"ความร่วมมือช่วงเปลี่ยนผ่านการถ่ายโอน รพ.สต.สู่อบจ.จังหวัดสงขลา"

  • photo  , 1000x667 pixel , 122,704 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 139,060 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 129,257 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 121,782 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 122,704 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 129,490 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 137,009 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 163,966 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 126,858 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 169,141 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 131,859 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 144,828 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 161,292 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 175,363 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 104,850 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 96,538 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 142,506 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 93,268 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 159,569 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 148,816 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 129,630 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 107,927 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 132,605 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 165,505 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 177,678 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 132,657 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 154,157 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 162,789 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 142,652 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 162,678 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 168,917 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 152,303 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 161,240 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 165,851 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 137,879 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 153,701 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 181,638 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 102,361 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 112,705 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 169,357 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 114,926 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 130,748 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 116,289 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 178,353 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 154,034 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 96,287 bytes.
  • photo  , 1567x1045 pixel , 128,778 bytes.

"ความร่วมมือช่วงเปลี่ยนผ่านการถ่ายโอน รพ.สต.สู่อบจ.จังหวัดสงขลา"

วันที่  26 ตุลาคม 2566 สนง.คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.)ร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ม.ราชภัฎสงขลา สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลาจัดประชุมเชิงนโยบายการสร้างกลไกความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่ออภิบาลระบบสุขภาพท้องถิ่นภายใต้บริบทการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ณ ห้องประชุมชั้น 2 ศูนย์บริบาลผู้สูงอายุจังหวัดสงขลา โดยมีนพ.ปรีดา แต้อารักษ์ และรองนายกปรินดา ปาลาเร่ เป็นประธานการประชุม และมีหน่วยงานองค์กรภาคีเข้าร่วมกว่า 20 องค์กร ผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 41 คน

โดยดำเนินการโครงการวิจัยการศึกษาและพัฒนากลไกความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่ออภิบาลระบบสุขภาพท้องถิ่นภายใต้บริบทการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งสงขลาเป็นหนึ่งในพื้นที่ดำเนินการ วัตถุประสงค์ :

1.เพื่อศึกษาบริบทความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่

2.เพื่อพัฒนารูปแบบกลไกความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการอภิบาลระบบสุขภาพท้องถิ่นที่สามารถจัดบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิได้ตรงกับปัญหาของประชาชนในพื้นที่ได้

ในส่วนขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ปี 2566-2567 มีรพ.สต.สมัครใจถ่ายโอนมา 12 อำเภอ 49 แห่ง บุคลากร 371 คน อยู่ในระหว่างวางระบบการดำเนินงาน จากการศึกษาเบื้องต้นของม.ราชภัฎฯและการรายงานจากผู้บริหารพบอุปสรรคที่มีส่วนใหญ่เกิดจากการทำงานข้ามกระทรวงในช่วงเปลี่ยนผ่าน ทั้งเรื่องงาน/เงิน/วัสดุอุปกรณ์ โครงสร้างการทำงานของบุคลากร สถานที่ รวมถึงความกังวลถึงคุณภาพการบริการของประชาชน ที่จะต้องใช้เวลาปรับเปลี่ยนอีกสักระยะ แต่อบจ.พยายามแก้ไขไม่ให้กระทบกับการบริการให้ประชาชน

ทั้งนี้ต้นทุนเดิมที่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลาสามารถนำมาต่อยอดร่วมดำเนินการในส่วนงานบริการด้านสุขภาพ ประกอบด้วย 1.งานบริบาลผู้สูงอายุ ที่มีทั้งสถานบริบาลและดูแลผู้สูงอายุ คลีนิคกายภาพและแพทย์แผนไทย 2.ศูนย์รับแจ้งเหตุและสั่งการ 1669 บริการเหตุฉุกเฉิน มีรถบริการรับส่งผู้ป่วย 3.กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัด มีงานศูนย์สร้างสุขชุมชนบริการฟื้นฟูสมรรถภาพ/กายอุปกรณ์ ผู้ช่วยนักกายภาพ ศูนย์ยืมคืนและซ่อมกายอุปกรณ์ การปรับสภาพแวดล้อมและที่อยู่อาศัย ศูนย์ผลิตที่นอนลมจากถุงน้ำยาล้างไต ศูนย์ผลิตผ้าอ้อมแบบถอดซักได้ ระบบฐานข้อมูลกลาง www.khonsongkhla.com

และพัฒนาระบบบริการนำร่องระดับอำเภอ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีรพ.สต.ถ่ายโอนมาเต็มพื้นที่ 2 แห่ง ได้แก่ อำเภอควนเนียงและอำเภอสิงหนคร ภายใต้แนวทาง "เติมสุขโมเดล" ซึ่งเป็นกระบวนการที่ได้มาจากการมีส่วนร่วมของเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ร่วมกำหนดทิศทาง ประกอบด้วยเป้าหมายร่วมให้ประชาชนเข้าถึงระบบบริการสาธารณะที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง เท่าเทียมและยั่งยืน และมี 3 ยุทธศาสตร์ ได้แก่1.การพัฒนาระบบบริการสาธารณะ 2. การจัดการความรู้ เทคโนโลยีและนวตกรรม 3.การพัฒนาระบบบริหารจัดการและการติดตามประเมินผล

ที่ประชุมได้ให้ข้อเสนอแนะการดำเนินงานดังนี้

1)แนวคิดสำคัญ สร้างการมีส่วนร่วม เชื่อมโยงภาคีเครือข่ายในการพัฒนาระบบบริการให้ประชาชนเข้าถึงบริการ และสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของ โดยคำนึงถึงบริบทที่แตกต่างในพื้นที่ ประสานผู้ที่เกี่ยวข้องมาออกแบบปฎิบัติการร่วม กลไกร่วม รวมถึงการบริการร่วม เปิดช่องให้ประชาชนสามารถร่วมสร้างบริการ มีการเชื่อมโยงฐานข้อมูล

2)ตอบคำถามสำคัญให้ได้ว่า ทำไมเรื่องนี้ต้องให้อบจ.ดำเนินการ? ทำแล้วแตกต่างดีกว่าเดิมหรือไม่อย่างไร สามารถเพิ่มคุณภาพ และการเข้าถึงหรือไม่ สามารถทำไปประเมินไป พร้อมกำหนดเป้า/ระยะเวลา ก่อนขยายผล ที่สำคัญมีการสื่อสารให้ประชาชนร่วมรับรู้มากขึ้น

3)การทำงานช่วงเปลี่ยนผ่านนี้จะทำให้เกิดองค์ความรู้ นำไปสู่เป้าหมายของการสร้างสังคมสุขภาวะของ songkhla city ทีมวิจัยควรทำตัวชี้วัดการอยู่ดีมีสุขของคนสงขลาทั้งในส่วนที่จะแก้ปัญหาและการเป็นต้นแบบที่ดีว่าประกอบด้วยอะไรบ้าง ระยะแรก เน้นการเข้าถึงบริการพื้นฐานผ่านชุดสิทธิประโยชน์ด้านสุขภาพ เศรษฐกิจ สังคม บูรณาการกลไกระดับตำบลผ่านศูนย์สร้างสุขชุมชนและศูนย์ช่วยเหลือทางสังคม ระยะยาว วางรากฐานความยั่งยืน พัฒนาธุรกิจเพื่อสังคม(SE)ในระดับพื้นที่

4)งานวิจัยควรตอบคำถามสำคัญ ว่าอะไรที่ทำให้ประชาชนได้รับบริการที่ดี มีส่วนร่วม และเป็นเจ้าของร่วม ในการวิจัยระยะต่อไป ควรเพิ่มเครื่องมือรวมถึงใช้ six building blocks ศึกษาการให้บริการ บุคลากร ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ ยาและเวชภัณฑ์ ระบบการคลังด้านสุขภาพ และภาวะผู้นำและธรรมภิบาล พิจารณากลไกบริหารจัดการ มีความครอบคลุม ความสมดุล สามารถถ่วงดุลกันและกัน และ"เฉลี่ยทุกข์ เฉลี่ยสุข"

พร้อมข้อเสนอเชิงนโยบาย

1.จัดการปัญหาช่วงเปลี่ยนผ่านอย่างไร

2.วางระบบระยะยาว ที่ควรมีกลไกอภิบาล วางรากฐาน โดยมีแผนจังหวัด/อำเภอ/ตำบลและตัวชี้วัดกำกับ

ในส่วนความร่วมมือ มีข้อเสนอแนะดังนี้

1.คณะพยาบาลศาสตร์ ม.อ. ร่วมผลิตบุคลากรในชุมชน ทั้งบัณฑิตพยาบาลและพยาบาลชุมชน รวมถึงการพัฒนาหลักสูตรการอบรม รองรับสังคมสูงวัยมิิติต่างๆ การดูแลผู้ป่วย ผู้สูงอายุในด้านพลังใจ ภาวะซึมเศร้า ภาวะสมองเสื่อม

2.กสร.(กศน.)จังหวัด มีครูในระดับพื้นที่สามารถร่วมให้ความรู้ด้านสุขภาพและอื่นๆ

3.มูลนิธิชุมชนสงขลา ร่วมจัดทำแผนสุขภาพ/ธรรมนูญสุขภาพตำบล และแผนสุขภาพรายคนในส่วนของกลุ่มเสี่ยงผ่านระบบกลุ่มของแอพ iMed@home และร่วมทำธุรกิจเพื่อสังคม(SE)ดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน iMedCareในนามบริษัทประชารัฐฯสงขลา

4.พมจ./สสว.11 ใช้กลไกศูนย์ช่วยเหลือทางสังคม ประสานงานกับศูนย์สร้างสุขชุมชน ร่วมทำแผนลดความเหลื่อมล้ำการเข้าถึงบริการของกลุ่มเปราะบางและรองรับสังคมสูงวัยประสานงานสภาเด็ก ศูนย์พัฒนาครอบครัว ศูนย์คนพิการ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและกลไกภายในของพม.

5.หอการค้าสงขลาและYEC ร่วมสื่อสารทางสังคม การสร้างนวตกรรมการบริการ การจัดทำ CSR ด้านที่อยู่อาศัย รวมถึงสร้างการรับรู้และร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตกับพื้นที่ โดยเฉพาะมิติด้านเศรษฐกิจ

6.ท้องถิ่นจังหวัด ประสานเชิงนโยบายและการมีส่วนร่วมกับอปท.ในสงขลา เสริมหนุนช่วงเปลี่ยนผ่านการถ่ายโอนรพ.สต.และกำลังจะทำโครงการจัดทำแผนรองรับสังคมสูงวัยในพื้นที่นำร่อง

แผนการดำเนินงานต่อไปของโครงการ

1)การประชุมเชิงปฎิบัติการร่วมกับคณะทำงานอำเภอสร้างระบบสนับสนุนที่เอื้อต่อระบบสุขภาพปฐมภูมิ และการมีส่วนร่วมของประชาชนอำเภอควนเนียงและสิงหนคร ประจำปีงบ 67 วันที่ 7-8 พ.ย. 66 และร่วมMOU ประกาศเจตนารมณ์การทำงานร่วมกันกับภาคีีระดับจังหวัด บ่ายของวันที่ 8 พ.ย.2566

2)ปฏิบัติการพื้นที่นำร่อง 2 แห่ง ตั้งแต่เดือน พ.ย.- กพ. 67

3)เวทีกลางระดับจังหวัด ประสานภาคีจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย ผลักดันเข้าแผนจังหงัด : กสพ. /คืนข้อมูลพื้นที่ พร้อมนำข้อเสนอแนะปรับระบบบริการสาธารณะด้านต่างๆพร้อมหาเจ้าภาพหลัก/รองในแต่ละด้านโดยดำเนินการร่วมกับสมัชชาสุขภาพจังหวัด

ขอบคุณภาพจาก ทีมงาน กองสาธารณสุข อบจ.สงขลา

Relate topics