สสส. หนุนพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิสู่องค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ
มูลนิธิพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา นวมินทราชินี (สอน.) ร่วมกับ สำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ (สำนัก 7) สสส. จัดประชุมวิชาการระดับประเทศ แลกเปลี่ยนเรียนรู้การเป็นองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพปฐมภูมิ HLO “The 1st Thailand Primary Care Health Literacy Conference 2023 10 Components 13 steps To Health Literate Organization (HLO)”
ในโอกาสนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร ประธานกรรมการมูลนิธิพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา นวมินทราชินี เป็นประธานเปิดงาน พร้อมด้วย นพ.โสภณ เมฆธน ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงสาธารณสุข และที่ปรึกษามูลนิธิฯ นพ.สุระ วิเศษศักดิ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้อำนวยการ สำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ (สำนัก 7) สสส. ร่วมเปิดงาน พร้อมเยี่ยมชมนิทรรศการสถานีอนามัยต้นแบบองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ ที่สามารถขยายผลยกระดับเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้าน HLO
นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ ผู้อำนวยการ สำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ (สำนัก 7) สสส. ได้ขึ้นกล่าวในการเสวนาหัวข้อ “ทิศทางการนำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การพัฒนาคุณภาพระบบสุขภาพปฐมภูมิ สู่องค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ 10 องค์ประกอบ 13 ขั้นตอน เพื่อประชาชนสุขภาพอย่างยั่งยืน” ซึ่ง สสส. สนับสนุนและผลักดันให้สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ และสถานีอนามัยที่ได้รับพระราชทานนาม พัฒนาและขับเคลื่อนสู่การเป็นองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ (Health literate organization : HLO) โดยมุ่งเน้นการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพแก่ประชาชนและชุมชนในพื้นที่รับผิดชอบ ซึ่งปัจจุบันมีผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรมคือ การพัฒนาสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ จำนวน 16 แห่ง ให้เป็นแหล่งเรียนรู้องค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ
ส่วนการควบคุมและป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) นั้น นพ.พงศ์เทพ กล่าวว่า สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ และสถานีอนามัยที่ได้รับพระราชทานนาม ต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการ ดังนี้
1.ผู้ให้บริการควรปรับความคิด โดยมีข้อมูลเป็นฐานในการทำงาน
2.ผู้มารับบริการสามารถสร้างองค์ความรู้ให้กับตนเอง
3.รูปแบบเครือข่ายจะทำหน้าที่เป็นทีมสุขภาพเชิงรุก ช่วยให้ประชาชนเกิดความรู้ และเน้นการป้องกันปัจจัยเสี่ยงโรค NCDs ให้กลุ่มเสี่ยงมีสุขภาพที่ดีขึ้น ส่งเสริมชุมชนรอบรู้ด้านสุขภาพ
ทั้งนี้จากการถอดบทเรียน พบว่า ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการพัฒนาสู่องค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ เกิดจากการมีส่วนร่วมของบุคลากรในองค์กร รวมถึงข้อมูลและสารสนเทศมีส่วนสำคัญต่อการวางกลยุทธ์และกำหนดทิศทาง และแนวคิดเชิงระบบจะช่วยให้เกิดการพัฒนายกระดับอย่างต่อเนื่อง เพื่อนำไปสู่การเป็นองค์กรรอบรู้ด้านสุขภาพ
ขอบคุณข้อมุลจากเพจ สำนักสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพ - สำนัก 7 สสส.
Relate topics
- "จังหวะก้าวโรงเรียนรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลคลองแงะ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา"
- "อบรมการใช้ iMed@home เทศบาลตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล"
- "ประชุม กขป.เขต 12 ครั้งที่ 2/2566"
- "กขป.เขต 12 on air ครั้งที่ 1: รองรับสังคมสูงวัย"
- ความร่วมมือในการพัฒนาระบบข้อมูลกลางประชากรในพื้นที่จังหวัดสตูล
- เครือข่ายสื่อสุขภาวะเพื่อประชาชน เขต 12
- "ประชุมทีมประธานและเลขาฯ กขป.เขต 12"
- พิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ MOU จังหวัดชายแดนใต้ไร้ครรภ์วัยรุ่นภายในปี พ.ศ.2570
- กลุ่มรักจังสตูลและภาคีพัฒนา จัดเสวนาสมัชชาคนสตูล ครั้งที่ 10 “สุขสตูล 10 ประการบนแผ่นดินอุทยานธรณีโลก”
- “วาระเกษตรอินทรีย์สงขลา สงขลามหานครเกษตรอินทรีย์ และนวัตกรรมชุมชนอัจฉริยะเพื่อความมั่นคงทางด้านอาหาร อาหารปลอดภัยภาคใต้“