทยุกระจายเสียงชุมชนสวนป่าห้วยพูด (นายวิวัฒน์ หนูมาก) ผลิตสื่อทั้ง ๔ ประเด็นของงานกขป./วิทยุออนไลน์/จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

แนวทางต่อกขป.ในภาพรวม

๑.จุดเด่นคือการหนุนเสริมด้วยทีมวิชาการ มีการทำงานอย่างต่อเนื่องของ กขป. และเป็นกลไกขับเคลื่อนแนวราบ เป็นเจ้าของร่วม

๒.แนวทางที่ควรดำเนินการเพิ่มเติม สร้างความเข้าใจต่องานกขป./การถอดองค์ความรู้ข้อมูลต่างๆ ปัญหาและความต้องการของทั้ง
๔ ประเด็น ควรนิยามประเด็นร่วม/ประเด็นวิกฤติให้ตรงกัน สร้างกระบวนการรับรู้ให้แก่คณะกรรมการและผู้ดำเนินงาน ในกรณีปรับเปลี่ยนตัวบุคคล มีการสื่อสารสาธารณะให้มากขึ้น

๓.แนวทางการขับเคลื่อนประเด็นร่วม ๑)ประเด็นบุหรี่และปัจจัยเสี่ยงให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม การสื่อสารสร้างความเข้าใจในเรื่องการตรวจสุขภาพ เช่น เรื่องของวัคซีนในพื้นที่ ๓ จังหวัดชายแดนใต้ แก้ไขปัญหาคนในชุมชนเสพติดสื่อออนไลน์/มือถือ ๒)ประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ เพิ่มมูลค่าให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง /ลดความเหลื่อมล้ำทางรายได้ ๓)ประเด็นสุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์และเปราะบางทางสังคมเพิ่มกลุ่มคนไทยในประเทศมาเลเซียที่มีปัญหาในเรื่องของการเข้าถึงสิทธิ ซึ่งหากมีกลไกหรือองค์กรที่ขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าวก็สามารถเข้ามาขับเคลื่อนร่วมกับกขป.ได้

๔.ในการทำงานใช้หลักปัจจัยคุณภาพชีวิตเป็นสิ่งกำหนด จะทำให้เชื่อมโยงกขป.ทุกหน่วยงาน ซึ่งทุกเรื่องมีความเชื่อมโยงถึงกัน ทุกคนที่เข้ามาเป็นกขป.สามารถเชื่อมโยงงานได้ เช่น อสม.ทำในเรื่องการเชื่อมโยงความเสี่ยง,ค้นหากลุ่มเปราะบาง การณรงค์เพื่อให้เกิดการขยายงาน ,อสม.สามารถเชิญชวนเพื่อนองค์กรอื่นๆเข้ามาได้ กลุ่มเภสัชกรสามารถตรวจในเรื่องสารตกค้าง ฝึกพัฒนาศักยภาพของแกนนำ  กลุ่มของภาครัฐประสานความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐ ในเรื่องของการค้นหาข้อมูล หมออนามัยเน้นการเพิ่มศักยภาพของกลุ่มที่ทำงานในชุมชน สามารถช่วยทุกกลุ่มให้เกิดการมองงานเป็นระบบ กลุ่มวัฒนธรรมเชื่อมโยงให้เกิดการประสานการทำงานโดยใช้วัฒนธรรมของชุมชน

๕.บทบาทกลาง ได้แก่ ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัดมาร่วมขับเคลื่อน เชื่อมโยง สร้างองค์ความรู้ มีพื้นที่รูปธรรม ขยายผลจากพื้นที่ต้นแบบ เน้นการสื่อสารให้เกิดการเปลี่ยนแปลง/ตระหนักรู้ สร้างวาระร่วม ประเด็นสุขภาวะคนใต้ เชื่อมโยงกับทุนของพื้นที่ ต่อยอด สร้างคุณค่าสู่มรดกชุมชน จัดเวทีแลกเปลี่ยน ให้ประชาชนเข้าถึงประเด็นปัญหาทั้ง ๔ ประเด็น

๒.การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสนับสนุนการจัดทำยุทธศาสตร์เชิงประเด็น และคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนงาน ๓ ประเด็น(ประเด็นบุหรี่และปัจจัยเสี่ยง,ประเด็นสุขภาวะกลุ่มชาติพันธุ์และเปราะบางทางสังคม และประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ)

หมายเหตุ พิจารณาให้ความเห็นต่อร่างรายชื่ออนุกรรมการที่ทีมเลขาฯนำเสนอ

๑.กลไกของอนุกรรมการ ควรเป็นกลไกในลักษณะที่ยืดหยุ่น แต่งตั้งเพิ่มได้ตามความเหมาะสม เข้ามามีส่วนร่วมกับกขป.ทั้ง ๔ ประเด็น

๒.บทบาทของอนุกรรมการคือ ๑.เน้นการจัดทำข้อมูล/ข้อเสนอแนะ ทิศทางการทำงานที่ชัดเจน  ๒.ยกระดับการขับเคลื่อน จากนโยบายสู่ภาคปฏิบัติ จัดทำยุทธศาสตร์และพื้นที่นำร่อง ๓.ออกแบบการขับเคลื่อนตามวาระร่วม เพื่อกำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน

๓.การได้มา ควรมีกลไกระดับพื้นที่ ช่วยกันค้นหาและเสนอรายชื่อเข้ามา เพิ่มผู้เชี่ยวชาญและผู้มีประสบการณ์จากภายนอกในแต่ละประเด็น เพิ่มสื่อมวลชนในประเด็นที่เกี่ยวข้อง

๔.ประเด็นบุหรี่และปัจจัยเสี่ยง เพิ่มประธานสภาเด็กและเยาวชนระดับจังหวัด สรรพสามิต อบจ. สำนักงานศึกษาธิการจังหวัด ตำรวจ ทหาร ศอบต. ผู้นำศาสนาทุกศาสนา

๕.ประเด็นกลุ่มชาติพันธุ์และเปราะบางทางสังคม เสนอเพิ่มเติม จ่าจังหวัด,ศูนย์การเรียนรู้พัฒนาสตรีและครอบครัวภาคใต้ อ.รัตภูมิ จ.สงขลา ปลัดจังหวัด นายทะเบียน นายบุญลาภ เพ็งเมือง ผู้ประสานงานมันนิ

๖.ประเด็นเกษตรและอาหารเพื่อสุขภาพ เสนอเพิ่มเติม ๑.สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด ๒.สำนักงานเกษตรจังหวัด ๓.การยางแห่งประเทศไทย(ภาคใต้ตอนล่าง) ๔.พาณิชย์จังหวัด ๕.เครือข่ายประมงพื้นบ้าน

๗.คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการจัดทำยุทธศาสตร์ เสนอเพิ่มเติม ๑.ประธาน+เลขาของแต่ละอนุกรรมการทั้ง ๔ ประเด็น เข้ามาเป็นอนุกรรมการขับเคลื่อนการจัดทำยุทธศาสตร์  ๒.ตัวแทนเครือข่ายแต่ละประเด็นเข้ามาเป็นอนุกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์

๓.บทเรียนการดำเนินงานเขต ๑๒ แนวทางการดำเนินงานปี ๒๕๖๒ มีข้อสรุปดังนี้

๑)จุดแข็งที่พบ

๑.กลไกกขป.ยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนได้ มีความหลากหลายของภาคีองค์กร บุคคล/องค์กรในกขป.มีศักยภาพสูง

๒.ฐานกลุ่มอสม.เป็นกลุ่มที่เข้มแข็งมีการทำงานร่วมกับสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด(กรณีสงขลา)

๓.เขต ๑๒ มีภูมิศาสตร์/สังคมดีดี สังคมไม่แตกแยก-พหุวัฒนธรรม สามารถพัฒนาและยกระดับได้

๒)จุดอ่อนที่มี

๑.ความต่อเนื่องของตัวแทน คณะกรรมการกขป.ที่มาจากหน่วยงานภาครัฐ มีการเปลี่ยนตัวบุคคลและส่งต่อให้กับผู้แทนมาร่วม

๒.ปัญหาพื้นฐานการทำงาน ความล้มเหลวในการประสานงานแนวราบกับองค์กรภาครัฐ ความซ้ำซ้อนของหน่วยงานในการดำเนินงานระดับพื้นที่ ขาดการบูรณาการอย่างแท้จริง ขาดการประสานงานองค์กรภาคีระดับพื้นที่รวมศูนย์อำนาจ/ติดขัดข้อระเบียบกฎหมาย

๓.ไม่เห็นปฏิบัติการ/ไม่มีจุดเชื่อม

๓)แนวทางแก้ปัญหา

๑.ใช้ช่องทางความเป็นกรรมการที่เข้ามาเป็นตัวแทนกขป.แต่ละองค์กร สื่อสารบทบาทหน้าที่ของกขป.ในองค์กรนั้นๆประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัดมาร่วมขับเคลื่อน

๒.การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างกขป.และหน่วยงานอย่างต่อเนื่อง ประสานงานให้ถูกช่องว่าจะประสานกับใคร อย่างไร หาตัวเชื่อม/จุดเชื่อม ทำให้แต่ละจังหวัดรู้จัก บทบาทหน้าที่กขป.

๓.ฝ่ายวิชาการให้ความรู้ความเข้าใจในกลุ่มต่างๆ เช่น ประเด็นกลุ่มเปราะบาง ประเด็นสุขภาวะเกษตร เชื่อมโยง สร้างองค์ความรู้ มีพื้นที่รูปธรรม ขยายผลจากพื้นที่ต้นแบบ

๔.เลือกประเด็นการขับเคลื่อนงานที่มีความเป็นไปได้สูง สร้างวาระร่วม ประเด็นสุขภาวะคนใต้

๕.เน้นการสื่อสารให้เกิดการเปลี่ยนแปลง/ตระหนักรู้ เชื่อมโยงกับทุนของพื้นที่ ต่อยอด สร้างคุณค่าสู่มรดกชุมชน

๖.นำเสนอข้อมูล/รูปธรรมแต่ละประเด็น ขับเคลื่อนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ประเด็นบุหรี่และปัจจัยเสี่ยงให้กระทรวงสาธารณสุขทุกหน่วยงานเกิดการปฏิบัติการ นำผลวิจัยสื่อสารข้อเท็จจริงของวัคซีนในพื้นที่ ๓ จังหวัด

๗.ฝ่ายนโยบายบูรณาการการทำงานกัน/กระจายอำนาจไปยังพื้นที่ ทำให้เขตสุขภาพเพื่อประชาชนมีอำนาจหน้าที่และงบประมาณ

๘.มีกขป.ย่อยแต่ละจังหวัด จัดกลไกระดับตำบล,จังหวัด ให้เกิดกลไกการทำงานร่วมกันที่เข้มแข็ง

๔.๔.ข้อเสนอต่อมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ๒๕๖๑

ทีมเลขานุการนำเสนอร่างเอกสารมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ปี ๒๕๖๑ ที่ทางสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติส่งมาให้กขป.ทุกเขตให้ความเห็น

กขป.ให้ข้อสังเกตต่อกระบวนการสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ

๑.ในช่วงเวลานี้แต่ละจังหวัดมีการจัดเวทีรับฟังความเห็นต่อร่างมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติระดับจังหวัด โดยเอาระเบียบวาระที่มีแต่ละปีเป็นตัวตั้ง แล้วพิจารณาตามประเด็น ซึ่งในปีนี้ได้มีการเสนอจากเครือข่ายว่าแต่ละจังหวัดควรจะมีนโยบายหรือแสดงออกถึงความคิดเห็นของตัวเองต่อประเด็นที่เป็นข้อมูลในพื้นที่ โดยกขป.ที่อยู่ในแต่ละจังหวัดสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดกระบวนการรับฟังความเห็นต่อร่างมติสมัชชาชาติ ที่มีการกำหนดกลุ่มเป้าหมายว่าคนที่เกี่ยวข้องในแต่ละประเด็นเป็นใคร นำผู้ที่เกี่ยวข้องมาแสดงความคิดเห็นในเวทีรับฟังความคิดเห็น ซึ่งต้องพิจารณาสถานการณ์อื่นๆของพื้นที่ด้วย เพื่อเป็นข้อมูลประกอบในการนำเสนอสู่ระดับชาติ

๒.บทบาทของกขป.ต้องอาศัยกลไกที่มีอยู่  ให้ทีมเลขาฯสังเคราะห์ว่ามีประเด็นอะไรที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสมัชชาชาติหรือไม่ และจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อรวบรวมนำเสนอภาพรวม เพื่อส่งตัวแทนไปร่วม สิ่งที่ควรดูคือ Road map สิ่งที่เราอยากทำ หากเราไม่อยากทำและรับไม่ได้ ก็มีข้อเสนอแนะต่อไป

๓.ยังไม่เห็นความคืบหน้าของการขับเคลื่อนงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ผลสัมฤทธิ์ระหว่างทางมีอะไรบ้าง ซึ่งมีหลายเรื่องที่ร่วมกระบวนการตั้งแต่แรกแต่ยังไม่เห็นความสำเร็จจากการขับเคลื่อน ต้องมีการกำกับและติดตามผลด้วย และสิ่งที่เห็นได้ชัดคือ ประเด็นไหนที่มีเจ้าภาพชัดเจน  จะมีการขับเคลื่อนเพื่อขยายผลจริง แต่หากเป็นประเด็นกลางๆ ด้านสังคม จะเป็นปัญหาที่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ง่ายจะประสบความสำเร็จน้อยมาก

ความเห็นต่อร่างมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติปี ๒๕๖๑ จากการแบ่งกลุ่มย่อย ๔  กลุ่ม

๑.ประเด็นความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อป้องกันและแก้ไขโรคไม่ติดต่อ มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้

๑)กระทรวงแรงงานเข้ามามีบทบาทในการส่งเสริมสุขภาพ เช่น ส่งเสริมการสร้างสุขภาพการออกกำลังกาย

๒.กระทรวงเกษตร มีบทบาทในการดูแลเรื่องอาหาร การผลิตอาหารเพื่อสุขภาพ จัดทำแผนการผลิต แปรรูปอาหารสุขภาพทั้งระบบ

๓)ขอให้กระทรวงเกษตรยกเลิกปัจจัยการผลิตที่ก่อให้เกิดอันตราย ได้แก่ สารพิษ-สารเคมี ปุ๋ยเคมี

๔)ขอให้หน่วยงานรัฐส่งเสริมการปรับพฤติกรรมในหน่วยงานโดยเฉพาะการบริโภคอาหาร เช่นเดียวกับการรณรงค์ถุงพลาสติก /โฟม

๕)เพิ่มการใช้ภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยในการดูแลสุขภาพ

๖)การหยุดยั้งและลดความสูญเสียจากกลุ่มโรคไม่ติดต่อคือ การกระตุ้นให้ประชาชนปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ลด ละ เลิก ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค จากสาเหตุต่างๆ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  เครื่องดื่มที่ใช้น้ำตาลเป็นส่วนประกอบสูง เห็นควรอย่างยิ่งที่ใช้กลไกภาษีจัดเก็บภาษีสรรพสามิต โดยกำหนดเพดานภาษีขั้นสูงเผื่อไว้ล่วงหน้า ทั้งภาษีบุหรี่ สุรา เบียร์  เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่ใช้น้ำตาลโดยจัดเก็บจากปริมาณความหวานของเครื่องดื่ม  และส่งเสริมสินค้าที่สนับสนุนการดูแลสุขภาพ เน้นการใช้ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีมาตรฐาน จะได้สิทธิพิเศษทางภาษีสรรพสามิต และให้ผู้บริโภคได้รับสิทธิลดหย่อนภาษีด้วย

๒.ประเด็นการร่วมสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะในเขตเมืองเพื่อสุขภาวะสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ความเห็นเพิ่มเติมดังนี้

๑)ผู้รับผิดชอบหลักควรเป็นกระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ในการกำหนดกฎเกณฑ์นโยบายผ่านสภาผู้แทน/ครม. แทนการให้สมาคมกีฬาe-sport แห่งประเทศไทยดำเนินการเอง

๒)ให้กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว สร้างความเข้าใจกับครอบครัว/ผู้ปกครองและสถานศึกษา

๓.ประเด็นความรับผิดชอบร่วมทางสังคมเกี่ยวกับอีสปอร์ตต่อสุขภาวะเด็ก มีความเห็นเพิ่มเติมดังนี้

๑)เห็นด้วยให้กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง กำหนดหลักเกณฑ์ แนวทางการใช้พื้นที่  ให้ภาครัฐภาคเอกชนเช่าที่ดินเพื่อการสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะ โดยควรเร่งดำเนินการเช่าที่พัสดุที่กรมธนารักษ์ดูแล หากปล่อยทิ้งร้างไม่ใช้ประโยชน์จะเป็นเหตุให้ผู้ไม่หวังดีบุกรุก ฉะนั้นควรบริหารทรัพย์สินของรัฐให้คุ้มค่า ให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมอย่างแท้จริง

๔.ประเด็น การคุ้มครองผู้บริโภคด้านทันตกรรม มีความเห็นเพิ่มเติมดังนี้

๑)ให้มีสิทธิเท่าเทียมกับทุกสิทธิในการรักษารากฟัน และการบริการที่ได้มาตรฐานตามความจำเป็นเท่ากันทุกสิทธิ

๒)เพิ่มอัตราบุคคลากรทางทันตกรรมให้เหมาะสมกับจำนวนผู้รับบริการ

๓)ไม่เลือกปฏิบัติกรณีผู้ป่วยHIV/AIDs

๔)ควบคุมการนำเข้า ขึ้นทะเบียนเครื่องมือทางทันต

๕)กรรมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพาณิชย์ ,มหาดไทย, สช.

๖)กรมบัญชีกลางกระทรวงการคลังร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กำหนดสิทธิประโยชน์หลักทางทันตกรรม เน้นด้านการส่งเสริม ป้องกันและฟื้นฟูเป็นอันดับแรก  ให้ความสำคัญและสิทธิประโยชน์เช่นเดียวกับการรักษาพยาบาล โดยดูแลตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา

๗)เห็นด้วยที่จะให้จ่ายค่าบริการและจัดระบบให้ผู้รับบริการไม่ต้องสำรองจ่ายไปก่อน แต่ต้องกำหนดวงเงินในการรักษาให้ชัดเจน

๘)กระทรวงการคลังมีการวิจัยความเป็นไปได้ของการจัดตั้งกองทุนทางทันตกรรม มองว่าไม่เห็นด้วย รัฐบาลยังมีภาระความจำเป็นที่จะต้องดูแลสิทธิสวัสดิการด้านต่างๆ อีกมากมาย และยังไม่เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นกองทุนทันตกรรม

เขต ๑๒ ส่งผู้แทนกขป. จำนวน ๓ ท่านที่ไปร่วมขบวนมาแล้วไปร่วมงานในปีนี้ ได้แก่

๑.นายทรงชัย ไชยสุวรรณ

๒.ทนพญ.ราณี ตาเดอินทร์

๓.ดร.รอฮานิ เจะอาแซ

การทำงานร่วมกับเขตสุขภาพเพื่อประชาชนเขต ๑๑ (งานสร้างสุขภาคใต้)

นำเสนอโดย ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร

๑.งานสร้างสุขภาคใต้ เป็นการสนับสนุนโดยสสส.ในการจัดครั้งที่ ๙-๑๐ มีการเปลี่ยนแปลงโดยมีข้อเสนอว่า ควรมีการผนวกกับงานวิชาการเพื่อให้เป็นพื้นฐานกับการคิดในงานพัฒนาชุมชน การจัดครั้งที่ ๑๐ มีกลุ่มที่เข้าร่วมคือเครือข่ายสช,สสส มีประเด็นย่อยๆ หลายประเด็น และมีการกำหนดเป้าหมายเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคม โดยมีข้อเสนอเชิงนโยบาย เพื่อผลักดันให้ ๔ ส.และภาคส่วนต่างๆ นำนโยบายไปปฏิบัติต่อ

๒.การดำเนินงานในครั้งที่ ๑๑ กำหนดในวันที่ ๗-๙ สิงหาคม ๒๕๖๒ ที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี ซึ่งจะเน้นประเด็นความมั่นคงของมนุษย์ ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางสุขภาพและความมั่นคงทางทรัพยากร  โดยใช้ปัจจัยคุณภาพเป็นตัวหลัก เป้าหมายคือยกระดับการทำงานของเครือข่ายสู่เป้าหมายการพัฒนาโยบาย ได้ชุดความรู้ข้อเสนอเชิงนโยบาย แนวทางการทำงานของภาคใต้จะมีการทำงานต่อเนื่อง กำหนดการขับเคลื่อนร่วมกัน ประเมินผลร่วมกัน

เสนอชื่อคณะกรรมการร่วมกำหนดทิศทาง

บทบาทคือ ร่วมออกแบบขับเคลื่อนการดำเนินการงานสร้างสุขภาคใต้ ประกอบด้วย

๑.นายวันอาฟันดี เจ๊ะสาเหาะ
๒.นางสาวมาเรียม         ชัยสันทนะ
๓.นายกำราบ พานทอง
๔.นางกัลยทรรศน์         ติ้งหวัง
๕.นายบุญเรือง ขาวนวล
๖.นายรอซีดี เลิศอริยะพงษ์กุล

ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

๑.ควรมีข้อเสนอจากเขต และติดตามความคืบหน้าร่วมกัน ให้เห็นเป็นภาพระดับภาคและการเชื่อมโยงมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ  ซึ่งเป็นเรื่องที่กขป.ต้องนำเข้ามาทบทวนเรื่องที่เชื่อมโยงทั้ง ๔ ประเด็น

๒.งานสร้างสุขเป็นเวทีที่ได้แสดงผลงานกัน ซึ่งเป็นข้อดีสำหรับคนทำงาน ส่วนการคาดหวังที่อยากให้เกิดการมีส่วนร่วม เปลี่ยนแปลงสังคมนั้นยังเป็นไปได้ยาก

ขอบคุณภาพการประชุมจากคุณบัณฑิต มั่นคง

Relate topics