"เปิดเวทีเรียนรู้ social lab พื้นที่ปฏิบัติการทางสังคมเมืองบ่อยาง"

  • photo  , 1477x1108 pixel , 109,847 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 102,443 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 183,164 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 99,953 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 128,585 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 107,303 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 122,667 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 134,624 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 135,102 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 116,803 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 138,107 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 173,554 bytes.
  • photo  , 960x1706 pixel , 133,019 bytes.
  • photo  , 1076x1522 pixel , 190,023 bytes.

"เปิดเวทีเรียนรู้ social lab พื้นที่ปฏิบัติการทางสังคมเมืองบ่อยาง"

วันที่  28 เมษายน 2566 สนง.คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.)จับมือกับสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(พอช.) โดยการประสานงานของมูลนิธิชุมชนสงขลา ชวนภาคีเครือข่ายที่ทำงานในพื้นที่เมืองบ่อยาง ทน.สงขลาและในจังหวัดสงขลา มาร่วมแลกเปลี่ยน โดยมีนายกวันชัย ปริญญาศิริ ให้การต้อนรับและร่วมแลกเปลี่ยนความเห็น สร้างความร่วมมือในการทำงาน ณ ห้องประชุมชั้น 2 ทน.สงขลา

นายบัณฑิต มั่นคง ผู้แทนสนง.คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ กล่าวถึงวัตถุประสงค์ที่ต้องการประสานการทำงานร่วมกัน ร่วมเรียนรู้เป้าหมายของแต่ละองค์กรเพื่อหาเป้าหมายร่วม การพัฒนากลไกหรือทีมในการทำงาน การใช้ข้อมูลเพื่อการเชื่อมโยงระหว่างกัน

นางทิพวรรณ หัวหิน ผู้ช่วยผู้อำนวยการภาคใต้ กล่าวถึงสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนว่ามีเป้าหมายสร้างชุมชนเข้มแข็ง โดยเฉพาะพื้นที่ตำบล ที่จะมีงานทั้งที่อยู่อาศัย งานสวัสดิการ งานที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพชีวิต มีสภาองค์กรชุมชน มีการสนับสนุนจังหวัดจัดการตนเอง การทำฐานข้อมูลครัวเรือน องค์กรชุมชนในระดับตำบล และดูแลผู้ด้อยโอกาสและมีรายได้น้อย

นายกวันชัย กล่าวว่า การบริหารงานเทศบาลนครสงขลา มีรายได้จากภาษีปีละ 83 ล้านบาท แต่รายจ่ายพื้นฐาน 90 กว่าล้านบาทต่อปี ทำให้จำเป็นที่จะต้องมีภาคีความร่วมมือมาเสริมหนุน ทน.สงขลามี 55 ชุมชน อยู่ในพื้นที่ไม่ถึงสิบตารางกิโลเมตร ในพื้นที่ยังมีหน่วยงานราชการจำนวนมาก ประชากรแฝงอีกมาก ประกอบกับการวางโครงสร้างพื้นฐานระบบคู คลอง ไม่ได้มาตรฐาน การบังคับใช้กฏหมายพรบ.ควบคุมอาคารกับชุมชนแออัดไม่สามารถดำเนินการได้ ต้องใช้หลักรัฐศาสตร์มากกว่านิติศาสตร์ ทน.สงขลากำลังพัฒนาในด้านท่องเที่ยว การใช้พื้นที่สาธารณะ การจัดการขยะจากการท่องเที่ยวเป็นอีกปัญหาสำคัญ

ที่ประชุมได้ร่วมแลกเปลี่ยน เรียนรู้การทำงานในปี 2566 ของเครือข่าย ได้แก่ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน ที่มีโครงการด้านที่อยู่อาศัย(โครงการบ้านมั่นคง 658 ครัวเรือน โครงการบ้านพอเพียง 84 ครัวเรือน) การแก้ปัญหาคลองสำโรง(3 เขตการปกครอง 15 ชุมชน กรรมการ 3 ชุด) การแก้ปัญหาชุมชนริมทางรถไฟ

มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา สร้างพื้นที่การเรียนรู้ให้กับนักศึกษาลงปฎิบัติการร่วมกับ 16 ชุมชน

สมาคมอาสาสร้างสุข ช่วยเหลือเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษา การทำโครงการผ้าสร้างสุข เป็นต้น

มูลนิธิชุมชนสงขลาได้นำเสนอการทำงานร่วมกับชุมชนและเครือข่ายพัฒนาเมือง โดยเฉพาะในการวางพื้นฐานการพัฒนาในชุมชน การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การสร้างรายได้ อาชีพ และสุขภาพเชิงรุก และนำเสนอการทำงานระดับจังหวัดที่มีการทำขับเคลื่อนวิสัยทัศน์สงขลา 2570 การพัฒนาระบบข้อมูลกลาง การทำแผนปฎิบัติการเพื่อให้เกิดการประสานความร่วมมือและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะระดับพื้นที่

กองทุน wwf กล่าวถึงการจัดการขยะที่กำลังดำเนินงาน ภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคมก็ได้เสนอแนะการแก้ปัญหาการจัดการขยะรองรับการท่องเที่ยว การพัฒนาเก้าเส้งเพื่อการท่องเที่ยว

โดบสรุปเมืองบ่อยาง สงขลา กำลังชักชวนชุมชนลุกขึ้นมามีส่วนร่วมการพัฒนามากกว่ารอรับจากหน่วยงาน โดยการทำข้อมูล การทำแผน การพัฒนาองค์กร/การสร้างจิตสำนึกของสมาชิกในการอยู่ร่วมกันในชุมชน และการเชื่อมโยงกับเครือข่าย ในเรื่องการจัดการพื้นที่สาธารณะ ที่อยู่อาศัย/ที่ดิน สิ่งแวดล้อม ได้แก่ ขยะ(เน้นการสร้างจิตสำนึกและความสัมพันธ์มากกว่าสร้างถังขยะ) การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและมลภาวะน้ำเสีย(ชุมชนริมคลองสำโรง อาศัยเรื่องสุขภาพ รายได้นำ) ภัยสุขภาพสังคมสูงวัย(การทำแผนสุขภาพรายคน/ชุมชน และการพัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน) เด็กและเยาวชน การศึกษา โดยสร้างพื้นที่กลางของการทำงานร่วมกัน ได้แก่ ระบบข้อมูลกลาง ความรู้กลาง(เมืองและบริบทเมือง) การสร้างโอกาสให้กับทุกคน การทำสวัสดิการพื้นฐาน(ประสานกับสมาคมสวัสดิการฯสร้างพื้นที่ต้นแบบ ตำบลสวัสดิการถ้วนหน้า/การทำ songkhla wallet) และการพัฒนาองค์กรนิติบุคคลระดับเมืองเพื่อร่วมการพัฒนา

จังหวะก้าวต่อไป

1.พัฒนากลไกกรรมการเมือง เพื่อให้เครือข่ายภาคส่วนต่างๆมีพื้นที่ได้ปรึกษาหารือ ประสานการทำงานร่วมกัน โดยทน.สงขลาเป็นแม่ข่ายหลัก มีกองสวัสดิ์เป็นทีม

2.การพัฒนาศักยภาพและเชื่อมประสานข้อมูล ผ่านขบวนนักศึกษาโดยเรียนรู้เครื่องมือการเก็บข้อมูลจากพอช. การใช้ iMed@home จากมูลนิธิชุมชนสงขลา และสรุปบทเรียนการลงชุมชน

3.ประสานจัดเวทีการแก้ปัญหาคลองสำโรงร่วมกับอำเภอและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

Relate topics

แสดงความคิดเห็น

« 7963
หากท่านไม่ได้เป็นสมาชิก ท่านจำเป็นต้องป้อนตัวอักษรของ Anti-spam word ในช่องข้างบนให้ถูกต้อง
The content of this field is kept private and will not be shown publicly. This mail use for contact via email when someone want to contact you.
Bold Italic Underline Left Center Right Ordered List Bulleted List Horizontal Rule Page break Hyperlink Text Color :) Quote
คำแนะนำ เว็บไซท์นี้สามารถเขียนข้อความในรูปแบบ มาร์คดาวน์ - Markdown Syntax:
  • วิธีการขึ้นบรรทัดใหม่โดยไม่เว้นช่องว่างระหว่างบรรทัด ให้เคาะเว้นวรรค (Space bar) ที่ท้ายบรรทัดจำนวนหนึ่งครั้ง
  • วิธีการขึ้นย่อหน้าใหม่ซึ่งจะมีการเว้นช่องว่างห่างจากบรรทัดด้านบนเล็กน้อย ให้เคาะ Enter จำนวน 2 ครั้ง