"นครหาดใหญ่อินทรีย์วิถีคนเมือง ศูนย์กลางเกษตรอินทรีย์ สร้างตลาดอินทรีย์ 4 มุมเมือง 28 ชุมชนนครหาดใหญ่ "

  • photo  , 1000x562 pixel , 103,655 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 144,550 bytes.
  • photo  , 1108x1478 pixel , 192,762 bytes.
  • photo  , 1108x1478 pixel , 168,804 bytes.
  • photo  , 1108x1478 pixel , 178,559 bytes.
  • photo  , 1108x1478 pixel , 178,559 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 156,593 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 161,781 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 184,642 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 159,961 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 154,532 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 161,908 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 178,185 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 168,522 bytes.
  • photo  , 1566x1044 pixel , 108,952 bytes.
  • photo  , 1280x590 pixel , 79,846 bytes.
  • photo  , 1566x1044 pixel , 175,484 bytes.
  • photo  , 1566x1044 pixel , 175,484 bytes.
  • photo  , 1566x1044 pixel , 135,804 bytes.
  • photo  , 1566x1044 pixel , 135,804 bytes.

"นครหาดใหญ่อินทรีย์วิถีคนเมือง ศูนย์กลางเกษตรอินทรีย์ สร้างตลาดอินทรีย์ 4 มุมเมือง 28 ชุมชนนครหาดใหญ่ "

พลตำรวจโท สาคร ทองมุณี นายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่ เปิดงานอบรมผู้ตรวจแปลงเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนรวม SDGsPGS ของเทศบาลนครหาดใหญ่ ระหว่างวันที่ 25-27 มกราคม 2565

เพื่อขับเคลื่อนหาดใหญ่ให้เป็น Hub เป็นศูนย์กลางเกษตรอินทรีย์ สร้างตลาดอินทรีย์ 4 มุมเมือง 28 ชุมชนนครหาดใหญ่ เพื่อรองรับผลผลิตเกษตรอินทรีย์ของเครือข่ายรอบๆ เทศบาลนครหาดใหญ่

ถือเป็นการทำกระบวนทัศน์กับการพัฒนาที่ยั่งยืน ของคนเมือง โดยมีเกษตรกรคนเมือง เจ้าหน้าที่เทศบาล ผู้ประกอบการ และผู้สนใจ จำนวน 45 คน เพื่อเข้าสู่แผนนโยบายการพัฒนาความมั่นคงด้านอาหารด้วยกลไก SDGsPGS

วันที่ 2 ของการพัฒนาเครือข่ายเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS ของเทศบาลนครหาดใหญ่ อย่างยั่งยืน เพื่อขับเคลื่อน มหานครแห่งการเรียนรู้ "ชีวาสุข"
โดยกิจกรรมอบรมผู้ตรวจแปลง ที่แบ่งกลุ่ม 3 กลุ่ม ลงพื้นที่ 5 แปลง โดยกำหนด แปลงสมุนไพรชีวาสุข 2 แปลง  ห้าทะลายโจร 3 แปลง โดยนำเครื่องมือ SDGsPGS ลงไปใช้ในพื้นที่ทั้งหมด ด้วยการสร้างการมีส่วนร่วม กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในพื้นที่ เพื่อนำมาสู่แนวทางการพัฒนา สู่มาตรฐานของ SDGsPGS ที่จะพัฒนาแปลงให้เป็นเกษตรกรรมยั่งยืนที่มีมาตรฐานการรับรองเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS และกลับมาทำการทำ Workshop ทำการวิเคราะห์ข้อมูลดิบ สู่ข้อมูลวิชาการ และนำลงสู่ระบบ OAN เพื่อรอทำกระบวนการกลั่นกรอง OAN เป็นกลไกที่พัฒนาเพื่อการจัดการฐานข้อมูลให้เป็นระบบ มีความโปร่งใส่ และผ่านการวิเคราะห์ ร่วมกันของกลุ่มและเครือข่ายในจังหวัด เพื่อกลั่นกรองออกมาเป็น 2 แบบคือ ระยะปรับเปลี่ยน และอินทรีย์ และรอการรับรอง จากคณะกรรมการพิจารณารับรองระดับจังหวัด ในการประชุมใหญ่ที่กำหนดไว้ในแผนและในระบบ OAN

กิจกรรมในวันที่ 3 ของการอบรม การพัฒนาเครือข่ายเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมอย่างยั่งยืน ซึ่งทุกคนได้เข้าใจถึง กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันที่จะเกิดการพัฒนาที่มาจากเกษตรกร เครือข่าย และภาคีที่เชื่อมโยงถึงแนวทางการพัฒนาร่วมกัน โดยเห็นได้ว่า จะพบรูปแบบของแปลงในสวนสาธารณะเทศบาลนครหาดใหญ่ ที่ปักหมุด

พื้นที่นำร่องเกษตรอินทรีย์ ที่มี 2 บริบท โดยรวม 5 แปลง รวมพื้นที่ประมาณ 5 ไร่ ซึ่งล้วนแต่เป็นแหล่งอาหารและยาในชุมชน  ทั้งใจกลางหาดใหญ่ที่มาร่วมสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในการพัฒนาเกษตรอินทรีย์ ที่จะพัฒนาสู่การมีเครือข่ายของแหล่งอาหารปลอดภัย แหล่งความมั่นคงด้านอาหาร แหล่งจ้างงาน แหล่งเรียนรู้ในชุมชน แหล่งท่องเที่ยวชุมชน ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ที่จะนำสู่การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์  สังคมให้เป็นสุข สิ่งแวดล้อมยั่งยืน ที่ใช้ พื้นที่เป็นตัวตั้ง ใช้หลักสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่เริ่มต้นจากกระบวนทัศน์การพัฒนาคน พื้นที่ ผลผลิต ไปพร้อมๆ กัน รวมถึงได้ใช้นวัตกรรม SDGsPGS เข้ามาเป็นเครื่องมือ เป็นกลไก 4 กลไกที่จะเป็นแนวทางการพัฒนา รูปแบบเบ็ดเสร็จ

1.กลไกสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืน มีบทบาทส่งเสริมพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนในพื้นที่ พัฒนามาตรฐาน SDGsPGS เชื่อมโยงเครือข่ายภาคีแบบครบห่วงโซ่

2.กลไก ผู้ตรวจแปลง มีบทบาท ส่งเสริมเกษตรกรรมยั่งยืนด้วยปฎิบัติในพื้นที่ สร้างกระบวกการเรียนรู้เพื่อการพัฒนา สร้างการมีส่วนร่วมในพื้นที่ การนำข้อกำหนดมาตรฐาน 22 ข้อ ไปประยุกต์ใช้ตามภูมิสังคมนั้นๆ

3.กลไกกรรมการรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมระดับจังหวัด มีบทบาท จัดการประชุมพิจารณารับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบทีส่วนร่วม ออกใบรับประกันคุณภาพสินค้า มาตรฐานเกษตรอินทรีย์

4.กลไก SE วิสาหกิจเพื่อสังคม มีบทบาท ในการวางแผนการจัดการ แผนต้นทุน แผนการผลิต แผนการตลาด ที่เชื่อมโยงกลไกต่างๆ สู่ผู้ประกอบการ ผู้บริโภค การจัดทำ Business Macthing การจัดทำ MOU เพื่อเชื่อมโยงผลผลิตกับผู้ประกอบการ

โดยรวม SDGsPGS ไม่ได้ทำมาตรฐานเพื่อมาตรฐาน เพื่อนำผลผลิตสู่ตลาดแต่อย่างเดียว แต่ SDGsPGS เป็นกลไกพัฒนาให้เกิดการพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน ที่สร้างผลกระทบในทางบวกของการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ข้อ

การใช้ระบบ PGS มาพัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืนทั้ง 5 รูปแบบ ให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยกุสโลบาย เปลี่ยนจาก "ทำมาหากิน" เศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน สู่ "การทำมาค้าขาย เศรษฐกิจพอเพียงขั้นก้าวหน้า ที่พัฒนาการตาม บันได 9 ขั้น ด้วย สัมมาชีพ ที่ก่อให้เกิดรายได้ครัวเรือน เศรษฐกิจฐานราก  พัฒนากลุ่มเครือข่ายที่เป็นสังคมสร้างสรรค์ การฟื้นฟู การจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนด้วยกิจกรรมเกษตรอินทรัย์และเกษตร 6 ด้านตามหลัก BCG การเน้นกิจกรรมที่ช่วยลดภาวะโลกร้อน คาร์บอนเครดิต จากกิจกรรมเกษตรอินทรีย์ ในพื้นที่ทำกิน พื้นที่โรงเรียน พื้นที่สาธารณะประโยชน์ เพื่อสร้างคุณค่าทรัพยากรชุมชน สิ่งแวดล้อมยั่งยืน ถือว่าเป็นการพัฒนาเกษตรกรรมที่ยั่งยืนของหาดใหญ่ และสงขลา อย่างแท้จริง

เรียนรู้ไปด้วยกันกับเรา

สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนสงขลา ทีมพัฒนาเครือข่ายเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS ภาคใต้

สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนอำเภอ สหพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนแห่งประเทศไทย

ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไทยบ้านภูลิตา

ศูนย์อำนวยจิตอาสาพระราชทานภาค 4 ศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริภาคใต้ โครงการฟาร์มตัวอย่าง 35 ฟาร์ม ภาคใต้

และโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ UNDP

ขอบคูณข้อมูลจาก  ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไทยบ้านภูลิตา

Relate topics