“วาระเกษตรอินทรีย์สงขลา สงขลามหานครเกษตรอินทรีย์ และนวัตกรรมชุมชนอัจฉริยะเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหาร อาหารปลอดภัยภาคใต้“

  • photo  , 1477x1108 pixel , 198,788 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 132,571 bytes.
  • photo  , 1000x562 pixel , 115,699 bytes.
  • photo  , 1366x768 pixel , 184,078 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 171,469 bytes.
  • photo  , 1000x1333 pixel , 215,899 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 164,862 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 147,585 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 183,619 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 154,337 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 145,019 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 120,219 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 127,859 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 120,802 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 146,963 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 175,374 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 169,618 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 130,874 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 164,401 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 130,109 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 154,566 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 154,566 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 130,741 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 131,467 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 147,585 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 183,619 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 154,337 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 145,019 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 120,219 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 127,859 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 120,802 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 146,963 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 175,374 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 169,618 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 130,874 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 164,401 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 130,109 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 154,566 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 154,566 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 130,741 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 131,467 bytes.
  • photo  , 1705x960 pixel , 173,198 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 112,819 bytes.
  • photo  , 1705x960 pixel , 161,020 bytes.
  • photo  , 1705x960 pixel , 165,011 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 112,440 bytes.
  • photo  , 1705x960 pixel , 151,854 bytes.
  • photo  , 1705x960 pixel , 196,773 bytes.
  • photo  , 1705x960 pixel , 145,415 bytes.
  • photo  , 1000x483 pixel , 102,137 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 105,457 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 187,943 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 187,943 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 130,354 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 171,986 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 119,677 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 197,338 bytes.

“วาระเกษตรอินทรีย์สงขลา สงขลามหานครเกษตรอินทรีย์ นวัตกรรมชุมชนอัจฉริยะเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหาร อาหารปลอดภัยภาคใต้“
และการประชุมรับรองแปลงเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมภายใต้มาตรฐานแบบมีส่วนร่วม SDGsPGS สงขลา และ 6 จังหวัด

โดยสรุป การจัดงานในครั้งนี้ ได้รับการสนับสนุนอย่างดี จากหน่วยงานภาคี เครือข่ายในหาวงโซ่ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เพื่อเป้าหมายในการพัฒนาที่ยั่งยืน SDGs ด้วยภาคเกษตรกรรม ที่จะยกระดับเกษตรกรและพัฒนาแหล่งอาหารปลอดภัย และความมั่นคงทางด้านอาหาร รวมถึงการนำนวัตกรรมปฏิรูปเกษตรอินทรีย์ไทย โดยใช้มาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS แบบครบห่วงโซ่ในจังหวัดสงขลาและจังหวัดใกล้เคียง (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส พัทลุง สตูล)

เพื่อร่วมขับเคลื่อนกับเครือข่ายทุกจังหวัดในภาคใต้ โดยมีฟาร์มตัวอย่าง 35 ฟาร์ม เป็นแกนกลาง สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนสงขลาเป็นหน่วยเชื่อมเครือข่ายสมาพันธ์ในภาคใต้ และเครือข่ายภาคีเกษตรอินทรีย์ ที่ใช้ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไทยบ้านภูลิตา เป็นศูนย์รวมชุดความรู้ถ่ายองค์ความรู้เชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนา คน พื้นที่ ผลผลิต ในเวลาเดียวกัน โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งรวมพลังจิตอาสา โดยมีเป้าหมายให้เกิดแหล่งอาหารปลอดภัย ความมั่นคงทางด้านอาหาร ต่อยอดให้เกิดสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอพียง ด้วยการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) สร้างพลังเครือข่ายสร้างสรรค์พัฒนา ขับเคลื่อนสู่ นิคมเกษตรกรรม เพื่อพัฒนาภาคใต้ให้เป็น Organic Hub of Asian ภายในปี 2570 โดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง ร่วมแลกเปลี่ยนสร้างกระบวนการเรียนรู้และพัฒนาเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนภาคใต้

กิจกรรมในวันนี้มีวัตถุประสงค์หลักคือ “ขับเคลื่อนนวัตกรรมชุมชนอัจฉริยะเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหาร และแหล่งอาหารปลอดภัยภาคใต้“ และจัดประชุมรับรองแปลงเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมภายใต้มาตรฐาน SDG&PGS ซึ่งประกอบด้วย

พิธีมอบรมอบเกียรติบัตร

1.เกียรติบัตรและเหรียญยกย่องเชิดชูเกียรติในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ต่อการแก่ปัญหาราคาผลิตผล เกษตรกรรม จากคณะกรรมการแก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรม สภาผู้แทนราษฎร แก่ อาจารย์รดา มีบุญ ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไทยบ้านภูลิตา อำเภอรัตภูมิ จังหวัดสงขลา

2.เกียรติบัตรยกย่องสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนสงขลา อำเภอหาดใหญ่ (ดีเด่นด้านฐานข้อมูลการจัดการฟาร์มด้วยกลไกดิจิตัล OAN-Organic Agriculture Network)

3.เกียรติบัตรยกย่องสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนสงขลา สทิงพระ (ดีเด่นด้าน Change Agent ผู้นำนำการเปลี่ยนแปลงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยภาคเกษตรกรรม)

4.เกียรติบัตรยกย่องสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนสงขลา สะบ้าย้อย (ดีเด่นด้าน Agriculture Networking Leadership ผู้นำ และเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนเข็มแข็ง)

5.เกียรติบัตรยกย่องสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนนราธิวาส ตำบลสุคิริน อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส (Sukirin Model เมืองต้นแบบการขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์....สุคิรินโมเดล)

6.เกียรติบัตรยกย่องสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนสงขลา อำเภอหาดใหญ่ (ดีเด่นด้านส่งเสริมตลาดเขียวชุมชน เพื่อการเข้าถึงแหล่งอาหารปลอดภัยของชุมชน)

7.เกียรติบัตรยกย่องฟาร์มตัวอย่างบ้านควนหรัน (ดีเด่นด้านส่งเสริมตลาดเขียวชุมชน เพื่อการเข้าถึงแหล่งอาหารปลอดภัยของชุมชน)

8.เกียรติบัตรยกย่องสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนสงขลา อำเภอสะบ้าย้อย (ดีเด่นด้านส่งเสริมตลาดเขียวชุมชน เพื่อการเข้าถึงแหล่งอาหารปลอดภัยของชุมชน)

9.เกียรติบัตรยกย่องฟาร์มตัวอย่างปียามุมัง อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี (ดีเด่นด้านการจัดการฟาร์ม ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS)

10.เกียรติบัตรยกย่องฟาร์มตัวอย่างวังพญา ท่าธง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา (ดีเด่นด้านการจัดการฟาร์ม ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS)

11.เกียรติบัตรยกย่องโรงเรียนบ้านไผ่มัน ตำบลบ่อทอง อำเภอหนองจิก จังหวัดสงขลา (ดีเด่นด้านโรงเรียนเกษตรอินทรีย์ ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS)

12.เกียรติบัตรยกย่องสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนยะลา (ดีเด่นด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาตลาด 4 ร. ด้วยกลไก SDGsPGS)

พิธีกล่าวปฏิญญา  ปฏิญญาเสนาณรงค์ ว่าด้วยความร่วมมือขับเคลื่อนวาระเกษตรอินทรีย์สงขลา และสงขลามหานครเกษตรอินทรีย์ (โดยถือว่า วันที่ 29 เมษายน เป็นวันเสนาณรงค์ วันร่วมปฏิญญาเสนาณรงค์)

ร่วมร่างการลงนามความร่วมมือคู่ค้า สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนสงขลา อำเภอสทิงพระ วิสาหกิจกลุ่มกสิกรรมไทยบ้านภูลิตา และ บริษัทจำกัดบ้านกล้วย ปัตตานี

แสดงสินค้า บูธแสดงสินค้าเกษตรจากเกษตรกรที่เข้าร่วมการรับรองจาก อำเภอสะบ้าย้อย รัตภูมิ หาดใหญ่ บางกล่ำ

ตรวจสารปนเปื้อน ในเลือดโดย สาธารณสุขอำเภอหาดใหญ่

การประชุมรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS

วาระพิจารณารับรองเป็นระยะปรับเปลี่ยน จำนวน 26 แปลง เนื้อที่ 153.25 ไร่ และวาระพิจารณาเป็นอินทรีย์ จำนวน 40 แปลง เนื้อที่ 316.6 ไร่ รวมทั้งหมด 66 แปลง เนื้อที่ 469.85  ไร่ โดยมีรายละเอียดดังนี้

จังหวัดสงขลา

-ระยะปรับเปลี่ยน จำนวน 15 แปลง  พื้นที่ 119.25 ไร่

-อินทรีย์    จำนวน 33 แปลง  พื้นที่ 238.60 ไร่

จังหวัดพัทลุง

-ระยะปรับเปลี่ยน  จำนวน 0 แปลง  พื้นที่ 0 ไร่ -อินทรีย์    จำนวน 1 แปลง    พื้นที่ 11 ไร่

จังหวัดนราธิวาส

-ระยะประบเปลี่ยน จำนวน  5.00 แปลง พื้นที่ 20.00 ไร่
-อินทรีย์    จำนวน 0 แปลง      พื้นที่ 0 ไร่

จังหวัดปัตตานี

-ระยะปรับเปลี่ยน  จำนวน 3.00 แปลง พื้นที่ 7.00 ไร่

-อินทรีย์    จำนวน 3.00 แปลง พื้นที่ 33.5 ไร่

จังหวัดยะลา

-ระยะปรับเปลี่ยน จำนวน 3.00 แปลง พื้นที่ 7.00 ไร่

-อินทรีย์    จำนวน 3.00 แปลง พื้นที่ 33.5 ไร่
ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ ประกอบด้วยเกษตรกรสมาชิก SDGsPGS และเครือข่ายภาคี จำนวน 160 คน ได้แก่

1)ภาคประชาชน เกษตรกร ต้นน้ำอินทรีย์ จากกลุ่มสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนสงขลา 16 อำเภอ ในจังหวัดสงขลา ตัวแทนสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนนราธิวาส ตัวแทนสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนปัตตานี ตัวแทนสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนยะลา ตัวแทนสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนพัทลุง ตัวแทนฟาร์มตัวอย่าง 35 ฟาร์ม (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สงขลา) ตัวแทนสภาเกษตรกรสงขลา เขตอำเภอต่างๆ กลุ่มอาชีพวิสาหกิจชุมชนต่างๆ กลุ่มสตรีปลายด้ามขวานทองนราธิวาส และมูลนิธิทักษิณคดีศึกษา รวมจำนวน 100 คน

2)ภาคราชการ ที่เป็นภาคีเกี่ยวข้องกับเกษตรและห่วงโซ่คุณค่า ได้แก่ ตัวแทนศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทาน ภาค 4 ตัวแทนเกษตรจังหวัดสงขลา เกษตรจังหวัดปัตตานี เกษตรจังหวัดนราธิวาส เกษตรจังหวัดยะลา เกษตรและสหกรณ์สงขลา เกษตรและสหกรณ์ปัตตานี เกษตรและสหกรณ์ยะลา เกษตรและสหกรณ์นราธิวาส ตัวแทนพัฒนาที่ดินสงขลา พัฒนาที่ดินปัตตานี พัฒนาที่ดินยะลา ตัวแทน อบจ สงขลา เทศบาลเมืองปัตตานี เทศบาลเมืองยะลา ทหารพันธุ์ดี ค่ายลพบุรีราเมศวร์ สสอ. หาดใหญ่ รวมจำนวน 40 คน

3)ภาควิชาการ สถาบันการศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา มหาวิทยาลัยราชมงคลศรีวิชัย อุทยานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยทักษิณ พัทลุง อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หาดใหญ่  รวมจำนวน 10 คน

4)ภาคเอกชน ได้แก่ สมาพันธ์ SME ภาคใต้ บริษัทยะลาออแกนนิกวิสาหกิจเพื่อสังคม บริษัทสงขลาออแกนนิกวิสาหกิจเพื่อสังคม บจก บ้านกล้วย ปัตตานี รวมจำนวน 10 คน

Keywords ของงานครั้งนี้

1)ชุมชนอัจฉริยะจากพื้นฐานเกษตรอินทรีย์ ความเป็นชุมชนอัจฉริยะจากพื้นฐานเกษตรอินทรีย์ ถือเป็นพื้นฐานของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ที่จะยกระดับการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก การพัฒนาเครือสังคมที่เข้มแข็ง และการจัดการสิ่งแวดล้อมชุมชนจากภาคเกษตรกรรมในพื้นที่ของเกษตรกรเพิ่มพื้นที่สีเขียวจากการผลิตอาหารที่จัดการ ดิน น้ำ ป่า สิ่งแวดล้อม พลังงานทดแทน และการเข้าสู่การทำเกษตรกรรมยั่งยืน

2)นวัตกรรมสังคม จากการพัฒนาเครือข่ายเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม SDGsPGS เป็นแนวทางที่จะพัฒนารูปแบบ หรือโมเดลเฉพาะพื้นที่ จากการใช้พื้นที่เป็นตัวตั้ง ที่เน้นภูมิสังคม การจัดการพึ่งพาตนเองในระดับอำเภอ ตำบล ชุมชน สู่ครัวเรือน ในรูปแบบ 1 ครัวเรือน 1 แปลงเกษตรอินทรีย์

3)กลไกแบบครบห่วงโซ่คุณค่า จะเป็นเครื่อง และนวัตกรรมปฏิรูปเกษตรอินทรีย์ไทยสู่สากล ที่เน้นระบบชุมชนรับรอง ในหลักการที่ เน้นระบบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาที่ยั่งยืน แบบครบหาวงโซ่ภาคี ในการรับรองการผลิตเกษตรอินทรีย์ ระบบ SDGsPGS (Sustainable Development Goals Participatory Guarantee System) ที่เกิดจากการจับเคลื่อนในรูปแบบการยกระดับสู่สากลจากกระบวนการ จัดตั้งสมาพันธ์เกษตรอินทรีย์นานาชาติ เน้นให้เกษตรรายย่อยมีช่องทางทางการตลาด จึงได้พัฒนาระบบ PGS ใช้กันในโลกกว่า 70 ประเทศเพื่อทำให้เกษตรอินทรีย์ในชนบทมีช่องทางสู่ตลาดมากขึ้น ใช้หลักการ คนกับคน คนกับธรรมชาติ อยู่ร่วมกันได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เกษตรกรรักษ์ดูแลทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมชุมชน ผู้ผลิตผู้บริโภคมีอาหารปลอดภัยจากเกษตรอินทรีย์ ต่อยอดสู่สุขภาวะชุมชน

4)วาระเกษตรอินทรีย์สงขลา และสงขลามหานครเกษตรอินทรีย์ การขับเคลื่อนเชิงสัญญาลักษณ์ จากบทบาทในห่วงโซ่ ที่ใช้แนวทางพัฒนาห่วงโซ่ระบบอาหารสงขลา เชื่อมโยงความมั่นคงทางอาหาร ผ่านผู้นำ นำการเปลี่ยนแปลง สร้าง Impact จากโครงสร้าง 25-25-25 (จังหวัด 25 ผู้นำ อำเภอ 25 ผู้นำ ตำบล 25 ผู้นำ หมู่บ้าน 25 ผู้นำ ลงสู่ระดับฐานรากเต็มพื้นที่ จาก 1 ครัวเรือน 1 แปลงเกษตรอินทรีย์ แบบดาวกระจาย ป่าล้อมเมือง จาก 16 อำเภอ เต็มพื้นที่ (มีประชากร 1,428,609 คน มีครัวเรือนเกษตรกร 140,362 ระดับจังหวัด 25 คน สงขลามี 16 อำเภอ = 400 คน สงขลามี 127 ตำบล = 3,175 คน รวมทุกระดับ = 3,600 คน สงขลา มี 987 หมู่บ้าน 1 ครัวเรือน 1 แปลงอินทรีย์ หมู่บ้านละ 10 ครัวเรือน = 9,870 คน) ซึ่งจะเกิดแหล่งอาหารชุมชน และความมั่นคงทางอาหารเต็มพื้นที่ และเชื่อมโยงจังหวัดภาคใต้เพื่อพัฒนาเป็น นิคมเกษตรกรรม ที่จะยกระดับสงขลาเป็นศูนย์กลางเกษตรอินทรีย์ภาคใต้ และอาเชี่ยน

เรียนรู้ไปด้วยกันกับเรา ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไทยบ้านภูลิตา สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนสงขลา (สมาพันธ์ 16 อำเภอ) ศูนย์อำนวยจิตอาสาพระราชทานภาค 4 องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ฟาร์มตัวอย่าง 35 ฟาร์ม เกษตรจังหวัดสงขลา โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และเครือข่ายภาคีภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคเอกชน ภาคประชาชนในจังหวัดสงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส พัทลุง สตูล และนครศรีธรรมราช


สนธิกาญจน์ วิโสจสงคราม  บันทึกเรื่องราว

Relate topics