"อบจ.สงขลา พัฒนาระบบบริการเชิงรุกรับการถ่ายโอน รพ.สต.นำร่องอำเภอควนเนียง"
"อบจ.สงขลาพัฒนาระบบบริการเชิงรุกรับการถ่ายโอน รพ.สต.นำร่องอำเภอควนเนียง"
วันที่ 6 กรกฏาคม 2566 อบจ.สงขลา นัดภาคีเครือข่ายในพื้นที่อำเภอควนเนียงร่วมหารือแนวทางดำเนินงานหลังรับภารกิจถ่ายโอนรพ.สต.และมีรพ.สต.ในพื้นที่ทั้ง 6 แห่งของอำเภอเข้าร่วม ประกอบด้วย สสจ. สสอ. พมจ. อปท. ท้องถิ่นอำเภอ รพ.อำเภอ อสม. รพ.สต.ทั้ง 6 และมูลนิธิชุมชนสงขลา
ที่ประชุมร่วมระดมความเห็น ประกอบการนำเสนอภารกิจ อำนาจหน้าที่ แนวทาง สภาพปัญหา/ข้อจำกัดในการดำเนินงานของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ทำให้มองเห็นทั้งโอกาสและปัญหาพื้นฐานที่มีอยู่ ปรับฐานความเข้าใจให้ไปในทิศทางเดียวกัน
อำเภอควนเนียง ปัจจุบันมีประชากร 34,427 คน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร เป็นชาวพุทธ ใช้สิทธิบัตรประกันสุขภาพ 80% มีรพ.สต.จำนวน 6 แห่ง ปัญหาด้านสุขภาพพบเรื่องโรคความดันเบาหวาน เริ่มเป็นสังคมสูงวัย
มีข้อสรุปจากการระดมความเห็นดังนี้
เป้าหมาย พัฒนาระบบบริการสาธารณะในด้านคุณภาพชีวิตอำเภอควนเนียงให้ประชาชนเข้าถึง เท่าเทียม ครอบคลุม พอเพียง มีคุณภาพ ลดความซ้ำซ้อนการบริการ
ยุทธศาสตร์สำคัญ
1)เสริมศักยภาพและปรับพฤติกรรมเสี่ยง ปัญหาด้านสุขภาพ พบวัยเด็กมีภาวะซีด วัยกลางคน-ผู้สูงอายุป่วยเป็นโรค NCD โรคหลอดเลือดสมอง เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจขาดเลือด ผู้สูงอายุอยู่คนเดียว เริ่มเข้าสู่สังคมสูงวัย มีติดบ้านติดเตียง
แนวทางสร้างเสริมสุขภาพ ควรมีการคัดกรองเชิงรุกอย่างมีคุณภาพในแต่ละกลุ่มวัย (อาทิ ลดความเสี่ยงในอนาคต เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่/คัดกรองสมองเสื่อม/ป้องกันการหกล้ม) มีกิจกรรมส่งเสริมป้องกันโรค สร้างความรอบรู้ทางสุขภาพ ส่งเสริมการรวมกลุ่ม ปรับพฤติกรรมเสี่ยง
2)เสริมสร้างสภาพแวดล้อม พบปัญหาสภาพที่อยู่อาศัย (ควรเพิ่มข้อมูลในด้านภาวะรายได้/เศรษฐกิจ-สังคม-ทรัพยากรธรรมชาติ) มีภูมิปัญญา มีต้นทุนเรื่องสมุนไพร/แพทย์แผนไทย อาชีพเกษตร ผักอนามัย(ปลอดภัย)
แนวทางการปรับสภาพแวดล้อม : การปรับสภาพบ้าน สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกช่วงวัย การส่งเสริมรายได้ การต่อยอดภูมิปัญญาสมุนไพร การคัดกรองสุขภาพเกษตรกร(ตรวจเลือด/สารปนเปื้อนในอาหาร)
3)พัฒนาระบบบริการสาธารณะ
ด้านบุคลากร/กลไกดำเนินงาน ต้องการเสริมด้านจำนวนบุคลากร รวมถึงการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยบริการ อปท. ชุมชน
แนวทางปรับระบบบริการ :
1)ให้มีแนวทางการบริหารจัดการอย่างมีส่วนร่วม(ระหว่างแนวทางของอบจ.และพื้นที่) บนฐานปัญหาสุขภาพและศักยภาพร่วม มีการทำข้อมูล careplanคุณภาพชีวิต รายคน มีแพทย์/อสม./ ทีมสหวิชาชีพ (3 หมอ)ทำงานแบบสอดประสานกัน เสริมบุคลากรจากชุมชนและภายใน/ภายนอก พัฒนาศักยภาพ cg,CM อสม.ตามสภาพปัญหาสุขภาพในพื้นที่ ส่งเสริมให้มีการจัดทำแผนงานร่วม มีศูนย์ประสานงานอสม.ระดับพื้นที่(รพ.สต.เป็นหน่วยประสาน) มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของอสม.หรือจัดเวทีสัญจร
หน่วยบริการ : รพ.สต.กระจายในแต่ละโซน PCU พัฒนาระบบบริหารความเสี่ยง(แบบฟอร์ม) เน้นสร้างความครอบคลุมของบุคลากร ลดความเสี่ยงในการให้บริการ ประสานความร่วมมือ อบจ.กำลังสร้างศูนย์สร้างสุขชุมชนที่บางเหรียง พร้อมคลินิกผู้สูงอายุ ศูนย์ Daycare คลินิกเติมสุขให้บริการเชิงรุกเรื่องพื้นฐาน
2)การจัดระบบธนาคารกายอุปกรณ์เพื่อช่วยความพิการ
3)การบริหารจัดการกลาง : การพัฒนาระบบข้อมูล การทำแผนระดับตำบล/อำเภอ การบริหารงบประมาณ/กองทุนสปสช. LTC หรือให้มีกองทุนกลางระดับพื้นที่เพื่อเติมเต็มช่องว่าง การสื่อสารสาธารณะหลากหลายช่องทาง
พัฒนาระบบการส่งต่อ/การแพทย์ฉุกเฉิน ปัจจุบันอปท.ในพื้นที่มีเพียง ทต.บางเหรียงที่มีรถบริการ 1 คัน (ควรเพิ่มเติมโซนควนโส ห้วยลึก หัวปาบ หรือประสานหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินระดับพื้นที่มาทำงานร่วมกัน และพัฒนาบุคลากร)
4)บริการทางเลือกแผนไทย พัฒนาบุคลากร
5)ให้มีกลไกกรรมการะดับอำเภอ กสอ.(กรรมการสุขภาพระดับอำเภอ) แนวทางดำเนินการต่อไป
ข้อเสนอแนะเติมเติม รอบต่อไปเพิ่มข้อมูลด้านสิทธิพื้นฐาน มีประชาชนตกหล่นเข้าไม่ถึงสิทธิ์หรือไม่ มีประชากรแฝงหรือไม่
แนวทางดำเนินการต่อไป
1)อบจ.จัดทำ template กลาง ส่งต่อแนวทางดำเนินการในส่วนของอบจ.ที่จะสนับสนุนพื้นที่ ส่งต่อให้กับอปท./รพ.สต./สสอ.และเครือข่ายเติมเต็มแผนงานโครงการที่จะดำเนินการ
2)นัดประชุมครั้งต่อไป ประสานภาคีเพิ่มเติม เติมเต็มทุนทางสังคม พัฒนานวตกรรมการบริการสาธารณะที่อยากเห็น ทบทวนแผนงานโครงการเพื่อดำเนินการในปี 67
#พื้นที่เป็นฐานประชาชนเป็นศูนย์กลาง
#เปลี่ยนจากทำให้มาเป็นการทำงานร่วมกัน
Relate topics
- ประชุมเตรียมงานเวทีโชว์แชร์เชื่อม บุหรี่ไฟฟ้า ระดับภาคใต้
- สท.-สนง.เกษตรสงขลา จัดเวทีถอดบทเรียนยกระดับเครือข่ายเกษตรกรผลิตผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยี
- กขป.12 ประชุมสรรหากรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนที่มีวาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2568 - 2572
- จังหวะก้าวสำคัญ 3 เคลื่อนเพื่อพัทลุง
- “กขป.เขต 12 จัดเวทีเสนอแนะเชิงนโยบาย ชี้ปัญหาเร่งด่วนและข้อเสนอความร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยี และทุนทางพหุวัฒนธรรมลดความเปราะบางของครอบครัว”
- บพท. และ ม.อ.ปัตตานี จับมือ พอช. พร้อมบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อร่วมพัฒนาตำบลแก้จนนำร่องในพื้นที่เมืองปัตตานี
- System Map และ ข้อเสนอเชิงนโยบาย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ (เครือข่าย กขป.เขต 12)
- การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความมั่นคงทางอาหาร
- ตำบลพุมเรียง ชูผักไชยา และปลาอินทรีย์ ปั้นเมนูสุขภาพกินดี อยู่ดี ลด NCDs ที่พุมเรียง
- ต้นทุนเพื่อการพัฒนา จากทีมสนับสนุนชุมชนน่าอยู่เล็ก ๆ สู่โมเดลสุขภาวะชุมชนภาคใต้