งานสร้างสุขภาคใต้ครั้งที่ 13 : ภาคใต้แห่งความสุขเพื่อสุขภาวะแห่งอนาคต สุข สู่สุขภาวะ
งานสร้างสุขภาคใต้ครั้งที่ 13 : ภาคใต้แห่งความสุขเพื่อสุขภาวะแห่งอนาคต สุข สู่สุขภาวะ
การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพเพื่อสุขภาวะแห่งอนาคตอย่างยั่งยืน : โอกาสและความท้าทาย
ระหว่างวันที่ 9-10 สิงหาคม 2566 ณ ศูนย์ประชุมฯ มอ. อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
เป้าหมายในการจัดงาน
1)เผยแพร่องค์ความรู้รูปธรรมระดับพื้นที่ และผลงานวิชาการ
2)พัฒนานโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม
ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลกในอีก 10 ปีข้างหน้า ไม่ว่าจะเป็นด้านสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ การเมือง โรคระบาด การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ฯ เราจะตั้งรับและเชิงรุกอย่างไร ภายใต้ความไม่แน่นอนเหล่านี้
ภายใต้การขับเคลื่อน 4 ประเด็นหลัก ที่เป็นเสาหลักของชีวิต คือ ความมั่นคงทางอาหาร ความมั่นคงทางมนุษย์ ความมั่นคงทางสิ่งแวดล้อม และความมั่นคงทางสุขภาพ ที่ขับเคลื่อนผ่านกลุ่ม องค์กรเครือข่ายภาคประชาสังคมและทีมวิชาการ เพื่อนำมาสู่การพัฒนาข้อเสนอเชิงนโยบายในระดับพื้นที่ ระดับจังหวัด และระดับภาค ตั้งแต่จังหวัดชุมพรจนถึงนราธิวาส ทั้งในเรื่องเกษตร สิ่งแวดล้อม กลุ่มวัยแม่และเด็ก บุหรี่และปัจจัยเสี่ยง การเตรียมรองรับสังคมสูงวัย กลุ่มชาติพันธุ์ มันนิ/ชาวเล ฯ การสร้างความมั่นคงในมิติต่างๆ ทั้ง 4 มิติ ที่จะเป็นกรอบหรือเครื่องชี้วัดถึงคุณภาพชีวิตที่ดี และมีความสุขตามสถานะของแต่ละคน
ปราณี วุ่นฝ้าย บันทึกเรื่องราว
เวที "สร้างสุขภาคใต้" วนมาอีกครา ปีนี้เป็นครั้งที่ ๑๓
"สร้างสุขภาคใต้" ในยุดแรกๆ สสส. ริเริ่มจัดเวทีภาคด้วยเล็งเห็นว่า ภาคีเครือข่ายสุขภาวะมีจำนวนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และมีจำนวนมากที่กระจายอยู่ในภูมิภาค การจัดเวทีภาค จึงเป็นเวทีให้ภาคีเครือข่ายสุขภาวะได้มารู้จัก เห็นคน เห็นงาน เห็นทุน-ทรัพยากร และศักยภาพของเพื่อนภาคีเครือข่าย มีโอกาสเชื่อมโยงและขยายงานกันอย่างกว้างขวาง
การจัดเวทีในระดับภูมิภาค ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน สร้างความเป็นเจ้าของในงานร่วมกัน เป็นความภูมิใจและได้รับประโยชน์ในงานร่วมกัน ซึ่งภาคใต้ได้แสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ถึงเรื่องนี้ชัดเจน
ขอชื่นชมและขออนุญาตกล่าวถึงผู้ที่ริเริ่มทำให้มีเวทีภาคใต้ /เวทีสร้างสุขภาคใต้ ในครั้งแรก ราวปี พ.ศ.๒๕๔๘ คือ นพ.บัญชา พงษ์พานิช ผศ.ดร.พงค์เทพ สุธีรวุฒิ และศ.นพ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ ท้้ง 3 ท่านถือเป็นผู้บุกเบิก เวทีภาคใต้ /เวทีสร้างสุขภาคใต้ และทำให้มีเวทีภาคใต้จนถึงครั้งที่ ๑๓ ปีนี้
จาก "วาระฅนใต้สร้างสุข" (บางคนคงจะจำกันได้) โดยชักชวนผู้คนมาร่วมทบทวนสถานการณ์ปัญหาสุขภาพ ชี้ทางออก และกำหนดวาระร่วม โดยมีการจัดเวทีต่อเนื่อง สร้างพลังการมีส่วนร่วม ขยายวง ชักชวนภาคียุทธศาสตร์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายต่างๆ และปีนี้ลงตัวที่ "ภาคใต้แห่งความสุขเพื่อสุขภาวะแห่งอนาคน : สูข สู่ สุขภาวะ"
ที่พิเศษของปีนี้ คือ เวทีสร้างสุขภาคใต้ ได้จัดร่วมกับเวทีวิชาการเรื่อง การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA Forum) อีกด้วย
ดูจะเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจ มีพลัง มีแนวโน้มจะสร้างผลกระทบต่อสังคมวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ
เวทีนี้เป็นของคนภาคใต้ โดยคนภาคใต้ และเพื่อคนภาคใต้จริงๆ
"Together We Can" ร่วมกัน เราทำได้
ประดิษฐ์ นิจไตรรัตน์ บันทึกเรื่องราว
งานสร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 13 "
"ภาคใต้แห่งความสุข เพื่อสุขภาวะแห่งอนาคต สุข สู่ สุขภาวะ "
ที่มาและความสำคัญ : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.(สสส)โดยสำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ ได้สนับสนุนให้สถาบันนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นหน่วยงานหลักในการประสานองค์กรภาคีร่วมสนับสนุนหลักซึ่งประกอบด้วย
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช)
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช)
กระทรวงสาธารณสุข(สธ)
และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชนองค์การมหาชน(พอช)
ในการร่วมมือเพื่อจัดงานสร้างสุขภาคใต้มาอย่างต่อเนื่อง งานสร้างสุขภาคใต้สุขจัดขึ้นครั้งแรกในปี 2549 ใช้ชื่องานว่าวาระสร้างสุขของคนใต้ "โหมเรายังอยู่ดีกันหม้ายพี่น้อง"
จัดขึ้นที่จังหวัดสงขลา และหมุนเวียนไปตามจังหวัดในภาคใต้รวมทั้งสิ้น 12 ครั้ง
สำหรับ การจัดงานการสร้างสุขภาคใต้ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 9-10 สิงหาคม 2566 ใช้ชื่องาน "ภาคใต้แห่งความสุขเพื่อสุขภาพเพื่อสุขภาวะแห่งอนาคต " สุข สู่ สุขภาวะ "
โดยกิจกรรมภายในงานสร้างสุขภาคใต้ครั้งที่ 13 ประกอบด้วยการประมวลข้อเสนอเชิงนโยบาย และทิศทางสู่เป้าหมายภาคใต้แห่งความสุข การเสวนา 2 ประเด็นในหัวข้อทิศทางการพัฒนาสู่เป้าหมายภาคใต้แห่งความสุขและความท้าทายในการประเมินผลกระทบด้านสุขภาพเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยผู้แทนจากสภาพัฒน์และ ส. อบต. ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกรมอนามัยและคณะกรรมการพัฒนาระบบและกลไกการประเมินผลกระทบทางสุขภาพนอกจากนั้นยังมีการนำเสนอในห้องย่อย 4 ประเด็นของภาคใต้คือ
ความมั่นคงทางมนุษย์
ความมั่นคงทางสุขภาพ
ความมั่นคงทางทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
ความมั่นคงทางอาหาร
โดยภาคีเครือข่าย ขับเคลื่อนงานทั้ง 4 ประเด็นสำคัญได้มีการ บูรณาการและสารพลังการทำงานข้ามพื้นที่ข้ามประเด็นและข้ามเครือข่าย มีการยกระดับงานสร้างสุขภาคใต้โดยใช้เครื่องมือและกระบวนการนโยบายสาธารณะในการประสานและเชื่อมยกระดับการทำงานกับเพื่อนนโยบายสาธารณะในระดับพื้นที่ มีกระบวนการทบทวนข้อเสนอเชิงนโยบาย ที่ได้จากปีที่ผ่านมาเพื่อให้ข้อเสนอถูกกับเคลื่อนให้เกิดรูปประธรรมและบูรณาการเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันทั้งในระดับพื้นที่ท้องถิ่นระดับเขตและระดับภาคใต้เพื่อบรรลุเป้าหมาย "ภาคใต้แห่งความสุข"
นำเสนอ ข้อเสนอเชิงนโยบายงานสร้างสุขภาคใต้ ต่อ หน่วยงานกำหนดนโยบาย (policy Maker)ดังนี้
ผู้แทนสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ผู้แทนศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้
ผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข
ผู้แทนสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส)
ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช)
ผู้แทนสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช)
และผู้แทนสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน)
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน สำนักงานภาคใต้
ห้องย่อยอีกห้องที่ได้ร่วมปักธงไว้ใน 4 นโยบายสาธารณะชาวเลในงานสร้างสุขภาคใต้ครั้งที่ 13
ขอบคุณทีมงานที่ถอดความตอนพูดไว้ให้...
พี่น้องเครือข่ายชาวเล หน่วยงานภาคีทุกท่านครับ ผมฟังพี่หญิงได้สะท้อนความรู้สึกนับว่าเป็นการเติมพลังให้พวกเราทุกคนรับรู้ว่า กระบวนการทำงานของพวกเราที่ผ่านมาปรียบเหมือนการร่วมแผ้วถางถนนอีกสายหนึ่งที่จะได้พาผู้คนที่เกี่ยวข้อง ใช้เป็นเส้นทางเดินไปสู่การร่วมสร้างสุขภาวะที่ดีของพี่น้องชาวเลร่วมกันได้จริงครับ
ความเสมอภาค ความเท่าเทียมด้านสิทธิ โอกาสที่จะเข้าถึงการมีสุขภาพที่ดี รวมถึงการมีศักยภาพและความสามารถกำหนด ออกแบบสภาพแวดล้อมที่เอื้อและไม่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี ที่เรียกว่ากระบวนการพัฒนานโยบายสาธารณะนั้น ไม่สามารถเป็นนโยบายที่ดีได้ถ้าทำเพียงหน่วยงานเดียว องค์กรเดียว หรือความคิดของผู้บริหารบ้านเมืองเพียงคนเดียวหรือกลุ่มเดียว การมีส่วนร่วม การเป็นเจ้าของร่วม ในทุกช่วงของกระบวนการนโยบายสาธารณะ ร่วมกันแก้ไขปัญหาด้วยพลังรวมหมู่ ทั้งความรู้ กระบวนการ ทรัพยากร เพื่อไปสู่เป้าหมายเดียวกัน เช่นงานครั้งนี้เราร่วมลงขันทรัพยากรถึง 3-4 หน่วยงานครับ
สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เป็นอีกองค์กรที่มีภารกิจหลักคือการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบสุขภาพสู่การปฏิรูปสังคม ชุมชนสุขภาวะ มีหัวใจหลักๆ ในการทำงานได้แก่ 1. สานพลังสร้างสุขภาวะ 2. แขนขวาขยับนโยบาย แขนซ้ายเคลื่อนไหวสังคม และ 3. สนับสนุนการพัฒนาและขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะทุกระดับ ผ่านเครื่องมือสำคัญภายใต้ พรบ. สุขภาพแห่งชาติ ๒๕๕๐ เช่น ธรรมนูญสุขภาพ/ธรรมนูญชุมชน สมัชชาสุขภาพ การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพ ซึ่งมีการนำไปประยุกต์ใช้และเกิดการยอมรับในกระบวนการดังกล่าวในหลายภาคส่วนของสังคม
ผมเองได้ร่วมในการพัฒนานโยบายสาธารณะว่าด้วยสุขภาวะชาติพันธุ์ชาวเลอันดามัน อยู่ในกระบวนการปรึกษาหารือ ร่วมในการจัดทำข้อมูลและมีการประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วนเข้ามาร่วมในการสร้างสุขภาวะให้กับพี่น้องชาวเลอันดามัน เห็นในความตั้งใจ แน่วแน่ มุ่งมั่น ในการใช้กระบวนการที่เรียกว่า “สมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็น” มาเป็นแนวทางสำคัญของถนนสายนี้
ขอทวนเป้าหมายร่วมที่ได้วางไว้ นั่นคือ เกิดกระบวนการสร้าง ส่งเสริม ปกป้อง คุ้มครองสิทธิชาติพันธุ์ ร่วมผลักดันเชิงนโยบาย ขยายพื้นที่คุ้มครองทางวัฒนธรรมและการส่งเสริมสุขภาวะชาวเล ร่วมกับภาคียุทธศาสตร์ระดับนโยบายและในพื้นที่ โดยมีประเด็นย่อยๆ ที่เราจะร่วมกันผลักดัน ได้แก่ สถานะบุคคลสิทธิในระบบสุขภาพ พัฒนานักปกป้องสิทธิชุมชน รวมถึงการส่งเสริมพื้นที่คุ้มครองทางวัฒนธรรม
สช. ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญของการเข้ามามีส่วนร่วมของการสร้างนโยบายสาธารณะที่ดี ของคนที่เป็นเจ้าของประเด็น เจ้าของปัญหา เป็นคนที่อยู่กับเรื่องราวนั้นๆ มาตลอดชีวิต เพื่อร่วมกันสร้างและหาทางออกในการจัดการกับปัญหา หาทางเลือกในการพัฒนาที่เอื้อต่อการมีสุขภาพ และการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ทั้งนี้จะร่วมกับภาคีเครือข่ายหนุนเสริมสุขภาวะพี่น้องชาติพันธุ์ชาวเลอันดามัน ดังนี้
1.ยินดีที่จะสนับสนุนกระบวนการ การใช้ข้อมูล ความรู้ ภายใต้บทบาทหน้าที่และความรู้ความสามารถของทีมงานที่มี
2.ยืนยัน ที่จะสนับสนุนการสร้างนโยบายสาธารณะให้ครบกระบวนการ ร่วมผลักดันการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะที่เครือข่ายชาวเลอันดามัน และภาคีเครือข่ายได้ร่วมกันพัฒนาขึ้นมา เพื่อให้เกิดผลการเปลี่ยนแปลงที่ดีให้กับพี่น้องชาวเล
3.ย้ำทิศ การพัฒนาสาธารณะที่มาจากล่างขึ้นบน มีพื้นที่ปฏิบัติการ เน้นการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบ
4.ยกระดับ คนทำนโยบายสาธารณะให้มีศักยภาพร่วมกันในทุกมิติพร้อม จะร่วมเป็นภาคีหนุนเสริมเครือข่ายชาวเลให้สามารถจัดการตนเองได้ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสุขภาวะ
บัณฑิต มั่นคง บันทึกเรื่องราว
Relate topics
- วิจัยเพื่อต่อยอด “รถตู้ลดเหลื่อมล้ำ” โรงพยาบาลสะบ้าย้อย สงขลา
- "ประชุมเตรียมสมัชชากำลังคนสุขภาพเพื่อรองรับงานปฐมภูมิและสังคมสูงวัยสงขลา"
- นครศรีฯ มีหนึ่งเดียว เสริมพลังพัฒนาคุณภาพชีวิต เพื่อสุขภาวะจังหวัดนครศรีธรรมราช
- พลเมืองสตูลตื่นรู้ ร่วมฟื้นฟูอุทยานธรณีโลก สู่การจัดการตนเองอย่างยั่งยืน
- สมัชชาพลเมืองสงขลาปี 2567 ชู “เติมสุขโมเดล” ความสุขเริ่มต้นที่บ้าน”
- ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขับขี่ปลอดภัยภาคใต้ ร่วมสร้างนโยบายสาธารณะ : ธรรมนูญสุขภาพการลดอุบัติเหตุทางถนนของคนลานสกา
- นราธิวาสสร้างสุข มะนารอ บาฮากียอ ( منارا بهڬيا )
- "สมัชชาคุณธรรมและตลาดนัดคุณธรรม" และการประชุมติดตามผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านการส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ระยะที่ 2 ภาคใต้
- ยะลาเมืองแห่งความสุขด้วยการมีอาหารที่ปลอดภัย
- ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดระบบชีวาภิบาลร่วมกับภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เทศบาลเขารูปช้าง อำเภอเมืองจังหวัดสงขลา