"รับการถ่ายโอน อบจ.สงขลาจับมือภาคีเครือข่ายระดับอำเภอพัฒนารูปแบบบริการปฐมภูมิเชิงรุกอำเภอควนเนียง"

  • photo  , 1000x564 pixel , 104,506 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 120,376 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 202,557 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 108,800 bytes.

"รับการถ่ายโอน อบจ.สงขลาจับมือภาคีเครือข่ายระดับอำเภอพัฒนารูปแบบบริการปฐมภูมิเชิงรุกอำเภอควนเนียง"

วันที่  25 กรกฏาคม 2566 ประชุมภาคีเครือข่าย รพ.สต.อำเภอควนเนียงถ่ายโอนไปยังอบจ.สงขลาทั้ง6แห่งเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงาน ณ ห้องประชุมชั้น 2 อบจ.สงขลา โดยมีรองนายกอบจ.เป็นประธานการประชุม ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย กองสาธารณสุขอบจ. รพ.ควนเนียง สมาคมคนพิการ มูลนิธิชุมชนสงขลา ม.ราชภัฎสงขลา รพ.สต.ควนโส รพ.สต.บ้านกลาง รพ.สต.บ้านเกาะใหญ่ รพ.สต.ปากบาง อบต.ห้วยลึก อบต.รัตภูมิ และศูนย์การศึกษาพิเศษเขต 3

วางเป้าหมาย พัฒนาระบบบริการสาธารณะในด้านคุณภาพชีวิตของประชาชนอำเภอควนเนียงให้เข้าถึงบริการอย่างเท่าเทียม ครอบคลุม พอเพียง มีคุณภาพ และลดความซ้ำซ้อน

ที่ประชุมได้ระดมความเห็น ได้ข้อสรุปแนวทางดำเนินการร่วมกันดังนี้

1.การพัฒนาระบบบริการ ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ : การพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิ การจัดการความรู้และนวตกรรม การพัฒนาระบบนิเวศ การติดตามประเมินผล

โดยมีกลุ่มเป้าหมายหลัก ประกอบด้วย 1)ผู้ป่วย NCD แนวทางสำคัญ ได้แก่ การคัดกรอง วินิจฉัย รักษา ส่งเสริมป้องกัน และ2)ผู้สูงอายุ แนวทางสำคัญประกอบด้วยการคัดกรอง การให้ความรู้ การป้องกันการหกล้ม ภาวะสมองเสื่อม ดำเนินการผ่านศูนย์สร้างสุขชุมชน การบริการผ่านโพลีคลีนิค ธนาคารยืมคืนกายอุปกรณ์ ธนาคาร 1,000 เตียง

ทั้งนี้แผนสำคัญ ที่อบจ.จะดำเนินการร่วมกับเครือข่าย ประกอบด้วย

1)การคัดกรองเชิงรุก ร่วมกันจัดมหกรรมคัดกรองสุขภาพประชาชนอำเภอควนเนียงแบบ 100% ดำเนินการในช่วง 3 เดือนแรก ร่วมกับภาคีเครือข่ายในระบบสาธารณสุข อปท.รับส่งกลุ่มเป้าหมายมาคัดกรอง และประชาสัมพันธ์ นำผลการคัดกรอง ไปทำแผนแก้ปัญหาให้ครบทั้งส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟู พมจ./ยุติธรรมจังหวัด/อำเภอ/สมาคมอาสาสร้างสุข รับเรื่องความต้องการความช่วยเหลือ

เน้นกลุ่มเป้าหมายทุกช่วงวัย รวมถึงคนพิการ หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ พร้อมประสานรับข้อมูลความต้องการความช่วยเหลือ ในด้านที่อยู่อาศัย การทำบัตรคนพิการ บัตรประชาชน ฯลฯ

2)การบริการรักษา ฟื้นฟูสมรรถภาพ ยกระดับรพ.สต.เกาะใหญ่ให้เป็นจุด center จัดให้มีโพลีคลินิกเพื่อรักษาพยาบาล โดยมีบุคลากรจากแต่ละรพ.สต.หมุนเวียนมาบริการ ร่วมกับแพทย์เฉพาะทางจากรพ.ควนเนียง และดำเนินการร่วมกับศูนย์สร้างสุขในการฟื้นฟู หากเกินศักยภาพให้ส่งต่อรพ.ควนเนียง

พร้อมพัฒนาระบบการส่งต่อ และการแพทย์ฉุกเฉิน ปัจจุบันอปท.ในพื้นที่มีเพียง ทต.บางเหรียงที่มีรถบริการ 1 คัน จะประสานหน่วยบริการการแพทย์ฉุกเฉินระดับพื้นที่มาทำงานร่วมกัน

3)การสร้างเสริมสุขภาพ แม้จะเน้นผู้สูงอายุ แต่ให้หาจุดคานงัดสำคัญเพราะความสัมพันธ์ในแต่ละช่วงวัยส่งผลถึงกันและกัน บนฐานสภาพปัญหาในปัจจุบัน ได้แก่ เด็กเล็ก ปัจจุบันมีภาวะซีดและอ้วน วัยรุ่นมีปัญหายาเสพติด วัยทำงาน พบโรคNCD ผู้สูงอายุมีการหกล้มและสมองเสื่อม

แต่ละกลุ่มวัยจะมีการโดยการทำแผนบริการตามสภาพปัญหา​ รักษา​ ฟื้นฟู​พัฒนาระบบส่งต่อ เปิดคลินิกผู้สูงอายุร่วมกับศูนย์บริบาลดูแลผู้สูงอายุ ร่วมกับพมจ.ปรับสภาพบ้าน สิ่งอำนวยความสะดวกพร้อมราวปันสุข มีDaycareเป็นจุดศูนย์รวมทำกิจกรรมที่ต้องการ ทุกช่วงวัย

และทำแผนสุขภาพรายคน ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงพร้อมบันทึกกิจกรรมปรับพฤติกรรม

2.ในด้านยาสามารถเบิกจากแม่ข่ายตามบัญชียา กายอุปกรณ์ เบาะลม เตียง
และวัสดุที่จะมีการจัดหามาเพิ่มเติม :อัลตร้าซาวด์ ชุดตรวจอัจฉริยะ เตียงตรวจ

3.ร่วมกันพัฒนาบุคลากร ทั้งอสม. แพทย์แผนไทย cg และแก้ปัญหาบุคลากรทางวิชาชีพที่ขาดแคลนด้วยการร่วมผลิตหรือให้ทุน หรือประสานทุน/คน/งาน/เงินมาทำงานร่วมกัน

4.ด้านการเงิน จะมีงบลงทุน(อุดหนุนจากอบจ.) งบจากสำนักงบประมาณในส่วนเงินเดือนและสวัสดิการ งบจากสปสช.จากการบริการ ค่าเสื่อม งบOP,PP กองทุนสุขภาพตำบลและงบจากภาคีเครือข่าย

5.ระบบสารสนเทศ อบจ.จะใช้ระบบข้อมูลกลาง www.khonsongkhla.com ในการเชื่อมโยงบูรณาการงานทุกภาคส่วน โดยไม่เป็นภาระในการบันทึกซ้ำซ้อน และเพิ่มกลุ่มช่วงวัยเข้ามาสู่ระบบ

6.ความร่วมมือกับเครือข่าย ได้แก่ ม.ราชภัฎฯสงขลาที่ได้รับงบจากสวรส.ร่วมวิจัยแบบมีชีวิต และนำนักศึกษามาฝึกงาน

มูลนิธิชุมชนสงขลา ใช้กระบวนการเรียนรู้และพัฒนา(DE)ในการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิชุมชน ด้วยการจัดทำแผนสุขภาพรายคน ปรับสภาพแวดล้อม-สวนผักคนเมือง-เมนูสุขภาพ และพัฒนาผู้ดูแลที่บ้านร่วมบริการปฐมภูมิ

คณะพยาบาลศาสตร์ ได้รับงบจากสปสช. วช. และร่วมกับอบจ. พัฒนาศักยภาพทีมงานรพ.สต.บ้านเกาะใหญ่และบางเหรียงดูแลผู้ป่วยจิตเวช

7.ก้าวต่อไป​ สร้างการรับรู้และมีส่วนร่วม เตรียมทำmou ระดับอำเภอประสานผู้รับผิดชอบของหน่วยงานสำคัญ ประกอบด้วยภาคีในพื้นที่และระดับจังหวัดมาร่วมรับรู้ สร้างความร่วมมือ พร้อมสื่อสารทางสังคมให้เกิดการรับรู้อย่างกว้างขวาง​ และจัดตั้งคณะทำงานตามยุทธศาสตร์

Relate topics