"๑๐ ปีธรรมนูญลุ่มน้ำภูมี : การอนุรักษ์และพัฒนาพันธุกรรมข้าว"

  • photo  , 960x720 pixel , 162,800 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 99,738 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 120,676 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 106,670 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 101,124 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 105,417 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 119,441 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 100,360 bytes.
  • photo  , 960x541 pixel , 88,869 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 100,521 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 105,983 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 147,979 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 130,278 bytes.
  • photo  , 720x960 pixel , 82,476 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 99,726 bytes.

"๑๐ ปีธรรมนูญลุ่มน้ำภูมี : การอนุรักษ์และพัฒนาพันธุกรรมข้าว"

๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๔  เวทีความร่วมมือ "จากรากสู่เรา วิถีข้าว ชาวลุ่มน้ำภูมี" จัดขึ้น ณ บ้านริมทุ่งนาของนายวรรณะ ขุนเดื่อ เจ้าของพื้นที่และฐานการเรียนรู้หมู่บ้านวิถีข้าวพื้นเมือง นิเวศน์แห่งการเรียนรู้ความมั่นคงทางอาหารปลอดภัย เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมทบทวนธรรมนูญลุ่มน้ำภูมี ในวาระครบ ๑๐ ปี

จัดเวทีริมท้องนา พร้อม live สดจากพื้นที่โดยทีม Hi cable songkhla ผ่านเพจของเครือข่ายอนุรักษ์และพัฒนาลุ่มน้ำรัตภูมีที่เป็นเจ้าภาพร่วมกับมูลนิธิชุมชนสงขลา มทร.ศรีวิชัย ห้องเรียนท้องนา สมาคมสิทธิชุมชนเขาคูหา นำเสนอ ๓ กรณีศึกษาสำคัญ

๑)ข้าวกับอาหารกลางวันและยุวชนชาวนา  โดย นายสุเทพ เซ่งล่าย อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนวัดไทรใหญ่ สะท้อนความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชน โดยมีมทร.ศรีวิชัยเป็นหน่วยสนับสนุนสำคัญ ดำเนินการร่วมกันมากว่า ๗ ปี ช่วยเพิ่มคุณภาพให้กับอาหารกลางของวันของเด็กนักเรียน พร้อมสะท้อนปัญหาอาหารกลางวันในโรงเรียนขนาดเล็กที่มีเด็กไม่มาก ค่าอาหารกลางวันที่เหมาะสม ควรจะอยู่ที่ ๒๕-๓๐ บาท ควรมีการทบทวนใหม่ และชุมชนควรตระหนักถึงคุณภาพของอาหารที่ลูกหลานของตนได้รับ

๒)ข้าวซ้อมมือกับการฟื้นพลังครอบครัวในชุมชน โดยนางธันยพร เคี่ยมการ เครือข่ายเกษตรอินทรีย์วิถีพอเพียงบ้านม่วงใหญ่ บอกเล่าวิถีของชุมชนที่เริ่มแตกสลาย การนำกิจกรรมข้าวซ้อมมือกลับมา ไม่เพียงช่วยให้ครอบครัวได้ทำกิจกรรมร่วมกันแล้ว ยังทำให้เห็นคุณค่าของเมล็ดพันธุ์ข้าว ที่หล่นหายไปในวิถีการผลิตแบบใหม่ และเปิดประเด็นความมั่นคงอาหารระดับครัวเรือน ปริมาณข้าวที่แต่ละคนบริโภคต่อปี

๓)การผลิตข้าวเชิงพาณิชย์ของเกษตรแปลงใหญ่  โดยนายไพบูลย์ หนูราช ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มโรงสีข้าวชุมชนบ้านหนองโอน บอกเล่าวิถีการผลิตแบบใหม่ จากกลุ่มรวมตัวเป็นวิสาหกิจและต่อยอดมาเป็นห้างหุ้นส่วน สนับสนุนการผลิตข้าวปลอดภัยและข้าวอินทรีย์ จนสามารถสร้างโรงสี บรรจุภัณฑ์ มีระบบตลาดของตนเอง และเล่าว่าในพื้นที่ลุ่มน้ำภูมีมีข้าวพื้นเมือง ๒๒ สายพันธุ์ ข้าวที่น่าสนใจได้แก่ ข้าวหอมจันทร์

ทั้ง ๓ กรณีศึกษาล้วนสะท้อนวิถีของชาวนาในพื้นที่ ก่อนที่จะมีการนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบาย โดย อาจารย์อัมรินทร์ สันตินิยมภักดี / ผ.ศ.อารีย์ เต๊ะหละ จากมทร.ศรีวิชัยรัตภูมิ ที่สะท้อนว่าความมั่นคงทางอาหารจะเกิดได้ต้องให้ชาวนามีความมั่นคงและยั่งยืนก่อน พร้อมเสนอให้เพิ่มคุณค่าของการเรียนรู้ช่วยกันสร้างค่านิยมปลูกฝังให้กับเด็กๆและเยาวชนได้เห็นคุณค่าของข้าว และวิถีที่เกี่ยวเนื่องเพื่อสามารถต่อยอดฐานทุน ฐานทรัพยากรที่ยังมีความสมบูรณ์

จากนั้นมีการนำเสนอการใช้ประโยชน์ที่ดินสำหรับการปลูกข้าวในพื้นที่ลุ่มน้ำภูมี โดย ผู้แทนศูนย์เมล็ดข้าวปัตตานี ที่สะท้อนว่าหน่วยงานได้เข้ามาส่งเสริมเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง ทั้งข้าวพันธ์เล็บนก ไอ้เฉี้ยง และข้าวกข.๔๓

นายกำราบ พานทอง  เครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนสงขลา มองว่าพื้นที่ควรส่งเสริมเกษตรอัตลักษณ์ ข้าวพื้นเมืองที่ควรส่งเสริมเช่น ข้าวหน่วยเขือ หน่วยงานควรวิจัยค้นหาสายพันธุ์ท้องถิ่นที่เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และภูมินิเวศ วิถีข้าวควรจะต้องสัมพันธ์กับการบริโภคที่เรียกว่า "สำรับ" ข้าว ปลา ผัก อาหาร เป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน การส่งเสริมจะต้องสมดุลทั้งระบบนิเวศทางการผลิตและระบบนิเวศทางเศรษฐกิจ หากข้าวไม่ได้ราคา เกษตรกรจะหันไปปลูกปาล์มและยางที่ได้ราคาดีกว่า พร้อมกับย้อนความทรงจำว่าในอดีตนาข้าวยังมีพืชอัตลักษณ์ร่วมที่ปัจจุบันได้หายไปแล้วคือ ใบยีรู ต้นนมแมว และขนมต่างๆ

ที่ประชุุมที่ประกอบด้วยเครือข่ายชาวนา สมาคม สถานศึกษา ภาคเอกชน หน่วยงานราชการ เช่น  พาณิชย์จังหวัด วัฒนธรรมจังหวัด ต่างเสนอแนะแนวทางความร่วมมือที่จะเป็นประโยชน์ฺในการขับเคลื่อนต่อไป อาทิ ควรส่งเสริมการผลิต โดยมีทีมจัดการข้าวรับจ้างช่วยเกษตรกรหรือเจ้าของที่ดินที่ไม่มีแรงงาน หรือร่วมมือในลักษณะเสริมหนุนเป็นเครือข่ายการผลิต มีการซื้อที่รักษาที่นาไม่ให้เปลี่ยนสภาพด้วยมาตรการส่งเสริมคุณค่า นำแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์มาต่อยอดผลผลิตหรือฐานทรัพยากรข้าวในแต่ละช่วงฤดูกาล นำการท่องเที่ยวเข้ามาเสริมด้วยการขายประสบการณ์ เชื่อมโยงผู้บริโภคและคนเมืองเข้ามาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม มองภาพข้าวในมิติภูมินิเวศลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาที่สามารถบูรณาการต้นทุนร่วมกัน และที่สำคัญร่วมสร้างภาพจำใหม่ให้กับเยาวชน เปลี่ยนภาพชาวนาที่ลำบากยากจน สร้างกระบวนการเรียนรู้เปิดมิติการเรียนรู้ในห้องเรียนท้องนา ข้อเสนอเหล่า่นี้ทางเครือข่ายจะนำไปสู่การขับเคลื่อนร่วมกันต่อไป

กิจกรรมนี้สนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.)

ชมบันทึกย้อนหลังได้ที่

Relate topics