ทบทวนเพื่อก้าวต่อ "งานสร้างสุขภาคใต้"
ทบทวนเพื่อก้าวต่อ "งานสร้างสุขภาคใต้"
เมื่อต้นเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาขบวนการสร้างสุขภาวะพื้นที่ภาคใต้ รวมพลังของภาคีเครือข่ายทั้งภาคประชาสังคม ภาควิชาการ ภาคสื่อมวลชน และภาครัฐ กันในงาน "สร้างสุขภาคใต้ ครั้งที่ 13" ณ ศูนย์ประชุมนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ กับกระบวนการที่ผสมผสานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำงานสร้างสุขภาวะในมิติต่าง ๆ กับเป็นกระบวนขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะร่วมกัน
ประเด็นความมั่นคงทางสุขภาพ ประเด็นความมั่นคงของมนุษย์ ประเด็นความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และประเด็นความมั่นคงทางอาหาร เป็น 4 ประเด็นเสาหลัก ที่ได้ชักชวนภาคส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เกือบ 2 เดือนภายหลังจากการจัดงานจึงได้เกิดเวทีนี้ขึ้น ทีมคณะทำงาน ทีมวิชาการ และแกนนำเครือข่ายประเด็นที่เกี่ยวข้องจึงได้ถูกนัดหมายมาประชุมร่วมกันในวันที่ 28-29 กันยายน 2566 ณ จังหวัดตรัง เพื่อสรุปบทเรียนงานสร้างสุขภาคใต้ครั้งที่ผ่านมาที่จังหวัดตรัง พื้นที่เป้าหมายเป็นเจ้าภาพจัดงานสร้างสุขภาคใต้ครั้งที่ 14
กระบวนการชวนทีมคณะทำงานทั้ง 4 ประเด็นได้ทบทวนการทำงานในครั้งที่ผ่านมา
สำหรับกลุ่มประเด็นความมั่นคงทางทรัพยากรธรรมชาติ เริ่มจากการทบทวนถึงประเด็นและผู้คนที่เกี่ยวข้อง เราพบว่า ประเด็นย่อยท่องเที่ยวโดยชุมชน ประเด็นย่อยการจัดการภัยพิบัติ เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของประเด็นที่มีการขับเคลื่อนในระดับภาคอีกหลายหลาย อาทิ ประเด็นที่ดิน ประเด็นการจัดการทรัพยากรทะเลชายฝั่ง ประเด็นธนาคารต้นไม้ ประเด็นประมงพื้นบ้าน ประเด็นการจัดการขยะ ประเด็นกัดเซาะชายฝั่ง เป็นต้น วิเคราะภาคียุทธศาสตร์ที่เข้ามามีส่วนร่วม / และภาคีที่ควรเข้ามาสนับสนุน
ชวนกันวิเคราะห์กลไกคณะกรรมการระดับจังหวัดที่เกี่ยวเนื่องกับการจัดการฐานทรัพยากรฯซึ่งเราพบว่ามีมากมายหลายคณะแทบไม่รู้จัก
ชวนทบทวนกระบวนการพัฒนาโมเดลการทำงานต้นแบบกรณี "ศาลาด่านโมเดล" กับ "มะรุ่ยแห่งความสุข" ที่เป็นสารตั้งต้นสำคัญในเวทีงานสร้างสุขครั้งที่ผ่านมาในประเด็นการจัดการฐานทรัพยากรธรรมชาติว่ามีการดำเนินการอย่างไร
ผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และถ้าอยากให้ขยายผลเชิงนโยบายควรต้องทำอย่างไร
สำหรับกลุ่มประเด็นความมั่นคงทางฐานทรัพยากรธรรมชาติฯ มีข้อเสนอแนะสำคัญ คือ หนึ่งควรมีฝันที่ใหญ่ขึ้นของประเด็นและเป็นสมบัติของทุกคน "ชุมชนท้องถิ่นมีสิทธิในการจัดการฐานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม"
กลไกเชิงอำนาจที่ต้องเข้าไปจูน/เชื่อมต่อ คือ ระดับประเทศ คือ กรรมการกระจายอำนาจ ระดับภาค คือ กรรมการพัฒนาภูมิภาค และ ในระดับจังหวัดควรมีการผลักดันในระดับจังหวัดให้มีกลไกกรรมการจัดการทรัพยากรธรรมชาติชุมชน
แต่ละกลุ่มขบคิดกันหนักหน่วงพอสมควร
มีการนำเสนอประเด็นกลุ่มในเช้าวันที่ 29 กันยายน และร่วมแลกเปลี่ยนและให้ข้อเสนอแนะทั้งจากแกนนำเครือข่าย และ ผู้ทรงคุณวุฒิในเวที แบบonsite พี่โต้งจาก สสส. น้องอุ้ม และแบบออนไลน์ พี่ตุ่น บัณฑิต พี่จารึก จาก สช. และมี อ.พงค์เทพ ช่วยสรุปประเด็น
ข้อเสนอสำคัญที่ชวนคิดต่อ อาทิ
-งานสร้างสุขภาคใต้ กับ งานการพัฒนานโยบายสาธารณะทำให้เป็นเรื่องเดียวกัน
-กลไกการทำงานที่มีอยู่ มัน function หรือไม่ จะใช้ให้เป็นประโยชน์ได้อย่างไร
-งานสื่อสารสาธารณะกับสังคมต่อจากนี้ที่จะสร้างการเรียนรู้และแรงกระเพื่อมให้การขับเคลื่อนขยายผลเชิงนโยบายได้จริงและมากขึ้นได้อย่างไร
ถ้าเรื่องง่าย ๆ คงไม่มาถึงพวกเราเป็นแน่
ข้อสรุปเนื้อหาประเด็นต่าง ๆ ได้เค้าโครง แต่การไปเติมหน้าตา จมูก ให้ชัด เป้าหมายตัวชี้วัดสำคัญของแต่ละประเด็นจะเอาแค่ไหน ซึ่งยังต้องมีการไปปรึกษาหารือกันต่อกับผู้ที่เกี่ยวข้อง
ทบทวนเพื่อก้าวต่อ "สร้างสุขภาคใต้ ภาคใต้แห่งความสุข"
เชภาดร จันทร์หอม บันทึกเรื่องราว
Relate topics
- Health Protect สร้างสรรค์ไอเดียของคนรุ่นใหม่ลดปัจจัยเสี่ยง ภายใต้โครงการ ป้องกันเด็กไทยไม่ตกเป็นเหยื่อบุหรี่ไฟฟ้า (PROTECT NEW GEN) พื้นที่ภาคใต้
- การประชุมวิชาการระดับชาติการแพทย์แผนไทยและการสาธารณสุขวิจัย ครั้งที่ 4 น้อมรำลึก “100 ปี กรมหลวงชุมพรฯกับการแพทย์แผนไทยสู่นวัตกรรมสังคม”
- ออกปากดำนาสืบสานภูมิปัญญาวิถีเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนดอนศาลานำวิทยา พัทลุง
- "แผนคุณภาพชีวิตรายบุคคล"
- "งานแม่และเด็ก : ตั้งครรภ์ไม่พร้อม 3 จว.ชายแดนใต้จัดตั้ง Consortiumประสานการขับเคลื่อน"
- "ความร่วมมือในการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิรองรับการถ่ายโอน รพ.สต.จังหวัดสงขลา"
- กลไกสภาองค์กรชุมชนกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตเชิงพื้นที่ กรณีเมืองคลองแห สงขลา
- คณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ (กสพ.) สงขลา
- "ความร่วมมือช่วงเปลี่ยนผ่านการถ่ายโอน รพ.สต.สู่อบจ.จังหวัดสงขลา"
- “หลักสูตรลดปัจจัยเสี่ยงและบุหรี่ในโรงเรียนตาดีกา(โรงเรียนสอนศาสนา)” สุไหงโก-ลก นราธิวาส