ธรรมนูญ On Air ครั้งที่ ๗ "เครือข่ายธรรมนูญสุขภาพรับมือโควิด ๑๙ ระลอก ๓ ตอน ๓"

  • photo  , 1000x750 pixel , 175,493 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 549,805 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 228,957 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 449,298 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 380,267 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 371,964 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 320,287 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 356,795 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 283,931 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 313,716 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 481,988 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 584,980 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 503,297 bytes.

ธรรมนูญ On Air ครั้งที่ ๗ "เครือข่ายธรรมนูญสุขภาพรับมือโควิด ๑๙ ระลอก ๓ ตอน ๓"

ตรงกับวันอังคารที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๔  เวลา ๑๓.๐๐-๑๖.๐๐ น. พูดคุยกันผ่านระบบ ZOOM

๑.สถานการณ์การระบาดของโควิด

๑.๑)สถานการณ์ระดับเขต นำเสนอโดยนายเจ๊ะอับดุลล่าห์ แดหวัน ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ถึงวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๖๔ มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ๗,๑๐๓ ราย แยกเป็นรายจังหวัดคือ จังหวัดสงขลา ๒,๘๓๐ ราย จังหวัดตรัง ๑,๓๘๕ ราย จะเห็นว่าในสัปดาห์นี้เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ที่แล้ว ๑,๔๗๐ ราย  ผู้ป่วยใหม่วันนี้จำนวน ๑๕๔ ราย จำนวนมากที่สุดคือ จังหวัดสงขลา ๕๖ ราย จังหวัดปัตตานี ๔๕  ราย จังหวัดตรัง ๒๔ ราย จังหวัดยะลา ๒๓ ราย จังหวัดนราธิวาส ๔ ราย จังหวัดพัทลุง ๒ ราย และจังหวัดสตูล ๐ ราย

๒.สถานการณ์โควิดระดับพื้นที่

๒.๑)พื้นที่จังหวัดยะลา

๑)นำเสนอโดยอาจารย์สุวิทย์ หมัดอะดัม  คลัสเตอร์ใหญ่ๆ มาจากโรงเรียนประจำด้านศาสนา คือ“มัรกัสยะลา” ซึ่งอยู่ในพื้นที่เขตตลาดเก่า รอยต่อระหว่างจังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลา ความท้าทายคือ มีกลุ่มคนส่วนหนึ่งที่อยู่ในเขตพื้นที่นี้มีความเชื่อที่หลากหลายต่อเรื่องเชื้อโควิดพอสมควร เช่น เชื่อว่าโควิดไม่มีอยู่จริง ซึ่งคิดว่าไม่ได้เป็นปัญหา  มาตรการป้องกันโควิดของพี่น้องประชาชนค่อนข้างอ่อนแอมาก การสวมใส่แมส การป้องกันต่าง ๆ มีน้อยไม่ถึง ๑๐ % ควรดึงผู้นำศาสนามาใช้กระบวนการทางสังคม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นของชาวบ้าน

๒)นำเสนอโดยนายรอซีดี เลิศอริยะพงษ์กุล ในพื้นที่ยะลามีการเสวนาร่วมกับโต๊ะครู ผู้นำศาสนา นักการเมืองและภาคประชาสังคม เพื่อหาทางออกต่อสถานการณ์ พบกระแสในโลกโซเซียลโดยเฉพาะในกลุ่มไลน์ ถูกโจมตีจากสังคมค่อนข้างรุนแรงพอสมควร มองว่าประชาชนในพื้นที่ไม่ให้ความร่วมมือ ซึ่งคนในพื้นที่มองว่าสังคมโจมตีประชาชนในพื้นที่มากเกินไป ทั้งๆ ที่ในพื้นที่ก็ยังไม่มีใครติดเชื้อ  และเรื่องของวัคซีนอีกมุมหนึ่งที่น่าสนใจ คือ คนไปรอฉีดวัคซีนแต่ไม่มีวัคซีนให้ฉีด

๓.๒)พื้นที่จังหวัดสงขลา

๑)นำเสนอโดยนางบุณย์บังอร ชนะโชติ พื้นที่ตำบลบ่อยาง ประเด็นที่น่าสนใจ คือ พื้นที่เก้าเส้ง ซึ่งแบ่งเป็น ๓ ส่วน ๑) ส่วนที่ติดชายทะเลคือชุมชนบาลาเซาะ ชุมชนเก้าแสน  ๒) ชุมชนเก้าเส้ง ซึ่งเป็นชุมชนแออัด และ ๓) ชุมชนหลังโรงพยาบาลจิตเวช ซึ่งเป็นชุมชนที่ข้าราชการที่ซื้อที่เพื่อปลูกบ้าน ซึ่งพื้นที่ชุมชนนี้ไม่ค่อยน่ากังวล จากกระแสข่าวที่มีการล๊อกดาวน์ชุมชนเก้าเส้ง คือ ชุมชนบาลาเซาะ และชุมชนเก้าแสน แต่ชาวบ้านยังสามารถออกทะเลได้ ซึ่งตอนนี้กระแสการท่องเที่ยวเกาะหนูเกาะแมวกำลังได้รับความนิยมมาก ซึ่งทั้งคนขับเรือและนักท่องเที่ยวไม่มีการป้องกันเลย มีเพียงบางลำที่มีการใช้แอลกอฮอล์และสวมหน้ากาก

๒)มูลนิธิชุมชนสงขลา นำเสนอโดยนายชาคริต โภชะเรือง มูลนิธิชุมชนสงขลาได้เตรียมที่จะทำชุด Care set เพื่อช่วยเหลือในกลุ่มเปราะบาง โดยสำรวจความต้องการ ชุด Care set ได้ไอเดียจากตำบลคูหาในการช่วยเหลือกลุ่มคนเปราะบางที่ได้รับผลกระทบจากโควิดในปีที่แล้วโดยสำรวจความต้องการและบริการให้กับคนที่กักตัว รอบนี้ปรับใช้ในกลุ่มคนเปราะบางทางสังคมที่ตกหล่นจากระบบและเข้าไม่ถึงความช่วยเหลือ โดยสิ่งของในชุด Care set ประกอบด้วย จำพวกข้าวสารอาหารแห้ง อาหารเหลว น้ำปลา แพมเพิส ฯลฯ

๒.๓)พื้นที่จังหวัดสตูล  นำเสนอโดยนางกัลยทรรศน์ ติ้งหวัง จังหวัดสตูลตอนนี้สถานการณ์ยังเป็นปกติ อาจจะวุ่นวายอยู่กับการรณรงค์ฉีดวัคซีน สถานการณ์ตอนนี้ร้านอาหารทุกร้านปิดหมด ส่งผลกระทบต่อผู้ให้บริการและประชาชนทั่วไป  ในเรื่องของวัคซีนคนตระหนักมากขึ้น บางคนเดิมแจ้งว่าจะไม่ฉีด ตอนนี้ก็ไปแจ้งฉีดที่โรงพยาบาลอำเภอสาธารณสุข โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ

๓.แลกเปลี่ยนประสบการณ์ธรรมนูญสุขภาพตำบล

๓.๑)ทบทวนหลักการและความสำคัญ และกระบวนการของการจัดทำธรรมนูญสุขภาพ โดยนายชาคริต โภชะเรือง

ธรรมนูญสุขภาพมีคุณค่า เพราะเป็นสิ่งที่บอกทิศทางในอนาคตที่เราอยากเห็น ในระยะ ๓ ปี ๕ ปี ซึ่งสามารถกำหนดทิศทางของตัวเองขึ้นมา ว่าตำบลของเราจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร ธรรมนูญสุขภาพพื้นที่เป็นเรื่องใหม่ที่เพิ่มเข้ามาในธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ในฉบับที่ ๒ ที่เป็นการเพิ่มทางเลือกให้การพัฒนาระบบสุขภาพของภาคประชาชนได้นำมาใช้ ซี่งสามารถดำเนินการได้โดยเครือข่ายในพื้นที่นั้น ๆ ไม่ว่าหน่วยงานไหนจะเป็นรัฐ องค์กรท้องถิ่น ภาคประชาสังคม ร่วมกันที่จะจัดทำธรรมนูญสุขภาพของพื้นที่ได้ เพื่อใช้เป็นกติกาในการอยู่ร่วมกัน หรือเพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารให้คนในชุมชนเข้าใจและปฏิบัติร่วมกันในการดูแลระบบสุขภาพของชุมชนในภาพรวม

๓.๓)พื้นที่จังหวัดยะลา

๓.๓.๑)นำเสนอโดยอาจารย์สุวิทย์  หมัดอาดัม ได้ร่วมงานกับสสส.สำนัก ๖ ใช้กติกาเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากสภาพแวดล้อม สิ่งสำคัญคือ กติกาชุมชน ซึ่งอาจดำเนินการไม่เต็มระบบเช่นธรรมนูญสุขภาพ เช่น หมู่บ้านโสร่ง ตำบลเขาตูม อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี เดิมทำเรื่องบุหรี่ มีการวิเคราะห์สิ่งแวดล้อมทางสุขภาพ สิ่งแวดล้อมที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง คือ เรื่องของร้านค้าและพื้นที่สูบ เรื่องกฎหมายมีอยู่แล้วทั้งร้านค้าและโรงเรียน ไม่อนุญาตให้มีการสูบบุหรี่ ซึ่งในระดับชุมชน ไม่มีการติดตาม เมื่อทำเรื่องนี้ผู้ใหญ่บ้านและทีม ได้มีการพูดคุยเรื่องกติกาในการขายบุหรี่ ที่ทำคือ บุหรี่ในเด็ก กติกาสำคัญ คือ ร้านค้าจะไม่ขายบุหรี่ให้กับเด็ก เป็นข้อตกลงร่วมกันของร้านค้ามีการประชุมร่วมกันไม่ขายบุหรี่ให้เด็กที่มีอายุต่ำกว่า ๑๗ ปี  รวมถึงให้มัสยิดประกาศเขตที่เป็นบริเวณของการนั่งรอละหมาด โดยให้มัสยิดกำหนดบริเวณที่ห้ามสูบบุหรี่ชัดเจน

๓.๔)พื้นที่จังหวัดตรัง

๓.๔.๑)นำเสนอโดยนายเชภาดร จันทร์หอม มีความพยายามในการชวนเครือข่ายมาเรียนรู้และใช้ธรรมนูญเป็นเครื่องมือขับเคลื่อน บางพื้นที่ที่ได้ดำเนินการในช่วงต้น ๆ เช่น พื้นที่นาชุมเห็ด ได้มีการขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ และขยายประเด็นไปยังการเตรียมสังคมสูงวัย

๓.๔.๒)นำเสนอโดยนายไชยา เทศบาลตำบลนาตาล่วง ธรรมนูญตำบลนาตาล่วง มีกรอบในการทำงาน มีทีมงานในการทำงานร่วมกันระยะหนึ่ง สิ่งที่ทำคือ แยกเป็นด้าน ๆ  คือ

๑)การดำเนินการเรื่องของผู้สูงอายุร่วมกับภาคประชาสังคม ผู้สูงอายุแต่ละพื้นที่จะนำเสนอสิ่งที่ผู้สูงอายุจะดำเนินการ เช่น การไปวัดเดือนละ ๑ - ๒ ครั้ง การอำนวยความสะดวกในการให้ผู้สูงอายุได้ดำเนินการตามธรรมนูญ

๒)ในด้านชุมชนสังคม องค์กรต่าง ๆ อสม. หรือชมรมผู้สูงอายุ กองทุนสวัสดิการต่าง ๆ อำนวยการในการดูแลผู้สูงอายุ

๓)ในส่วนของหน่วยงานท้องถิ่น หน่วยงานราชการ เช่น เทศบาล มีหน้าที่ในการพัฒนาระบบกลไกในการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ การส่งเสริมให้ผู้สูงอายุเข้าถึงการบริการหรือเงินสนับสนุนจากกองทุนสุขภาพ สนับสนุนให้กิจกรรมของผู้สูงอายุดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งตอนนี้แต่ละพื้นที่รับทราบในเฉพาะกลุ่มแล้ว และมีหน่วยงานราชการต่าง ๆ เช่น รพ.สต. บันทึกข้อตกลง เป็นการปฏิบัติการร่วมกัน  ตำบลนาตาล่วงมีจุดแข็งคือ สนับสนุนให้ผู้สูงอายุทุกกลุ่มได้รับการช่วยเหลือไม่ว่าจะเป็นกลุ่มติดบ้านติดเตียง โดยมีกองทุนบางส่วนมาช่วยเหลือ ให้การดูแลครบ ๑๐๐ %  ผู้สูงอายุในพื้นที่ส่วนใหญ่ มีส่วนร่วมจากกลุ่มต่าง ๆ ซี่งได้รับการสนับสนุนการขับเคลื่อนกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง

๓.๔.๓)นำเสนอโดยนางมาลี ตำบลนาหมื่นศรี การจัดทำธรรมนูญเริ่มจากกลุ่มทำนาอินทรีย์ และกิจกรรมการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย โดยเริ่มแรกจากกลุ่มข้าราชการในหมู่บ้าน มาร่วมแลกเปลี่ยน ข้อตกลงกติกา โดยการเริ่มค้นหาข้อตกลงของพื้นที่ เช่น หมู่ที่ ๓ ห้ามยิงปืนในยามวิกาล ฯ และได้เขียนในลักษณะประเด็นเชิงสุขภาพ สิ่งแวดล้อม กติกาทางสังคม และนำมาสู่การประชุมของคณะทำงาน โดยจะเชิญเครือข่ายของแต่ละหมู่บ้านมาดูกติการ่วมกัน เพื่อให้ออกมาเป็นฉบับร่างของแต่ละหมู่บ้าน โดยจะให้ข้าราชการบำนาญ ตัวแทนชาวบ้าน มากลั่นกรองและทำประชาคม ปัญหาการทำงานคือ ไม่สามารถเข้าถึงการทำงานของอบต.ได้ และวางแผนที่จะนำกติกาไปสู่การประกาศใช้โดยอบต.ในพื้นที่ แต่ติดขัดในสถานการณ์โควิดจึงไม่อาจขับเคลื่อนต่อได้

๓.๕)ชุมชนแหลมสนอ่อน นำเสนอโดยนางบุณย์บังอร ชนะโชติ เริ่มต้นจากคนที่มีปัญหาเรื่องรายได้และเรื่องปากท้อง ตอนแรกไม่ได้คิดว่าต้องเป็นธรรมนูญ หรือกติกา แต่เมื่อมีการพูดคุยกันก็มีกติการ่วมกัน โดยนัดกันทุกวันที่ ๙ ของทุกเดือน มีการจัดระบบการพูดคุย ปัญหาหลัก คือ เรื่องที่อยู่อาศัย โดยการหาพวกหาเพื่อนมาช่วยกัน วิธีการคือ หาชาวบ้านที่มีปัญหาเดียวกัน หัวอกเดียวกัน และเริ่มออกไปต่างชุมชนและพบชุมชนที่มีรายได้น้อย จึงได้คิดที่จะจับมือกัน ๔-๕ ชุมชน โดยนัดพบทุกวันที่ ๙ ของทุกเดือน มีกิจกรรมกินข้าวด้วยกัน เรียนรู้กัน หาวิธีลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวดำเนินการต่อเนื่องเป็นปีๆ และมีการทำกติกาที่ชัดเจนขึ้น

ระยะแรกได้เครือข่าย ๖ ชุมชนในเขตเทศบาลนครสงขลา เกิดกติกาเล็กๆ ว่าเรามารวมตัวกันไม่คาดหวังการพึ่งพาภาครัฐ โดยต้องพึ่งพาตัวเองเป็นหลัก เช่น การหารายได้ การช่วยเหลือคนพิการ มีการเก็บข้อมูล บันทึก และแยกข้อมูลของชุมชนใน ๖ - ๗ ชุมชน หากว่าต้องช่วยในการแก้ปัญหา อะไรเป็นปัญหาแรก ซึ่งจากการวิเคราะห์คือ ปัญหาเรื่องปากท้อง เรื่องรายได้ เอาข้อมูลที่เก็บมารวมกัน ใครอยู่ชุมชนไหนก็เก็บข้อมูลของชุมชนตัวเอง ข้อมูลของชาวบ้านค่อนข้างจะละเอียดรู้ลึก และเริ่มมองเห็นว่า ๖ -  ๗ ชุมชนมีกติกาที่คล้าย ๆ กัน การเก็บข้อมูลเป็นการทำให้ชุมชนมองเห็นปัญหาตัวเอง เกิดความตระหนักในการเกิดจิตสำนึกในการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน โดยชุมชนวิเคราะห์ตัวเองว่ามีอะไรอยู่ ขาดอะไรอยู่

เมื่อเกิดปัญหาสิ่งที่เป็นเครื่องมือได้ดีที่สุดคือ กติกาสังคมที่มีร่วมกัน ซึ่งกติกาชุมชนไม่ต้องมีหลายข้อ นำเรื่องหลักๆ คือ ปัจจัยสี่ ซึ่งจะเน้นที่เรื่องของอาหาร รายได้ เพราะค้นพบว่า จริงๆ ปัญหาทุกอย่างไม่ว่าระดับครอบครัว ชุมชน ปัญหาหลักคือ ความยากจน ตอนนี้มีการขยายไปถึง ๑๔ ชุมชน และแกนนำแต่ละชุมชนไม่จำเป็นต้องเป็นประธานชุมชน แต่เป็นใครก็ได้ที่อยากมาร่วมกิจกรรม โดยธรรมชาติจะมีคนที่คุยเก่ง ทำเก่ง ซึ่งเราจะได้แกนนำธรรมชาติมาสู่การทำงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากเราต้องการข้อมูลใดๆ แกนนำจะรู้ การขยายเครือข่ายโดยวิธีธรรมชาติด้วยกติกาที่ชัดเจน เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดการยอมรับและมีส่วนร่วม ซึ่งคนที่เข้ามาใหม่จะทำตัวได้ง่ายขึ้น ทำให้รู้ว่าต้องปฏิบัติตัว หรือปรับความเข้าใจอย่างไรที่ตรงกัน เป็นการสร้างกติกาที่อยู่บนพื้นฐานชีวิตจริง

๔.ครั้งต่อไป ถอดบทเรียนธรรมนูญลุ่มน้ำภูมี วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๔

Relate topics