บ้านผังปาล์ม3 ม.2 ต.ปาล์มพัฒนา อ.มะนัง จ.สตูล ภารกิจร่วมแสวงหาแนวทางการปลูกพืชทดแทนยาสูบ
วันที่ 23 มีนาคม 2564 มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย(สสม.) โดย นายไฟซอล สะเหล็ม และทีมงาน ได้จัดเวทีแสวงหาแนวทางการปลูกพืชทดแทนยาสูบ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการปลูกพืชทดแทนยาสูบได้อย่างถูกต้อง ถูกวิธี เพื่อให้ได้ผลผลิตอย่างเต็มที่และดีที่สุด ของผู้ปลูกและผู้คนในชุมชน เน้นพืชผักปลอดสารพิษ
ณ บ้านผังปาล์ม3 ม.2 ต.ปาล์มพัฒนา อ.มะนัง จ.สตูล
โดยมี นายฮัสสัน ทิ้งน้ำรอบ นักวิชาการส่งเสริมเกษตรชำนาญการ สำนักงานเกษตรอำเภอมะนัง จังหวัดสตูล เป็นวิทยากรในครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 30 คน
วิทยากรได้ให้ความรู้ต่างๆเกี่ยวกับการปลูกพืช การทำปุ๋ยหมัก สาเหตุการเกิดเชื้อราในพืช และ วิธีการแก้ไขปัญหาเชื้อราในพืช พืชผักที่เหมาะกับดิน วิธีการขยายพันธุ์ผัก การหาตลาดและเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าของคนในชุมชน และเพิ่มเครือข่ายในการขยายสินค้า เพื่อให้ชุมชนและสังคมได้พัฒนาก้าวต่อไป
วิธีการเพาะเมล็ดผัก
1.การเพาะผักกาดขาว ผักกวางตุ้ง, ผักคะน้า
วิธีเพาะ นำเมล็ดแช่น้ำ 1 คืน แล้วนำมาหว่านลงถาดเพาะประมาน 9 วัน นำต้นกล้าลงถาดหลุม รดน้ำเช้า เที่ยง เย็น ประมาณ 10 วัน นำต้นกล้าลงแปลงปลูกได้
2.การเพาะผักสลัด วิธีเพาะนำเมล็ดหว่านลงถาดเพาะที่เตรียมไว้รดน้ำให้ชุ่ม คลุมด้วยผ้าหรือพลาสติกทิ้งไว้ประมาณ 2 วัน รอต้นกล้าแตกยอดอ่อน นำมาโดนแสงตอนเช้าพอประมาณ 1 เก็บต้นกล้าเข้าที่ร่ม ให้โดน แสงรำไร โดยใช้แสลนคลุมบน รดน้ำ 3 เวลาเช้า เที่ยง เย็น พออายุผักได้ 2 วัน นำต้นกล้าลงถาดหลุมได้ รดน้ำ เช้า เที่ยง เย็น พอต้นกล้าอายุครบ 15 วันนำลงแปลงปลูกได้
วิธีการดูแลรักษาบำรุงต้นกล้า
1.การฉีดพ่นน้ำหมักบำรุงต้นและใบ
หลังจากลงต้นกล้าได้ 90 วัน ให้ฉีดพ่นด้วยน้ำหมักอัตราส่วน 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร ควรอย่างน้อย 3-5 วัน/ครั้ง ควรฉีดพ่นตอนเช้าหรือตอนเย็น ห้ามฉีดพ่นตอนเที่ยง เพราะจะทำให้ไบผักเหี่ยวได้ ก่อนการ ฉีดพ่นน้ำหมักในแต่ละครั้งให้รดน้ำก่อนประมาณครึ่ง ถึง 1 ชั่วโมง
2.การฉีดน้ำหมักไล่แมลง
หลังจากลงต้นกล้าได้ 10-15 วัน ควรฉีดพ่นน้ำหมักไล่แมลงด้วยน้ำหมักดังนี้
-น้ำหมักเหล้าขาว 2 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 20 ลิตร
-น้ำหมักยาสูบ 5 ลิตร ต่อน้ำ 1 ลิตร หรือนำน้ำหมักยาสูบผสมกับน้ำหมักเหล้าขาวด้วย อัตราส่วน คือ น้ำหมักยาสูบ 2 ลิตร น้ำหมัก เหล้าขาว 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 14 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ
หลักการป้องกันกำจัดโรคพืช มี 6 วิธีการ คือ
1.การหลีกเลี่ยงโรค หมายถึง การจัดการปลูกพืชโดยหลีกเลี่ยงการปลูกพืชในช่วงที่มีสภาพแวดล้อมที่ง่ายต่อการเกิดโรค หรือช่วงที่มีโรคระบาด เช่น ปลูกในฤดูฝนที่มีความชื้นสูงเหมาะต่อการเกิดโรค ปลูกในพื้นที่ที่มีเชื้อโรคระบาดมาก่อน หรือปลูกในที่ที่มีสภาพภูมิอากาศเย็นหรือร้อนเหมาะต่อการเกิดโรค ตลอดจนไม่ปลูกพืชในดินที่มีความเป็นกรดเป็นด่างมากเกินไป หรือขาดธาตุอาหาร
2.การกีดกันหมายถึง การจัดการไม่ให้เชื้อโรคเข้ามาสู่บริเวณที่ปลูกพืชทั้งในระดับประเทศและระดับท้องถิ่น โดยใช้มาตรการทางกฎหมายจำกัดการนำวัสดุ หรือพันธุ์พืช ที่อาจมีเชื้อสาเหตุของโรคเข้าประเทศ หรือเข้ามาในพื้นที่ที่ไม่เคยมีเชื้อโรคพืชชนิดนั้นๆ ระบาดมาก่อน และเป็นโรคที่ระบาด ทำความเสียหายได้อย่างรุนแรง โดยการนำเข้าต้องมีใบรับรองว่า วัสดุหรือพันธุ์พืชนั้นปลอดเชื้อโรคจึงจะอนุญาตให้นำเข้ามาได้ เช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ มีการห้ามนำพืชตระกูลส้มที่มีโรคแคงเกอร์จากเชื้อแบคทีเรียเข้าประเทศ
3.การป้องกัน หมายถึง การป้องกันการเข้าทำลายพืชของเชื้อโรค โดยไม่ให้เชื้อโรคสัมผัสกับพืชด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การปลูกพืชกันลม เป็นการลดการแพร่ระบาดของโรคที่อาศัยลมเป็นตัวนำมาสู่พืช การปลูกพืชในโรงเรือนกระจก หรือโรงเรือนตาข่ายกันแมลง เพื่อควบคุมสภาพแวดล้อม ป้องกันเชื้อโรคหรือแมลงพาหะไปสัมผัสกับพืช หรือการใช้สารเคมีในการป้องกันการเข้าทำลาย ของเชื้อโรค เช่น การใช้สารเคมีคลุกเมล็ดพืชที่จะปลูก และการใช้สารเคมีทำลายเชื้อโรคในดินก่อนปลูกพืช
4.การทำลายให้หมดไป หมายถึง การกำจัดหรือการทำลายแหล่งสะสมเชื้อโรคให้หมดไป โดยการเผาทำลายพืชที่เป็นโรค เพื่อไม่ให้มีเชื้อโรคเหลืออยู่ เมื่อตรวจพบเชื้อโรคในไร่หรือวัสดุอุปกรณ์และผลผลิตที่นำมาจำหน่าย วิธีการนี้ใช้กับเชื้อโรคที่มีการระบาดทำความเสียหายต่อพืชอย่างรุนแรง และเป็นโรคที่อยู่ในบัญชีกักกันโรคของแต่ละประเทศ
5.การใช้พันธุ์ต้านทานโรค หมายถึง การป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อโรคโดยปลูกพืชที่มีความต้านทานโรค ทำให้เกิดโรคน้อยลง หรือเกิดโรคช้าลง จนไม่มีผลเสียหายทางเศรษฐกิจ โดยมากจะเป็นโรคที่ใช้วิธีอื่นๆ ไม่ค่อยได้ผล เช่น โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส หรือโรคที่เชื้ออาศัยอยู่ในดิน วิธีการนี้เป็นวิธีที่สะดวก ปลอดภัย และควรปฏิบัติมากที่สุด
6.การรักษา หมายถึง การรักษาพืชที่เป็นโรคแล้ว เพื่อให้หายเป็นปกติหรือให้ผลผลิตตามต้องการ โดยส่วนใหญ่จะใช้สารเคมีสังเคราะห์ ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ซึ่งมีอยู่มากมายหลายชนิด เช่น สารเคมีกำจัดเชื้อรา สารเคมีกำจัดเชื้อแบคทีเรีย สารเคมีกำจัดไส้เดือนฝอย ทั้งนี้ เกษตรกรจำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องการออกฤทธิ์ของตัวยาและวิธีการใช้ ของสารเคมีแต่ละชนิด เพื่อให้ตรงกับชนิดของเชื้อโรคที่เข้าทำลายพืช จึงจะได้ผลดีในการควบคุมโรค และไม่มีผลเสียต่อผู้ใช้ ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม
จากการทำกิจกรรมได้รับความความรู้ต่างๆเรื่องปุ๋ยและการปลูกพืชผักสวนครัวรั้วกินได้ทำให้ชุมชนได้นำสิ่งที่ดีไปใช้ในชีวิตประจำวันและสามารถนำประโยชน์ไปใช้ในการสร้างรายได้ พืชผลต่างๆให้เกิดขึ้นในครัวเรือนและชุมชน และสามารถสร้างเป็นเอกลักษณ์ในชุมชนสามารถเป็นชุมชนต้นแบบให้ชุมชนอื่นได้มาศึกษาเรียนรู้เป็นพื้นทีีเศรษฐกิจพอเพียง และสามารถสานต่อเป็นชุมชนท่องเที่ยวต่อไป
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ ลดการพึ่งพิงยาสูบ
Relate topics
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”