"๑๐ ปีธรรมนูญลุ่มน้ำภูมี : ผลักดันวันลุ่มน้ำปี ๖๕ คุณภาพน้ำจะต้องดีขึ้น"

photo  , 1000x750 pixel , 211,960 bytes.

"๑๐ ปีธรรมนูญลุ่มน้ำภูมี : ผลักดันวันลุ่มน้ำปี ๖๕ คุณภาพน้ำจะต้องดีขึ้น"


อีกความพยายามของเครือข่ายภาคประชาชนในการรวมตัวกันเพื่อดูแลฐานทรัพยากรของตนด้วยการร่วมกำหนดข้อตกลงในพื้นที่ระดับลุ่มน้ำย่อย สร้างสมดุลการพัฒนาที่ล้างผลาญทรัพยากร


ลุ่มน้ำภูมีเป็น ๑ ใน ๑๐ ของลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ประกอบด้วยลำน้ำ ๓๕ สาย กินพื้นที่ ๒ อำเภอคือ ควนเนียงและรัตภูมิ ในอดีตลุ่มน้ำภูมี มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์และการก่อตั้งชุมชน เนื่องจากเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำที่มีทรัพยากรสมบรูณ์ในทุกด้าน ป่าต้นน้ำเต็มไปด้วยพืชสมุนไพร ไม้หายาก แต่มาถึงจุดเปลี่ยนเมื่อมีการให้สัมประทานป่าไม้ พื้นที่กลางน้ำมีคลองสำคัญคือคลองเคียน ลอดผ่านเขาคูหา ต่อมามีการให้สัมประทานระเบิดหินเขาคูหา และการทำบ่อทรายเถื่อน ปลายน้ำเคยเป็นท่าเรือขนส่งสินค้า มีการค้าขาย เป็นแหล่งสัตว์น้ำที่อุดมสมบูรณ์ด้วยความเป็นทะเล ๓ น้ำ ต่อมาสภาพน้ำเปลี่ยนแปลงไป อดีตมีความเชื่อว่าน้ำที่นี่ใสสะอาดเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ ผลจากการใช้ทรัพยากรอย่างไม่คุ้มค่าและไม่เกิดประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ ทรัพยากรค่อยๆ เสื่อมโทรมและหดหายไป จึงได้เกิดการรวมตัวของคนในพื้นที่ลุ่มน้ำขึ้นเป็น "เครือข่ายอนุรักษ์และพัฒนาลุ่มน้ำรัตภูมี" (นำชื่อรัตภูมิมารวมกับภูมี-หมายถึงอาณาจักรดินแดง) ในปี พ.ศ.๒๕๔๗ นำโดยเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก และกลุ่มอนุรักษ์พันธุกรรมท้องถิ่น น้ำตก วิถีวัฒนธรรม สภาองค์กรชุมชน ประกอบกิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูสายน้ำ ภูมิปัญญา มีการล่องแพแลคลอง จัดการขยะ ราพา เชื่อมโยงเครือข่ายต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ


ต่อมาปี ๒๕๕๒ มีแนวคิดที่จะจัดทำ "ธรรมนูญลุ่มน้ำภูมี" ขึ้น เพื่อใช้เป็นกติกา ข้อตกลง สัญญา ระเบียบหรือข้อปฏิบัติ ให้ชุมชนในพื้นที่ลุ่มน้ำได้ใช้ในการจัดสรรทรัพยากรอย่างเป็นธรรม ปรารถนาให้มีความสมดุลกันระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง บนหลักศาสนา วิถีชีวิต ภูมิปัญญา ขนบธรรมเนียม ประเพณีวัฒนธรรมของคนในพื้นที่ลุ่มน้ำ ฐานคิดนี้รวมกับจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร นำมาสู่การสร้างความตระหนักร่วมกัน หลอมรวมดวงใจของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและนำไปสู่การพัฒนาระบบการเมืองการปกครองของชุมชน ในการดูแลทรัพยากรในพื้นที่ลุ่มน้ำภูมี จนแล้วเสร็จและประกาศใช้ในปี ๒๕๕๔


กระบวนการได้มาซึ่งธรรมนูญลุ่มน้ำภูมี ได้มีตัวแทนในทุกภาคส่วน ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับทรัพยากรในพื้นที่ลุ่มน้ำภูมี ไม่ว่าจะเป็นตัวแทนจากชุมชน ประชาชน โรงเรียน/มหาวิทยาลัย วัด มัสยิด กลุ่ม องค์กร สภาองค์กรชุมชน เครือข่ายชุมชน ท้องถิ่น ท่องที่ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกาคีเครือข่ายต่างๆ ได้ช่วยกันระคมความคิดยกร่างธรรมนูญลุ่มน้ำภูมีขึ้น จากนั้นได้นำร่างธรรมนูญลุ่มน้ำภูมี ไปทำการประชาธิจารณ์ในพื้นที่ต่างๆ โดยจัดเวที่เพื่อนำเสนอร่างธรรมนูญลุ่มน้ำภูมี และเปิครับฟังความคิดเห็นจากประชาชนและทุกภาคส่วนในพื้นที่ตลอดลุ่มน้ำรวม ๑๐ เวที มีผู้เข้าร่วมประมาณ ๔๕๐ คน จากนั้นได้มีการทำการประชาพิจารณ์เวที่ใหญ่อีก ๑ ครั้ง เพื่อนำเสนอร่างธรรมนูญลุ่มน้ำภูมิที่ผ่านการปรับแก้แล้วต่อที่สาธารณะ เพื่อลงฉันทามติในการรับร่างธรรมนูญลุ่มน้ำภูมีและการประกาศใช้


โดยความสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งซาติ (สช ) สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช) เครือข่ายสภาองค์กรชุมชน ๑๐ ปีผ่านไป เครือข่ายฯได้มีการสรุปบทเรียนการใช้ธรรมนูญลุ่มน้ำภูมีพบว่า


จุดเด่นของธรรมนูญ เป็นความฝันร่วมของคนในพื้นที่จำนวนหนึ่งโดยเฉพาะเครือข่าย ได้หลอมรวมจิตใจ ใช้อ้างอิงเพื่อมีส่วนร่วมการพัฒนาให้มีความสมดุล สร้างกระแสทางเลือกการพัฒนาไม่สุดโต่งไปทางใดทางหนึ่ง เช่นกรณี ต้านทานการระเบิดหินที่ผิดกฏหมาย ช่วยเอื้อให้ชุมชนได้ตระหนักถึงสิทธิพลเมือง สิทธิชุมชนที่จะลุกขึ้นมาต่อสู้ การร่วมมือกันต่อต้านการทำบ่อทรายเถื่อน การพัฒนาคนผ่านโรงเรียนพลเมือง โรงเรียนสิทธิชุมชน การรวมตัวเป็นองค์กรสมาคมฯ

แล้วเป็นความภาคภูมิใจของคนตัวเล็กๆ ที่รวมตัวกันประกอบกิจกรรมสาธารณะ เชื่อมร้อยผู้คนต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ

การผลักดันให้มีวันลุ่มน้ำ ทุกวันที่ ๑๓ มิถุนายน เป็นต้น

ทว่าก็ยังมีจุดที่ยังต้องผลักดันต่อไป อาทิ การผลักดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำไปออกเป็นข้อบัญญัติท้องถิ่น การทำงานของเครือข่ายอนุรักษ์และพัฒนาฯ ในสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป มีคนใหม่ๆ คนรุ่นใหม่เข้ามาในกระบวนการพัฒนา ประกอบกับวิธีการทำงานที่เปลี่ยนจากเดิม

การผลักดันรางวัล "คนดีศรีภูมี"


โดยมีแนวทางที่จะดำเนินการต่อไปดังนี้

๑.ทบทวนการดำเนินงานของเครือข่ายอนุรักษ์และพัฒนาฯ เชื่อมโยงกลไกการทำงานแบบเครือข่ายแนวราบ ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ประสานเพื่อนใหม่ คนรุ่นใหม่ ขยายผลให้เกิดการรับรู้ร่วมกับหุ้นส่วนการพัฒนา ที่จะมาร่วมมือกันขับเคลื่อนงานด้วยกันบนฐานเคารพความคิดความเชื่อที่แตกต่าง หลายหลายในวิธีการ ทั้งใช้งบประมาณและไม่ใช้งบประมาณ แต่มีเป้าหมายร่วม มีพื้นที่การพูดคุยร่วมกัน มีกิจกรรมร่วมกัน เช่น การศึกษา CHIA (การประเมินผลกระทบระดับชุมชน) สำรวจพื้นที่ลุ่มน้ำ ขอบเขตคลองให้เป็นปัจจุบัน
๒.ทบทวนธรรมนูญลุ่มน้ำภูมี ปรับปรุงในส่วนที่ไม่สามารถดำเนินการได้ หรือมีเงื่อนไขที่เปลี่ยนแปลงไป ต่อยอดสิ่งดีๆที่ได้ทำไปแล้ว ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ต่อสาธารณะ

๓.ผลักดันให้วันลุ่มน้ำมีกิจกรรมที่หลากหลายมากขึ้น พร้อมตัวชี้วัดคุณภาพน้ำปลายทางจะต้องดีขึ้น เป็นวาระร่วมกันของคนลุ่มน้ำ

๔.พัฒนาคนผ่านโรงเรียนสิทธิชุมชน/โรงเรียนพลเมือง นำกิจกรรมอนุรักษ์และฟื้นฟูเข้าสู่ระบบการเรียนทั้งในระบบและนอกระบบ (มีข้อมูลว่าเด็กในพื้นที่ปลายน้ำเป็นเด็กฉลาด ได้คะแนนสูงระดับจังหวัด น่าศึกษาว่าสัมพันธ์กับการได้อาหารของพื้นที่ทะเล ๓ น้ำหรือไม่)

๕.นำต้นทุนด้านการท่องเที่ยว ประเพณีวัฒนธรรม พืชสมุนไพร/ไม้หายาก นิทานพื้นบ้าน ๑๐๐๐ เรื่อง มาต่อยอดสร้างคุณค่าเป็นการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ท่องเที่ยวเชิงผจญภัย ฯลฯ เพิ่มรายได้ให้กับประชาชน


บันทึกจากธรรมนูญออนแอร์ วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๔

Relate topics