"ความร่วมมือในการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิรองรับการถ่ายโอน รพ.สต.จังหวัดสงขลา"
"ความร่วมมือในการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิรองรับการถ่ายโอน รพ.สต.จังหวัดสงขลา"
วันที่ ๗-๘ พฤศจิกายนที่ผ่านมา ได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิจังหวัดสงขลา และเวทีสาธารณะจัดทำแผนขับเคลื่อนการอภิบาลระบบสุขภาพท้องถิ่นระดับจังหวัด ณ ห้องประชุมริมหาด ๒ โรงแรมหาดแก้ว จังหวัดสงขลา โดยมีนายกอบจ.สงขลา เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง สื่อมวลชนเข้าร่วมจำนวน ๑๔๐ คน
การดำเนินงานของจังหวัดสงขลา ใช้แนวคิด "เติมสุขโมเดล" ดำเนินการเชื่อมประสานระบบบริการตั้งแต่ระดับตำบล เชื่อมประสานอำเภอ และดูแลเสริมหนุนด้วยภาคีจังหวัด โดยใช้พื้นที่เป็นฐาน ประชาชนเป็นศูนย์กลาง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมเติมเต็มระบบบริการสาธารณะ
เป้าหมายของสงขลา ในพื้นที่ถ่ายโอนทั้งอำเภอ คือ ประชาชนเข้าถึงระบบบริการสาธารณะที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และยั่งยืน
ประกอบด้วย ๓ ยุทธศาสตร์สำคัญ
๑.การพัฒนาระบบบริการสาธารณะที่ครอบคลุมมิติด้านสุขภาพ(๑.การคัดกรอง ๒)การทำแผนบริการส่งเสริมป้องกัน รักษา ฟื้นฟู) ด้านคุณภาพชีวิต(ด้านสภาพแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม)
๒.การจัดการความรู้ เทคโนโลยีและนวตกรรม
๓.การพัฒนาระบบบริหารจัดการและติดตามประเมินผล
หัวใจสำคัญช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ คือ การรักษามาตรฐานการให้บริการโดยไม่กระทบต่อประชาชน รวมถึงโอกาสการพัฒนาระบบบริการให้สามารถประสานความร่วมมือ ลดช่องว่างระบบบริการ อบจ.สงขลาก็มีต้นทุนสำคัญ อาทิ การแพทย์ฉุกเฉิน ศูนย์บริบาล งานกองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัด แผนงานร่วมทุน(สสส.) นำมาต่อยอดเติมเต็ม
การทำแผนในพื้นที่นำร่องครั้งนี้นับเป็นการริเริ่มแนวทางทำงานใหม่ๆ ได้แก่ การคัดกรองร่วมที่จะวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย(กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มป่วย)ทำงานเชิงรุกมากขึ้น นำผลการคัดกรองมาทำแผนบริการ-ส่งต่อ ที่จะมีหลาย center ประสานการทำงานระดับตำบลเป็นไปตามศักยภาพของพื้นที่ มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประชาชน ร่วมรับรู้ข้อมูลการคัดกรอง ร่วมทำแผนบริการ รวมถึงแนวทางการบริหารจัดการผ่านกลไกระดับอำเภอ/ตำบล การติดตามประเมินผลผ่านระบบสารสนเทศกลาง การจัดการความรู้และเสนอเชิงนโยบาย
อุปสรรคสำคัญ คือการปรับตัวของหน่วยงานหลักได้แก่ รพ.สต./บุคลากร และองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งมาจากต่างกระทรวง และระเบียบ/กฏหมายที่เกี่ยวข้องที่ยังไม่เอื้อ รวมถึงวัฒนธรรมการทำงานที่แตกต่าง และการรับรู้ของประชาชน
กิจกรรมหลักในสองวันนี้ เกิดจากความร่วมมือของภาคีเครือข่ายได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา และสมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลา ผ่านโครงการวิจัยการศึกษาและพัฒนากลไกความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่ออภิบาลระบบสุขภาพท้องถิ่นภายใต้บริบทการถ่ายโอนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลให้แก่องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา ประกอบด้วย
๑)จัดทำแผนขับเคลื่อนการอภิบาลระบบสุขภาพท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอควนเนียงและสิงหนคร ซึ่งเป็นพื้นที่ นำร่อง (Sandbox) และ
๒)ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการพัฒนาระบบสุขภาพปฐมภูมิอำเภอควนเนียง ๑๑ องค์กร อำเภอสิงหนคร๑๘ องค์กร จังหวัดสงขลา ๑๘ องค์กร
ขอบคูณภาพจาก เพจ กองสาธารณสุข องค์การบริหารส่วนจังหวัดสงขลา
Relate topics
- ประชุมเตรียมงานเวทีโชว์แชร์เชื่อม บุหรี่ไฟฟ้า ระดับภาคใต้
- สท.-สนง.เกษตรสงขลา จัดเวทีถอดบทเรียนยกระดับเครือข่ายเกษตรกรผลิตผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยี
- กขป.12 ประชุมสรรหากรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนที่มีวาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2568 - 2572
- จังหวะก้าวสำคัญ 3 เคลื่อนเพื่อพัทลุง
- “กขป.เขต 12 จัดเวทีเสนอแนะเชิงนโยบาย ชี้ปัญหาเร่งด่วนและข้อเสนอความร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยี และทุนทางพหุวัฒนธรรมลดความเปราะบางของครอบครัว”
- บพท. และ ม.อ.ปัตตานี จับมือ พอช. พร้อมบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อร่วมพัฒนาตำบลแก้จนนำร่องในพื้นที่เมืองปัตตานี
- System Map และ ข้อเสนอเชิงนโยบาย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ (เครือข่าย กขป.เขต 12)
- การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความมั่นคงทางอาหาร
- ตำบลพุมเรียง ชูผักไชยา และปลาอินทรีย์ ปั้นเมนูสุขภาพกินดี อยู่ดี ลด NCDs ที่พุมเรียง
- ต้นทุนเพื่อการพัฒนา จากทีมสนับสนุนชุมชนน่าอยู่เล็ก ๆ สู่โมเดลสุขภาวะชุมชนภาคใต้