"Quick Win บุหรี่และปัจจัยเสี่ยง จ.ยะลา"

  • photo  , 1000x750 pixel , 148,918 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 131,491 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 175,162 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 117,897 bytes.
  • photo  , 1108x1478 pixel , 161,681 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 196,804 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 152,468 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 103,553 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 185,738 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 143,948 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 145,084 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 126,085 bytes.
  • photo  , 1706x960 pixel , 133,133 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 134,996 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 153,525 bytes.

"Quick Win บุหรี่และปัจจัยเสี่ยง จ.ยะลา"

วันที่  25 กันยายน 2566 คณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน(กขป.)เขต 12 โดยการประสานงานของภาคีเครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดยะลา

นัดหมายเครือข่ายบุหรี่และปัจจัยเสี่ยงในพื้นที่ ประกอบด้วย สสจ.ยะลา  สรรพสามิตพื้นที่ยะลา รองปลัดอบจ. ผอ.กองศึกษา กรรมการมัสยิด โต๊ะอิหม่าม สมาคมฟ้าใส เครือข่ายองค์กรงดเหล้ายะลา/ภาคใต้ตอนล่าง  รวมถึงผู้แทนกขป.เขต 12 ที่ลงไปร่วมกิจกรรม นำโดย ผอ.สปสช.เขต 12  ผู้แทนศึกษาธิการภาค 7  สมาคมเยาวชนพัฒนาบ้านเกิด  ผู้แทนสภาอุตสาหกรรม  เครือข่ายสื่อสุขภาวะ  เครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืนภาคใต้  มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 54 คน โดยมี นายก อบจ.ยะลา ให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุมศรีญาลอ ชั้น 1 อบจ.ยะลา

เริ่มด้วยการแนะนำคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน(กขป.) แนวคิด แนวทางดำเนินการ รวมถึงวัตถุประสงค์เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสานการขับเคลื่อนงาน 5 ประเด็น เน้นสร้างความร่วมมือการขับเคลื่อนงานในจังหวัดยะลา โดยเฉพาะประเด็นบุหรี่และปัจจัยเสี่ยง เน้นลดจำนวนนักดื่มนักสูบหน้าเก่า ป้องกันนักดื่มนักสูบหน้าใหม่ และควบคุมการจำหน่ายบุหรี่แปลกใหม่(บุหรี่ไฟฟ้า) ที่มี 3 เครือข่ายหลักร่วมดำเนินการ ได้แก่ หน่วยงานส่วนภูมิภาค เครือข่ายประชาคมงดเหล้า มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย(สสม.)

ผู้แทนฝ่ายควบคุมยาสูบสสจ.ยะลา นำเสนอสถานการณ์การสูบบุหรี่ในจังหวัด รวมถึงแนวทางการดำเนินงาน ที่มีกลไกคณะกรรมการระดับจังหวัดและอำเภอ มีคลีนิกฟ้าใส รวมถึงการทำงานเชิงรุก รณรงค์ในร้านอาหาร สถานศึกษา ทีี่ประชุมได้ร่วมแลกเปลี่ยนปัญหาสำคัญ ได้แก่ การบังคับใช้กฏหมายห้ามสูบบุหรี่ในสถานที่สาธารณะ โดยเฉพาะตลาดนัด/ตลาดสด การป้องกันปัญหาการจำหน่ายบุหรี่ไฟฟ้าในกลุ่มเยาวชนที่พบมีการสูบอายุน้อยลง การควบคุมการสูบบุหรี่ในงานคอนเสิร์ตโดยเฉพาะจัดโดยสถานการศึกษา

ที่ประชุมยังได้รับทราบแนวทางดำเนินงานมัสยิดปลอดบุหรี่ในพื้นที่ต้นแบบ 3 แห่ง และการใช้ระบบสารสนเทศกลางเพื่อสนับสนุนการทำงานของกขป.เขต 12 มีข้อสรุปการดำเนินงานร่วมกันดังนี้

1.เสนอแนะไปยังคณะกรรมการควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบจังหวัดยะลา ให้เน้นเป้าหมาย

1)ปลอดบุหรี่ในที่สาธารณะ

2)ลดการสูบบุหรี่หน้าใหม่

3)ป้องกันบุุหรี่ไฟฟ้า

พร้อมกับจัดตั้งกลไกคณะทำงานร่วมสนับสนุนการทำงานของกรรมการ ที่มีภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินงาน

2.สมัชชาสุขภาพจังหวัดยะลา มูลนิธิสร้างสุขมุสลิมไทย เครือข่ายประชาคมงดเหล้า และอบจ.ยะลา ร่วมกันเป็นเจ้าภาพในการประสานงาน จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสานการทำงาน และจัดการความรู้/สรุปบทเรียนการทำงานระดับจังหวัด

3.อบจ.ยะลาร่วมกับกขป.เขต 12 พัฒนาระบบสารสนเทศกลางจังหวัดสนับสนุนการขับเคลื่อนงาน ภายใต้แนวทาง One ID One Stop Service รวมถึง Open Data แผนงานโครงการของภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องระดับจังหวัด เพื่อเสริมหนุนการทำงาน ติดตามประเมินผล

4.เชื่อมประสานงานบุหรี่และปัจจัยเสี่ยง กับปัญหาสุขภาพในด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องให้ครบวงจร เพื่อหาเครือข่ายใหม่ๆ (อปท. สถานศึกษา องค์กรชุมชน ผู้นำศาสนา ส่วนภูมิภาค ภาคเอกชน สมาคม/มูลนิธิ) สร้างต้นแบบพื้นที่ปฎิบัติการนำร่องในระดับพื้นที่ตำบล/อำเภอ

จังหวัดยะลาเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีทุนทางสังคมจำนวนมาก มีความพร้อมยกระดับการประสานทุนมาร่วมแก้ปัญหาของตน อาศัยกติกาทางสังคมและกฏหมายมาเป็นเครื่องมือดำเนินการ รวมถึงการวิเคราะห์ฐานคิดของกลุ่มเป้าหมาย(ที่มีทั้งแบบอนุรักษ์นิยมที่ใช้กลไกทางศาสนามาแก้ปัญหาและเสรีนิยมที่จะต้องใช้การเรียนรู้สร้างจิตสำนึกและใช้มาตรการทางสังคมสร้างความตระหนักและการอยู่ร่วมกัน) พร้อมกับสร้างตัวแบบ ชื่นชมให้กำลังใจผู้ปฏิบัติ มีการสื่อสารทางสังคม

Relate topics