"ประชุม กขป.เขต 12 ครั้งที่ 2/2566"
"ประชุม กขป.เขต 12 ครั้งที่ 2/2566"
วันที่ 23 พฤษภาคม 2566 ประชุมคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน(กขป.)เขต 12 โดยมีนพ.สุวัฒน์ วิริยพงษ์สุกิจ เป็นประธานการประชุม เป็นการจัดประชุม ณ ห้องประชุมอว.ส่วนหน้า ม.ราชภัฎสงขลาวิทยาเขตสตูล อ.ละงู จ.สตูล มีผู้เข้าร่วม 26 คน และผ่านระบบประชุมทางไกล 40 คน โดยมีผศ.ดร.อนุมัติ เดชนะ รองอธิการบดีฯ ร่วมต้อนรับ
วาระสำคัญ ประกอบด้วย การรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงาน ที่มีการ MOU ความร่วมมือในด้านแม่และเด็ก สุขภาวะกลุ่มเปราะบางทางสังคม การขับเคลื่อนสวนยางยั่งยืน และเกษตรอัตลักษณ์ บุหรี่และปัจจัยเสี่ยง จำนวนแผนงานโครงการปี 2566 ของภาคีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
วาระหลักประกอบด้วยความร่วมมือกับสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยผ่านโครงการประชาสังคมร่วมแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงเมือง(success)ประเทศไทยที่ดำเนินการในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง 3 จังหวัดและภาคอีสาน 3 จังหวัด โดยการสนับสนุนจากสหภาพยุโรป เสริมหนุนภาคประชาสังคมในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กระทบกับเมืองและกลุ่มประชากรชายขอบ ซึ่งเป็นเรื่องใหม่ในสังคมไทย
โดยมี ดร.ผกามาศ ถิ่นพังงา ชี้ประเด็นสำคัญ
1.ลดช่องว่าง : องค์ความรู้ ความเข้าใจ แผนและนโยบาย การปฎิบัติ
2.ลดผลกระทบด้านสุขภาพ เช่น อากาศร้อนขึ้น กลุ่มแรงงาน เกษตรกร ที่ต้องทำงานกลางแจ้ง ฝนตกมากขึ้น ยุงมากขึ้น แพร่เชื้อโรคมากขึ้น
3.การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง ของกลุ่มคนที่แตกต่างกัน เช่น ประมงพื้นบ้าน กลุ่มรายได้น้อยในเมือง แรงงานนอกระบบ
4.การสร้างความตระหนัก ความเข้าใจ ถึงความเชื่อมโยง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อภาคส่วนต่างๆ ไม่ใช่เฉพาะด้านสิ่งแวดล้อมแต่เกี่ยวโยงกับคุณภาพชีวิต
5.ปัญหาด้านน้ำ น้ำท่วม น้ำไม่พอใช้ จะรุนแรงมากขึ้น เกิดถี่ขึ้น จะต้องปรับเปลี่ยนแผนและการเตรียมตัว
และนำตัวอย่างเมืองบ่อยางที่มีการขับเคลื่อนร่วมกับเครือข่ายพัฒนาเมืองแก้ปัญหาด้านที่อยู่อาศัย สุขภาพ รายได้ และการสร้างความเข้มแข็งขององค์กร โดยนางบุญย์บังอร ชนะโชติ และเมืองละงู นำผลการประเมินความเปราะบางของเมืองที่ดำเนินการในพื้นที่ลุ่มน้ำละงู มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยนายเจ๊ะอับดุลล่าห์ แดหวัน
ที่ประชุมเห็นชอบและมีข้อเสนอแนะ
1)ในเชิงความร่วมมือกับกขป.เขต 12 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจเป็นประเด็นเพิ่มเติมหรือนำเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ 5 ประเด็นขับเคลื่อน ประสานกขป.เข้าร่วมกิจกรรมโครงการในพื้นที่ดำเนินการ 6 เมือง
2)ร่วมกับสคพ.16(สนง.สิ่งแวดล้อมและควบคุมมลพิษ) ประสานให้เกิดการเชื่อมโยงในระดับจังหวัดกับการทำแผนการลดก๊าซเรือนกระจก ที่มีทสจ.เป็นผู้รับผิดชอบ
3)ร่วมกับโครงการ success สื่อสารองค์ความรู้และผลการประเมินความเปราะบางหรือผลการดำเนินงานและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายผ่านเวทีสาธารณะที่มีของ 4 ส.(สช./สสส./สปสช./สธ.)ตามโอกาสที่เหมาะสม
4)เมืองนำร่อง 6 เมือง(เมืองหลัก/เมืองรอง/เมืองชายแดน/เมืองลุ่มน้ำ)ควรขยายผล หาเมืองที่มีบริบทใกล้เคียงเพื่อนำมาร่วมเรียนรู้ นำบทเรียนที่ได้ไปปรับใช้อย่างน้อยเมืองละ 1 แห่ง
นอกจากนั้นสมัชชาสุขภาพจังหวัดสตูล ได้นำเสนอแนวทางการดำเนินงานของ "รักจังสตูล" ในการมีส่วนร่วมพัฒนาจังหวัด ซึ่งมีผลงานหลากหลาย โดยนางกัลยทรรศน์ ติ้งหวัง เสนอให้กขป.ช่วยเสริมหนุนการดำเนินงานของภาคีในการสังเคราะห์ความรู้ ขยายผล และร่วมกับอบจ.สตูลดำเนินการในส่วนของการสนับสนุนการขับเคลื่อนระดับจังหวัด ทั้งการทำแผนพัฒนาจังหวัด การพัฒนากลไกจัดการและฟื้นฟูทรัพยากรลุ่มน้ำคลองดุสนและละงู
วาระอื่นๆ ประกอบด้วยการสรรหาคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(คสช.)ชุดใหม่ และนัดประชุมครั้งต่อไป ณ จังหวัดยะลาในช่วงสิงหาคม 2566 มีการนำระบบ e-meeting มาใช้ในการประชุม
รับชมย้อนหลัง
Relate topics
- ประชุมเตรียมงานเวทีโชว์แชร์เชื่อม บุหรี่ไฟฟ้า ระดับภาคใต้
- สท.-สนง.เกษตรสงขลา จัดเวทีถอดบทเรียนยกระดับเครือข่ายเกษตรกรผลิตผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยี
- กขป.12 ประชุมสรรหากรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนที่มีวาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2568 - 2572
- จังหวะก้าวสำคัญ 3 เคลื่อนเพื่อพัทลุง
- “กขป.เขต 12 จัดเวทีเสนอแนะเชิงนโยบาย ชี้ปัญหาเร่งด่วนและข้อเสนอความร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยี และทุนทางพหุวัฒนธรรมลดความเปราะบางของครอบครัว”
- บพท. และ ม.อ.ปัตตานี จับมือ พอช. พร้อมบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อร่วมพัฒนาตำบลแก้จนนำร่องในพื้นที่เมืองปัตตานี
- System Map และ ข้อเสนอเชิงนโยบาย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ (เครือข่าย กขป.เขต 12)
- การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความมั่นคงทางอาหาร
- ตำบลพุมเรียง ชูผักไชยา และปลาอินทรีย์ ปั้นเมนูสุขภาพกินดี อยู่ดี ลด NCDs ที่พุมเรียง
- ต้นทุนเพื่อการพัฒนา จากทีมสนับสนุนชุมชนน่าอยู่เล็ก ๆ สู่โมเดลสุขภาวะชุมชนภาคใต้