"โคกม่วงใช้กองทุนขยะมีบุญ จัดทำถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ป่วยติดเตียงในช่วงโควิด"
"โคกม่วงใช้กองทุนขยะมีบุญ จัดทำถุงยังชีพช่วยเหลือผู้ป่วยติดเตียงในช่วงโควิด"
ข้อมูลโดยนางสาวสุจิตรา ยอดแก้ว นักวิชาการสุขาภิบาลชำนาญการ เล่าว่าเทศบาลตำบลโคกม่วง อำเภอคลองหอยโข่ง จังหวัดสงขลา จัดการขยะในพื้นที่ด้วยหลายมาตรการ หนึ่งในนั้นก็คือการจัดทำกติกาหรือธรรมนูญตำบล กำหนดเป้าหมายลดขยะในพื้นที่ ไม่มีการวางถังขยะ แต่จะมีตารางเวลาและรถจากเทศบาลจัดเก็บขยะให้ตามวันเวลาที่กำหนดร่วมกัน พร้อมมาตรการสำคัญ คือ จัดทอดผ้าป่าขยะรีไซเคิลทุกวันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปี(ยกเว้นปีนี้ที่มีสถานการณ์โควิด) นำเงินที่ได้ไปจัดทำ "กองทุนขยะมีบุญ" ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางทางสังคม
พร้อมยกตัวอย่างมาตรการและข้อมูลสำคัญ ดังเช่นเมื่อวันที่ 4/3/64 ได้มีการศึกษาองค์ประกอบขยะของตำบลโคกม่วง เพื่อนำข้อมูลมาหาแนวทางเพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหา จากการศึกษาขยะจำนวนรวมน้ำหนัก 217.4 kg. พบว่า
1)ขยะทั่วไป ส่วนใหญ่จะเป็นถุงพลาสติก โดยเฉพาะถุงใส่ของสั่งออนไลน์ = 148.2 kg. คิดเป็น 68.17%
2)ขยะผ้าอ้อมสำเร็จรูป = 7 kg. คิดเป็น 3.22%
3)ขยะอินทรีย์ คือขยะที่ย่อยสลายได้ สามารถนำมาเป็นปุ๋ยได้อย่างดี = 44 kg. คิดเป็น 20.24%
4)ขยะรีไซเคิลหรือขยะที่สามารถนำมาขายได้ 18 kg. คิดเป็น 8.28%
5)ขยะอันตราย = 0.2 kg. คิดเป็น 0.09%
เมื่อมีข้อมูลเช่นนี้แล้ว จึงออกมาตรการเพื่อให้ตำบลโคกม่วงสะอาด ด้วยมาตรการเสริม ได้แก่
1.จัดการขยะพลาสติก โดยวิธีอิโคบริค
2.ขยะอินทรีย์ ทำเป็นปุ๋ย/อาหารสัตว์
3.ขยะรีไซเคิล นำไปจำหน่าย หรือมอบให้เทศบาลนำไปขายนำเงินเข้าสู่กองทุนขยะมีบุญ เพื่อดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ผู้ด้อยโอกาส ผู้เปราะบางทางสังคมต่อไป
4.ขยะอันตราย เช่น หลอดไฟ ถ่านไฟฉาย บรรจุภัณฑ์ใส่สารเคมี รวบรวมใส่ถังแดงที่บ้านผู้นำแล้วเทศบาลจะไปเก็บนำส่งกำจัดอย่างถูกวิธี
ทั้งนี้ในส่วนขยะทั่วไปที่ไม่สามารถนำมาทำประโยชน์ได้แล้วให้นำใส่กระสอบ/ถุง มัดให้เรียบร้อยนำมาวางหน้าบ้าน โดยทางเทศบาลจะมีรถไปจัดเก็บไม่เกิน 7.00 น.ตามวันเวลาที่กำหนดและได้แจ้งไว้แล้ว
พร้อมกับเชิญชวนให้จัดการขยะพลาสติก โดยวิธี "อีโคบริค"ecobrick (นำขยะกระดาษและพลาสติกบรรจุขวด) ในระยะเวลา 2 เดือน
1)ทำให้ทราบว่า อีโคบริค 1 ขวด(1.5 L) สามารถลดขยะพลาสติกได้ 0.5 kg. 1 ครัวเรือนสามารถทำได้ 2-3 ขวด/เดือน
2)จากการเชิญชวนในการประชุม อสม.ตำบลโคกม่วงในทุกเดือน พี่น้อง อสม. มีข้อตกลงกันว่าจะนำ อีโคบริค มาบริจาคให้แก่เทศบาล คนละ 1-2 ขวด/เดือน
3)จากการเชิญชวนในเวทีประชุมกำนัน/ผญ. อำเภอคลองหอยโข่ง ในการประชุม กำนัน/ผญ. ต้องนำ อีโคบริค มาคนละ 10 ขวด เพื่อมอบแก่ กศน.อ.คลองหอยโข่ง เพื่อให้ นักเรียนจัดทำโครงงานผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกิดประโยชน์
4)จากการเชิญชวนในการประชุมหัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานต่างๆในอำเภอคลองหอยโข่ง ผลคือ ให้หน่วยงาน/องค์กรต่างๆไปขยายผลในองค์กรของตน
5)จากการลงเชิญชวนในการประชุมระดับหมู่บ้าน ได้บางหมู่บ้านแล้วนั้น ผลคือ ประชาชนจัดทำและนำไปบริจาคให้กับผู้ใหญ่บ้านในหมู่บ้านของตน/บริจาคแก่เทศบาล
6)จากการเชิญชวน ในหน่วยสถานศึกษา/โรงเรียน ได้ลงไปบางโรงเรียนแล้วนั้น ผลคือ โรงเรียนจะส่งเสริมให้นักเรียนได้ปฏิบัติจนเป็นวัฒนธรรมระดับครัวเรือนและโรงเรียน
นอกจากนั้นยังมีกิจกรรมส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะมูลฝอย โดยแปรรูปขยะเป็นหมวก ด้วยถุงน้ำยาปรับผ้านุ่ม ถุงผงซักฟอก กล่องต่างๆ
ด้วยการสนับสนุนงบประมาณจาก สมาคมอาสาสร้างสุข
มีการรณรงค์ให้นำเปลือกไข่ทุกชนิด เปลือกหอยทุกชนิด = แลกต้นกล้าสวนครัว จัดทำโครงการลดขยะอินทรีย์ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มปุ๋ยสูตรแคลเซียมร่วมกับสหกรณ์ปุ๋ยอินทรีย์คลองหอยโข่ง จำกัด
โคกม่วงเป็นพื้นที่ทดลองใช้ "ผ้าอ้อมรักษ์โลก" ซึ่งเป็นผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่สามารถซักได้ ลดปริมาณขยะจากผ้าอ้อมสำเร็จรูปที่มีจำนวนมาก ร่วมกับพมจ.สงขลา
และที่สำคัญ เพิ่มมาตรการ "ตะแกรงสะสมบุญ" นำตะแกรงบรรจุขยะรีไซเคิลวางไว้ในจุดต่างๆของแต่ละหมู่บ้าน ระดมทุนเข้ามาสู่ "กองทุนขยะมีบุญตำบลโคกม่วง" สำหรับดูแล ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ด้อยโอกาส ผู้เปราะบางทางสังคมและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ต่างๆ
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน ที่ผ่านมา เวลา 14.00 น. เทศบาลตำบลโคกม่วง โดยนายสมนึก บุตรคง มอบหมายให้ นายนิกร จุลนวล ปลัดเทศบาล ร่วมกับ กำนันวิโรจน์ ประกอบการ กำนันตำบลโคกม่วง และอสม.ในพื้นที่ ม.1 ม.3 ม.8 และ ม.9 มอบถุงยังชีพ(ข้าวสาร น้ำ ปลากระป๋อง น้ำมัน หน้ากากผ้า บะหมี่กึ่งสำเร็จ น้ำปลา ฯลฯ)ให้แก่ผู้ป่วยติดเตียง เป็นการช่วยเหลือในช่วงสถานการณ์โควิดแพร่ระบาด ลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับประชาชน
หมายเหตุ ตำบลโคกม่วง เป็นหนึ่งในพื้นที่ความร่วมมือจัดทำธรรมนูญตำบลน่าอยู่ร่วมกับมูลนิธิชุมชนสงขลา/อบจ.สงขลา/สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.)
Relate topics
- พมจ.สงขลา เดินหน้าส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ
- สร้างที่อยู่อาศัยโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน นวัตรกรรมทางความคิดเพื่อชุมชนเข้มแข็งชุมชนปันรักบ้านปันสุขตำบลท่าข้าม สงขลา
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน(ขสย.) รุกทำงานกับกองทุนสุขภาพตำบล สปสช.เขต 12 ไฟเขียวนำร่อง 18 พื้นที่ 6 จว.ลดปัจจัยเสี่ยงจากบุหรี่ไฟฟ้า
- ทีมวิชาการสร้างสุขภาคใต้ ชี้จุดร่วมทำนโยบายรับมือภัยพิบัติ
- "สงขลาพัฒนาระบบรับส่งผู้ป่วยไปพบแพทย์"
- "ประชุมภาคีเครือข่ายพัฒนาระบบผู้ดูแลผู้ป่วยจังหวัดสงขลา"
- สช.ผนึกกำลัง สกช. พอช. หารือขอบเขตความร่วมมือขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะปี 2568
- หยุดความรุนแรงในเด็กและสตรีขับเคลื่อนโดยกลไก พชอ. สู่ พชต. ในตำบลพื้นที่นำร่องตำบลบ่อยางและตำบลเกาะแต้ว จังหวัดสงขลา
- “รวมพลังเด็กนครศรีฯ เท่ได้ไม่ต้องสูบ“ เวทีสาธารณะป้องกันนักสูบหน้าใหม่ Smart No Smoking จังหวัดนครศรีธรรมราช
- การประชุมหารือ กขป.และเลขาร่วมเพื่อวางแนวทางการขับเคลื่อนโครงการฯ เขตพื้นที่ 11 พ.ศ. 2568