"ห้องเรียนรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลคลองแงะ สงขลา"
"ห้องเรียนรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลคลองแงะ สงขลา"
วันที่ 7 กรกฎาคม 2566 ห้องเรียนรองรับสังคมสูงวัยครั้งที่ 5 สมาชิกที่มาร่วมกันเติมเต็มร่างแผนรองรับสังคมสูงวัย ให้ข้อมูลทุนทางสังคมเพิ่มเติม โดยเฉพาะต้นทุนความเป็นพหุวัฒนธรรม ที่มีทั้งภูมิปัญญาการทำอาหารจีนแคะ ภูมิปัญญาหมอพื้นบ้านอิสลาม โดยมีท่านนายกฯเข้ามาให้กำลังใจ
สมาชิกได้เรียนรู้การปลูกผักแบบ "สวนผักคนเมือง" ที่มีการดำเนินการในพื้นที่อำเภอหาดใหญ่ จุดประกายการปลูกผักในพื้นที่เมือง การนำขยะเปียกมาใช้ทำน้ำหมักและปุ๋ย หรือทำหัวเชื้อน้ำยาเอนกประสงค์ การทำน้ำส้มหมักจากกล้วย การทำปุ๋ยก้อน การปลูกผักแนวตั้ง การนำวัสดุเหลือใช้มาใช้ใหม่ ที่สามารถเป็นนวตกรรมเสริมทั้งด้านสุขภาพ สภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม เพื่อเป็นตัวอย่างนวตกรรม
ก่อนจบการเรียนในห้อง สมาชิกได้ร่วมกันสรุปผลการเรียนรู้ นำเสนอสิ่งที่ได้เรียนรู้ ข้อค้นพบและสิ่งที่จะต้องปรับปรุง ทำให้เห็นการเรียนรู้ในหลายมิติ อันเป็นผลจากการทำกิจกรรมร่วมกัน เข้าใจและตระหนักถึงปัญหาการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัยมากขึ้น สมาชิกได้แบ่งปันวิธีการจัดการตัวเองเพื่อรองรับสังคมสูงวัยได้อย่างหลากหลาย น่าสนใจ ซึ่งสามารถถ่ายทอดจุดประกายสมาชิกในชุมชนต่อไป
ครั้งต่อไป ศุกร์ที่ 14 กรกฏาคม นำสมาชิกไปเรียนรู้สวนผักคนเมืองสวนผักลุงนุ้ยป้าสาว ช่วงเช้า และสวนเบญจพฤกษ์ ควนลัง ช่วงบ่ายปิดกิจกรรมห้องเรียนกันนอกสถานที่
Relate topics
- ประชุมเตรียมงานเวทีโชว์แชร์เชื่อม บุหรี่ไฟฟ้า ระดับภาคใต้
- สท.-สนง.เกษตรสงขลา จัดเวทีถอดบทเรียนยกระดับเครือข่ายเกษตรกรผลิตผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยี
- กขป.12 ประชุมสรรหากรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนที่มีวาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2568 - 2572
- จังหวะก้าวสำคัญ 3 เคลื่อนเพื่อพัทลุง
- “กขป.เขต 12 จัดเวทีเสนอแนะเชิงนโยบาย ชี้ปัญหาเร่งด่วนและข้อเสนอความร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยี และทุนทางพหุวัฒนธรรมลดความเปราะบางของครอบครัว”
- บพท. และ ม.อ.ปัตตานี จับมือ พอช. พร้อมบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อร่วมพัฒนาตำบลแก้จนนำร่องในพื้นที่เมืองปัตตานี
- System Map และ ข้อเสนอเชิงนโยบาย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ (เครือข่าย กขป.เขต 12)
- การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความมั่นคงทางอาหาร
- ตำบลพุมเรียง ชูผักไชยา และปลาอินทรีย์ ปั้นเมนูสุขภาพกินดี อยู่ดี ลด NCDs ที่พุมเรียง
- ต้นทุนเพื่อการพัฒนา จากทีมสนับสนุนชุมชนน่าอยู่เล็ก ๆ สู่โมเดลสุขภาวะชุมชนภาคใต้