เรียนรู้ระบบสุขภาพปฐมภูมิอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา
เยี่ยมติดตามระบบสุขภาพปฐมภูมิ อ.นาทวี วันที่ 25 สิงหาคม 2565
บริบททั่วไป
- ปชก. 6.7 หมื่น 10 ตำบล 17 รพ.สต.
ไทยพุทธ 70% เศรษฐกิจดี มีส่วนราชการจังหวัดบางแห่ง อยู่ทีอำเภอนี้ เช่น ศาล อัยการ
วิถีชีวิต สวนยางพารา อาหารรสจัด วัยรุ่นนิยมร้านสะดวกซื้อ
จุดเริ่มต้นและกระบวนการพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอ อ.นาทวี ✳️
เริ่มจากคนพิการในพื้นที่ ปี 55-56
เริ่มจากพัฒนาระบบฐานข้อมูล ปัญหาฐานข้อมูลไม่ตรงกัน จัดบริการเชิงรุกทำบัตรผู้พิการ ศูนย์อุปกรณ์ที่ รพ. สมเด็จฯ นาทวี
วิเคราะห์สาเหตุ ผู้พิการ สาเหตุจากโรคความดันโลหิตสูง มีกิจกรรมคัดกรอง แก้ไขปัญหา ปี 2557 ขยายสู่นโยบาย หมอครอบครัว ในปี 2558
ปี 2558 ขับเคลื่อนการปัญหาบูรณาการ ปัญหาผู้พิการ + ความดันโลหิตสูง + ผู้สูงอายุ โดยการจัดการปัจจัยต้นทาง งานอาหารปลอดภัย และ ศูนย์ฟื้นฟู ในชุมชน ขับเคลื่อน LTC ปี 2559
ปี 2559 เริ่มจาก DHS DHB 5 ครั้ง จนกำหนดประเด็นขับเคลื่อน 2 ประเด็น Nathawee Caring Society คือ ผสอ. และ ไข้เลือดออก และค่อยๆ ถอดบทเรียนต่อยอดไปในประเด็นต่างๆ เช่น การจัดการขยะ(ลดขยะไข้เลือดออกไม่มี)
การบูรณาการระบบสุขภาพปฐมภูมิและการพัฒนาคุณภาพชีวิต อ.นาทวี ... ขับเคลื่อน พชอ. ให้เกิด พชต. อย่างน้อย 1 ประเด็นตาม พชอ. เลือก ผู้สูงอายุ/ ปัจจุบันจัดตั้ง PCU & NPCU ครบเต็มอำเภอแล้ว ปี 60-65 มีแพทย์ประจำ 8 คน
ในวิกฤตโควิด19 ใช้กลไก ศปก. อำเภอ -- ตำบล -- หมู่บ้าน ตามโครงสร้าง EOC
โอกาสพัฒนาในเชิงประเด็น : ลดป่วย NCDs รายใหม่ + งานคุ้มครองสุขภาพในชุมชน
งานระบบสุขภาพปฐมภูมิ
ขึ้นทะเบียน 7 NPCU 1 PCU
พัฒนาตามเกณฑ์ 3S
ระบบให้คำปรึกษา Offline Online ผ่าน Line
หมอ FAMMED ขับเคลื่อนการพัฒนา ANC คุณภาพ เนื่องจากมีปัญหา แม่ลูกตายสูง
โรคเรื้อรัง เข้าถึงบริการสุขภาพปฐมภูมิ สูงถึง 80% ควบคุมโรคได้ดี 50% ทำให้ รพ.พัฒนาทุติยภูมิได้มากขึ้น รับส่งต่อจากอำเภอข้างเคียง
พัฒนาการดูแลในประเด็นสำคัญ - กสรเข้าถึงบริการ Stroke, CKD, Palliative care, IMC ร่วมกับแพทย์เฉพาะทางและสหสาขาวิชาชีพของ รพ.
ลดแออัด ลดค่าใช้จ่าย ปชช./ รัฐ ได้แน่นอน แต่ ลดป่วย ลดตาย ยังต้องใช้เวลาในการวัดผลลัพธ์ที่ชัดเจน
สิ่งที่ต้องการพัฒนาต่อ - การเชื่อมโยงกับ SP ทุกสาขา / หมอ คนที่ 4 / พัฒนาระบบการดูแลแบบ Home ward
ความท้าทาย ระบบข้อมูลสารสนเทศ (Digital health) + การสร้าง Health Literacy ในระดับบุคคล
ประเด็นแลกเปลี่ยน/คำถาม
1)ทีมนำ ผอ.รพ./ สสอ. มีเทคนิควิธีการอะไรในการกระตุ้นหรือชักชวนชักจูงให้คนทำงาน
- ผู้นำ มีหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานองค์กรต่างๆ ทำตัวให้เข้าถึงสะดวก หลังจากโควิด19 ได้ใจชุมชน ทำงานสะดวกมากขึ้น
หลัก 3 ร่วม "ร่วมทำ+ร่วมคิด+ร่วมเรียนรู้" ด้านประชาชน ร่วมรับผล(งาน)
ต้องเป็นผู้ให้ก่อนจึงเป็นผู้ได้รับ
ทำงานแก้ไขปัญหาของชุมชน /งานสาธารณสุขเหมือนได้ทำบุญ/ไม่เน้นทำตาม KPI
เห็นความเท่าเทียมในสิทธิพื้นฐาน ความเท่าเทียมในสิทธิของการบริการที่เป็นธรรม
เปิดพื้นที่ รพ. ให้เป็นของชุมชน + เชิงรุกเข้าถึงชุมชน ให้เข้าถึงง่าย
ชุมชนให้ความร่วมมือกับสาธารณสุขจากการเห็นความตั้งใจ "เห็นคุณค่า"
2)ใช้เครื่องมือ/เทคนิควิธีการอะไรบ้างในการขับเคลื่อน/พัฒนาระบบสุขภาพ
3 สร้าง : สร้างเครือข่าย (การมีส่วนร่วม) + สร้างคน (พัฒนาศักยภาพ)+ สร้างงาน
5ส : เกิดความร่วมมือในการทำงานทุกระดับ เป็นหนึ่งในเครื่องมือพื้นฐาน
ระบบมาตรฐาน : มาตรฐาน PCA ติดดาว การกำกับคุณภาพมาตรฐานของจังหวัด
กลไกการกำกับติดตามของระดับจังหวัด + นโยบายของกระทรวงสาธารณสุข
Concepts พชอ. UCCARE เกิดเป้าหมายร่วม WIN - WIN Situation
3)แพทย์ในปฐมภูมิมีแนวทางการปฎิบัติงานอย่างไร
บทบาทในงานส่งเสริมป้องกันควรเป็นอย่างไร การทำงานร่วมกับทีม รพ.สต.เดิมเป็นอย่างไร
บทบาทในงานรักษาฟื้นฟูร่วมกับวิชาชีพต่างๆ เป็นอย่างไร มีความชัดเจนแยกกันชัดเจนหรือไม่
- ระบบการดูแลแบบ Family Care มีหรือเป็นอย่างไร
4) การแนะนำตัว 3 หมอ ให้ประชาชนรู้จักมีกลวิธีอย่างไร และอนาคตควรทำอย่างไร
ข้อเสนอแนะ กับพื้นที่
1)ทบทวนแนวทาง/กำหนดมาตรการในการดูแลสุขภาพระดับครอบครัวเพิ่มเติมให้เป็นรูปธรรม เพื่อเป็นตัวเชื่อมระดับ การดูแลสุขภาพระดับบุคคลและชุมชน
2)พัฒนาการสร้าง Health Literacy โดยใช้เครื่องมือ HLO ของมูลนิธิ สอน. เป็นแนวทางในการพัฒนา
เยี่ยมติดตามระบบสุขภาพปฐมภูมิ อ.นาทวี วันที่ 25 สิงหาคม 2565 ณ รพ.สต. ลำพต ต.คลองทราย อ.นาทวี จ.สงขลา [1 ในเครือข่าย NPCU]
บริบททั่วไป
ปชก. 2,800 คน พหุวัฒนธรรม สังคมเมืองเพิ่มขึ้น ปัญหา NCDs ผสอ. พฤติกรรมการบริโภค
ระยะห่างตัวอำเภอ 10 กิโลเมตร
บุคลากร 7 คน พยบ 2 คน
ขับเคลื่อน พชต.โดย ทำประชาคม
1.พชต กำหนดดูแลสังคมสูงวัย
ดูแลเรื่องที่อยู่ที่อาศัย ดูแลเรื่องสิทธิ พบว่า ทะเบียนขาด/บัตรประชาชนหมดอายุ
ชมรมผู้สูงอายุ ส่งเสริมอาชีพ ออกกำลังกาย มีการเยี่ยมเสริมพลังจากทีม รพ.สต. อปท ในพื้นที่
ขับเคลื่อนระบบบริการใช้ 3 หมอ ในระบบการดูแลบริการ มีรูปแบบชัดเจน ประชาชนพึ่งพอใจ
2.การพัฒนาใช้เครื่องมือ รพ.สต.ติดดาว ทำให้ จนท.มีศักยภาพ อาคารสถานที่ เครื่องมืออุปกรณ์ทันสมัย
ประเด็นพัฒนา
1.ใช้นวัตกรรมในการดูแลสุขภาพ ปชช.
2.ระบบพลังงานทดแทน
ประเด็นติดตาม Telehealth
-ได้รับอุปกรณ์ปี 2563 จากโครงการของกรมการแพทย์ + 3BB
- ใช้ 570 เคส ส่วนใหญ่ คัดกรอง DM, HT, ตรวจตา, ผิวหนัง เชื่อมกับโรงพยาบาล
ปัญหา
1.สัญญาณเชื่อมกับ JHCIS ช้า ทำให้ต้องทำงาน 2 ระบบ อยากให้ทำครั้งเดียวแล้วเสร็จ
2.สัญญาณ อินเตอร์เน็ต ไม่เสถียร
3.ปชช.ลืมบัตร ปชช.
4.รักษาได้ไม่เบ็ดเสร็จ (จ่ายยาไม่ได้ ผป.ต้องไปรับยาที่ รพ. ยาโรคผิวหนัง/เฉพาะ)
- ปชช. ประทับใจ ไม่ต้องเดินทางไกล ลดรายจ่าย
ข้อเสนอแนะจากพื้นที่
1)ควรขยายไปในพื้นที่ที่ลำบากจริงๆ เข้าถึงยาก / ทำงานได้ครั้งเดียวจบ ไม่ต้องบันทึกซ้ำซ้อน
2)เครื่องมืออุปกรณ์ที่ Mobile ไปในพื้นที่ได้
การพัฒนาคุณภาพชีวิต ภายในเขตพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลทับช้าง อ.นาทวี จ.สงขลา โดย รองนายก อบต.ทับช้าง วันที่ 25 สิงหาคม 2565
ที่มา จุดเริ่มต้นจาก DHB --> พชอ.
หลักการสำคัญ "พื้นที่เป็นฐาน ประชาชนเป็นศูนย์กลาง" ผ่านกลไกประชารัฐ
ในพื้นที่ มี รพ.สต. 3 แห่ง
มี 50-60 ภาคีเครือข่าย เช่น สภากาแฟทับช้าง กลุ่มสตรีอาสา ชมรมผู้สูงอายุ กู้ชีพทัพพระยา อปพร. ชมรมกำนันผู้ใหญ่บ้าน อสม. ศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและฟาร์มประจำตำบล อาสาสมัครพลังงานชุมชน
จาก กองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล ต่อยอดเป็น LTC การดำเนินงาน เน้นให้ครอบครัวของกลุ่มเป้าหมายดูแลกันเองได้
กองทุนตำบล ย้อนหลัง 3 ปี ไม่มีเงินเหลือค้างท่อ สามารถใช้จ่ายได้ทั้งหมด (แต่จริงๆ มีโครงการรองบประมาณอีกมาก งบประมาณไม่เพียงพอ)
มีการส่งเสริมให้เกิดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในชุมชน เช่น ส่งเสริมอาชีพ ออกกำลังกาย ประสานกับเครือข่ายทหารเรื่องหน่วยแพทย์เคลื่อนที่
การดูแลซ่อมแซม/ต่อเติมบ้านพักผู้พิการ ดำเนินการไป 40+ หลัง ได้รับงบสนับสนุนจาก สวีเดน
ศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพโดยชุมชนตำบลทับช้าง 19 ม.ค.59 ประกอบด้วย
1.บริการ แพทย์แผนไทย กายภาพบำบัด กายอุปกรณ์
2.อาสาสมัคร 70 คน ที่ต้องผ่านการอบรมพื้นฐาน
ยกระดับศูนย์ฟื้นฟู เป็นศูนย์ร่วมสุข อบต.ทับช้าง โดยอบจ.สนับสนุนงบประมาณ และมีการพัฒนาศูนย์เรียนรู้
นวตกรรมการจัดการ ImedTubchang จัดเก็บข้อมูล ผู้พิการ คนยากลำบากผ่านแอป Imed@home ซึ่งสามารถดูข้อมูลได้ลึก ภาพ พิกัด ป้องกันการเก็บข้อมูลเท็จ ประมวณผลผ่าน www.ข้อมูลชุมชน.com ทำให้เครือข่ายได้เห็นชุดข้อมูลการดูแลเดียวกัน (พัฒนาโดยมูลนิธิชุมชนสงขลา)
สรุป : รูปธรรมทั้งหมดเกิดจาก พชอ. พชต.
เป้าหมายตำบลสุขภาวะ ของพื้นที่ : ต้องการให้ครัวเรือนดูแลสุขภาพของตนเองได้ ทุกหน่วยงานภาคีเครือข่ายมีเป้าหมายเพื่อให้ประชาชนสุขภาพดี มีความรักความสามัคคีกัน ✳️
ข้อเสนอแนะ : พัฒนาตำบลสุขภาวะคงต้องเริ่มจาก วัยเด็ก วัยเรียน ให้มีความสามารถในการดูแลตนเอง ส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค / ความยั่งยืนในระยะยาว
ข้อควรระวัง : ข้อมูลผู้ป่วยเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ต้องระมัดระวัง
เยี่ยม โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ณ อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา วันที่ 26 สิงหาคม 2565
"Round เยี่ยมชม รพ.นาทวี"
ปี 2527 เป็น รพ.อำเภอ ปัจจุบัน M2 150 เตียง มี รพ.สต. 17 แห่ง เรือนจำ เป็นหน่วยบริการปฐมภูมิด้วย
ทิศทาง เน้นปฐมภูมิ และทุติยภูมิ มี Core competency เรื่อง การทำงานกับชุมชุม
การทำงานและจัดบริการ
พี่น้องดูแลกัน ดูแล รพ. อำเภอใกล้เคียงกันด้วย รพ. จะนะ เทพา สะบ้าย้อย ส่งแพทย์เฉพาะทางไปช่วยตรวจโรคเฉพาะทาง เป็นเครือข่าย
ใกล้บ้านใกล้ใจ 8 ทีม (7NPCU/1PCU) แพทย์ Fammed ทำงานอยู่ใน รพ.ด้วย มีคลินิกพิเศษรับผิดชอบ เช่น TB Palliative และรับ consult จากแพทย์เฉพาะทาง ถ้ามีผู้ป่วยซับซ้อน
- บริการ OPD 1,232 คนต่อวัน , IPD active bed 134, มี ICU, OR , ล้างไต (HD, CAPD)
แพทย์ 37 คน พยบ 130 + (ขาดพยาบาล 30 คน)
ร่วมผลิตพัฒนาบุคลากรสหสาขาวิชาชีพ CPRID, Fammed วางระบบให้ Engaged กับชุมชน มอบครอบครัว ที่มีปัญหาสุขภาพให้นักเรียนแพทย์ มอบให้ดูแลต่อเนื่อง
เยี่ยมสำนักงานสาธารณสุขอำเภอนาทวีสอบถามแลกเปลี่ยนความเห็นกรณีถ่ายโอน รพ.สต. ไป อบจ. / ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น / การเตรียมความพร้อม
ปล.อำเภอนาทวี ยังไม่มี รพ.สต. เป็นกลุ่มเป้าหมายถ่ายโอน ปี 2566 นี้
นพ.สฤษดิ์เดช เจริญไชย บันทึกเรื่องราว
Relate topics
- ประชุมเตรียมงานเวทีโชว์แชร์เชื่อม บุหรี่ไฟฟ้า ระดับภาคใต้
- สท.-สนง.เกษตรสงขลา จัดเวทีถอดบทเรียนยกระดับเครือข่ายเกษตรกรผลิตผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยี
- กขป.12 ประชุมสรรหากรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนที่มีวาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2568 - 2572
- จังหวะก้าวสำคัญ 3 เคลื่อนเพื่อพัทลุง
- “กขป.เขต 12 จัดเวทีเสนอแนะเชิงนโยบาย ชี้ปัญหาเร่งด่วนและข้อเสนอความร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยี และทุนทางพหุวัฒนธรรมลดความเปราะบางของครอบครัว”
- บพท. และ ม.อ.ปัตตานี จับมือ พอช. พร้อมบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อร่วมพัฒนาตำบลแก้จนนำร่องในพื้นที่เมืองปัตตานี
- System Map และ ข้อเสนอเชิงนโยบาย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ (เครือข่าย กขป.เขต 12)
- การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความมั่นคงทางอาหาร
- ตำบลพุมเรียง ชูผักไชยา และปลาอินทรีย์ ปั้นเมนูสุขภาพกินดี อยู่ดี ลด NCDs ที่พุมเรียง
- ต้นทุนเพื่อการพัฒนา จากทีมสนับสนุนชุมชนน่าอยู่เล็ก ๆ สู่โมเดลสุขภาวะชุมชนภาคใต้