การทำงานในรูปแบบ Soft power ของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต ๑๒

photo  , 1280x720 pixel , 92,611 bytes.

การทำงานในรูปแบบ Soft power ของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน เขต ๑๒ ใช้โครงสร้างการทำงานประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญยิ่ง ๓ ฝ่ายได้แก่

๑.กขป.(คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน) ๔๕ คน ที่มีตัวแทนภาครัฐ วิชาการ ท้องถิ่น เอกชน ประชาสังคม มีหน้าที่ชี้ทิศ อำนวยการ ประสานให้เกิดการขับเคลื่อน ทำงานร่วมกับเลขานุการร่วม ๔ คน

๒.อนุกรรมการ ประกอบด้วยคณะอนุฯ ๕ ชุด ที่ได้มาจากการ Mapping ภาคีองค์กรและพื้นที่ปฎิบัติการระดับเขตที่เกี่ยวข้อง หรือเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ร่วมกับกขป.บางท่าน ได้แก่ ๒.๑ อนุวิชาการและสนับสนุนการจัดทำยุทธศาสตร์รายประเด็น บทบาทหนุนช่วยอนุประเด็นในการจัดทำยุทธศาสตร์(เป้าประสงค์ กลยุทธ์ แผนงานโครงการ ตัวชี้วัด) จัดการความรู้(สถานการณ์ปัญหา ชุดความรู้พื้นที่ต้นแบบ ข้อเสนอเชิงนโยบาย) และติดตามประเมินผล (ตัวชี้วัด ระบบการอ้างอิง) ๒.๒ อนุกรรมการรายประเด็น บทบาทจัดทำยุทธศาสตร์ประเด็น ประสานให้เกิดการขับเคลื่อนร่วมกับคณะทำงานในระดับปฎิบัติการ ร่วมติดตามประเมินผล

อนุกรรมการจะมีตั้งแต่ระดับนโยบายจนถึงระดับปฎิบัติ "ตัวจริง" ของแต่ละองค์กร/ประเด็น/พื้นที่ มาทำงานร่วมกันผ่านระบบสนับสนุน ได้แก่ เวทีกลาง/เวทีสาธารณะ ข้อมูลกลาง การจัดการความรู้ การสื่อสารสาธารณะ ไปเสริมหนุนพื้นที่ปฎิบัติที่มีการดำเนินการอยู่แล้ว หรือพื้นที่ต้นแบบที่จะสร้างตัวแบบการพัฒนาที่ครบวงจร อันจะนำไปสู่เป้าหมายคุณภาพชีวิตประชาชน

๓.ศูนย์ประสานงานเขตฯ ทำหน้าที่สนับสนุนการทำงานของโครงสร้างดังกล่าว

ปัจจัยสำคัญก็คือ ความไว้วางใจ ความเชื่อมั่น ความโปร่งใส ความเท่าเทียม ความเป็นธรรม บนพื้นฐานการได้ประโยชน์ขององค์กรความร่วมมือและกลุ่มเป้าหมาย

หมายเหตุ ระบบข้อมูลกลางจะดำเนินการร่วมกันระหว่างเขต ๑๑ และเขต ๑๒ ผ่าน www.AHsouth.com และร่วมกับเครือข่ายปฎิบัติการรายประเด็น

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 8533
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง