ปลุกสันติภาพและสุขภาวะดีที่ชายแดนใต้
ปลุกสันติภาพและสุขภาวะดีที่ชายแดนใต้
๑)สถานการณ์ความรุนแรงในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ นับตั้งแต่ปี ๒๕๔๗ จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา ๑๙ ปี เกิดความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมา ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้รวบรวมข้อมูลว่ามีเหตุการณ์จำนวน ๒๑,๘๑๕ ครั้ง ผู้เสียชีวิต ๗,๑๓๑ คน ได้รับบาดเจ็บ ๑๓,๘๑๑ คน ทำให้หน่วยงานทุกภาคส่วนเข้ามามีบทบาทในการร่วมสร้างกระบวนการสันติภาพ
๒)เวทีสมัชชาสันติภาพชายแดนใต้ปาตานี จัดเป็นครั้งที่ ๔ ณ คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาลัยเขตปัตตานี ว่าด้วย ตลาดนัดสันติภาพ พื้นที่กลางใหม่ Pattani Peace Assembly ๒๐๒๓ : Peace Market Place เป็นการรวมตัวกันของ ๑๐ องค์กรภาคประชาสังคมที่มีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพ เช่น สภาประชาสังคมชายแดนใต้ , สมัชชาประชาสังคมเพื่อสันติภาพ CAP , วาระผู้หญิงชายแดนใต้ (PAOW) , เครือข่ายปกป้องเด็กชายแดนใต้ (CPN) , เครือข่ายชาวพุทธ , เครือข่าย PEACE SURVEY เป็นต้น
๓)โดยมี นางพาตีเมาะ สะดียามู ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี เป็นประธานในพิธีเปิด มีผู้อำนวยความสะดวกจากมาเลเซีย พล.อ.ตันศรี ซุลกิฟลี โซนัล อะบิดิน มาร่วมปาฐก โดยมีภาคีเครือข่ายและภาคประชาชนเข้าร่วมกว่า ๕๐๐ คน
๔)เมื่อปี ๒๕๕๑ มีเวทีสมัชชาสุขภาพแห่งชาติในครั้งที่ ๑ เครือข่ายในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ร่วมกันพัฒนาและขับเคลื่อนมติ ที่ ๑.๓ ว่าด้วยนโยบายแห่งชาติเพื่อการพัฒนาระบบสุขภาพในพื้นที่พหุวัฒนธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้มีการรายงานผลการขับเคลื่อนตามมติดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งใน ๖ ประเด็นย่อย ได้แก่
๑.การจัดรูปแบบการปกครองส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นแบบใหม่ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
๒.การปฏิรูประบบความยุติธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้
๓.นโยบายด้านการศึกษา
๔.ด้านเศรษฐกิจ
๕.นโยบายด้านการปฏิรูปสังคม ประเพณีและวัฒนธรรม
๖.นโยบายด้านสุขภาพการแพทย์สาธารณสุขสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย
๕)มีรูปธรรมการสนับสนุนการขับเคลื่อนโยบายสาธารณะเพื่อสร้างสุขภาวะที่ดีนั้น สช. เช่นได้ร่วมกับสมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุข พัฒนาระบบการแพทย์ที่สอดคล้องกับวิถีมุสลิม ได้สนับสนุนกระบวนการสมัชชาสุขภาพจังหวัดไปยังสามจังหวัดชายแดนใต้ ได้ร่วมกันเคลื่อนทั้งในระดับชุมชนไปจนถึงระดับนโยบายนโยบาย ทั้งเรื่องพหุวัฒนธรรมชายแดนใต้ สิทธิมนุษยชน การสื่อสารที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ การพัฒนาศักยภาพเยาวชน พื้นที่สาธารณะปลอดภัย ความมั่นคงทางอาหาร และห้องเรียนสันติภาพ เป็นต้น
๖)การจัดสมัชชาสันติภาพชายแดนใต้ปาตานีในปีนี้ มีมิติในการเสนอให้เปิดพื้นที่กลางใหม่ (New Common Space) เพื่อให้เป็นนวัตกรรมกระบวนการพูดคุยสันติภาพจากประชาชนสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย ซึ่งเป็นภาพฝันของคนในพื้นที่ ที่อยากเห็นพื้นที่สาธารณะปลอดภัยการสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการพูดคุยการเปิดให้มีส่วนร่วมของคนทุกภาคส่วนในการแก้ไขความขัดแย้งได้อย่างเสรีและการเปิดพื้นที่กลางใหม่จากประชาชนไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายซึ่งถือเป็นนวัตกรรมใหม่ในการแก้ปัญหาชายแดนภาคใต้
๗)บทของ สช. คงทำหน้าที่เชื่อมโยงกระบวนการสันติภาพที่ครอบคลุมทั้งพื้นที่นโยบาย พื้นที่ทางสังคม พื้นที่ทางวิชชาการและพื้นที่ปฏิบัติการ ให้เสริมแรงกันไปสู่สันติสุขภาวะที่แท้จริงครับ
บันฑิต มั่นคง สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ บันทึกเรื่องราว
ชมคลิป
Relate topics
- Health Protect สร้างสรรค์ไอเดียของคนรุ่นใหม่ลดปัจจัยเสี่ยง ภายใต้โครงการ ป้องกันเด็กไทยไม่ตกเป็นเหยื่อบุหรี่ไฟฟ้า (PROTECT NEW GEN) พื้นที่ภาคใต้
- การประชุมวิชาการระดับชาติการแพทย์แผนไทยและการสาธารณสุขวิจัย ครั้งที่ 4 น้อมรำลึก “100 ปี กรมหลวงชุมพรฯกับการแพทย์แผนไทยสู่นวัตกรรมสังคม”
- ออกปากดำนาสืบสานภูมิปัญญาวิถีเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนดอนศาลานำวิทยา พัทลุง
- "แผนคุณภาพชีวิตรายบุคคล"
- "งานแม่และเด็ก : ตั้งครรภ์ไม่พร้อม 3 จว.ชายแดนใต้จัดตั้ง Consortiumประสานการขับเคลื่อน"
- "ความร่วมมือในการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิรองรับการถ่ายโอน รพ.สต.จังหวัดสงขลา"
- กลไกสภาองค์กรชุมชนกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเชิงพื้นที่ กรณีเมืองคลองแห สงขลา
- คณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ (กสพ.) สงขลา
- "ความร่วมมือช่วงเปลี่ยนผ่านการถ่ายโอน รพ.สต.สู่อบจ.จังหวัดสงขลา"
- “หลักสูตรลดปัจจัยเสี่ยงและบุหรี่ในโรงเรียนตาดีกา(โรงเรียนสอนศาสนา)” สุไหงโก-ลก นราธิวาส