บทเรียนการขับเคลื่อนธรรมนูญระบบรองรับสังคมสูงวัย ที่ปักษ์ใต้

  • photo  , 1776x1184 pixel , 198,561 bytes.
  • photo  , 1280x606 pixel , 123,937 bytes.
  • photo  , 773x580 pixel , 47,735 bytes.
  • photo  , 808x606 pixel , 41,698 bytes.
  • photo  , 1000x1333 pixel , 164,254 bytes.
  • photo  , 1184x1579 pixel , 93,958 bytes.
  • photo  , 1110x1756 pixel , 155,930 bytes.
  • photo  , 1184x1776 pixel , 88,197 bytes.
  • photo  , 1042x1389 pixel , 102,215 bytes.
  • photo  , 1000x749 pixel , 130,817 bytes.
  • photo  , 1203x675 pixel , 63,747 bytes.
  • photo  , 1776x1184 pixel , 118,771 bytes.
  • photo  , 1434x1076 pixel , 94,654 bytes.
  • photo  , 1776x1184 pixel , 152,158 bytes.
  • photo  , 1497x1123 pixel , 134,955 bytes.
  • photo  , 1189x683 pixel , 65,701 bytes.

บทเรียนการขับเคลื่อนธรรมนูญระบบรองรับสังคมสูงวัย ที่ปักษ์ใต้

๑ - ๒ สิงหาคม ๒๕๖๗ เครือข่ายขับเคลื่อนระบบรองรับสังสูงวัยภาคใต้ ที่ใช้กระบวนการและเครื่องมือที่เรียกว่า “ธรรมนูญสุขภาพ” จึงร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้และติดตามเสริมพลังการทำงาน ณ โรงแรมเซาท์เทอร์นแอร์พอรต์ และ ตำบลท่าข้าม อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

โดยกลุ่มเป้าหมายที่มาร่วม ได้แก่ จังหวัดสุราษฏร์ธานี (ตำบลคลองปราบ บ้านยาง ) จังหวัดนครศรีธรรมราช (พระพรหม เขาพังไกร หัวไทร ท่าศาลา ) จังหวัดตรัง (เกาะสุกร ท่าพญา กันตังใต้ นาตาล่วงและบ่อหิน) จังหวัดสงขลา (ชะแล้ ท่าข้าม ป่าขาด แค ปาดังเบซาร์ คลองแงะ บ่อยาง) เข้าร่วม กว่า ๘๐ คน

ทั้งนี้ตำบลดังกล่าวได้มีการจัดทำนโยบายสาธารณะ ที่บางแห่งอาจเรียกว่า ธรรมนูญชุมชนรองรับสังคมสูงวัย แผนยุทธศาสตร์ระดับตำบล กติกาชุมชน การมีกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมทั้งด้านรายได้ เศรษฐกิจ สุขภาพ สภาพแวดล้อม การถ่ายทอดภูมิปัญญา และการสร้างความสัมพันธ์ของกลุ่มผู้สูงอายุ

โดยมีพื้นที่ที่โดดเด่น เช่น เกาะสุกร ตรัง คลองแงะ สงขลา คลองปราบ สุราษฏร์ธานี และ พระพรหม นครศรีธรรมราช เป็น ๔ ตำบลต้นแบบในการนำแลกเปลี่ยนในเวทีนี้ ภาคใต้ มีข้อมูลที่สำคัญในด้านประชากรที่สำคัญ คือเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ ได้แก่ พัทลุง ชุมพร นครศรีธรรมราช ตรัง ส่วนจังหวัดที่ยังไม่เข้าสู่สังคมสูงวัย ได้แก่ กระบี่ ภูเก็ต ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส มี ๔ จังหวัดที่ยังคงมีอัตราเกิดมากได้แก่ นราธิวาส ยะลา ปัตตานีและสตูล

จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ทั้ง ๑๘ ตำบล ในครั้งนี้ จึงมีบทเรียนสำคัญประกอบด้วย

๑.ต้องร่วมกันในทุกกลุ่มคนในตำบลเรา ให้ร่วมกันตื่นตัวกับการเตรียมการเข้าสู่สังคมสูงวัย ทั้ง การมีการออม การดูแลสุขภาพที่ดีตั้งแต่เด็ก การมีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม และมีกลุ่มกิจกรรมของคนสามวัยในชุมชน

๒.ต้องร่วมกันสร้างข้อตกลงของชุมชน ต่อระบบและกลไกต่างๆ ที่จะเข้ามาสนับสนุนการทำงาน ทั้งเป็นข้อตกลงที่เรียกว่าธรรมนูญชุมชน หรือทำแผนรองรับสังคมสูงวัยในตำบล และแปลงเป็นมาตรการ โครงการ

๓.ประสานทรัพยากรกับจตุพลังภาคีในชุมชน ประกอบด้วย ท้องที่ ท้องถิ่น ภาคเอกชนและหน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามาสนับสนุนอย่างจริงจัง

๔.ร่วมกันสื่อสาร แลกเปลี่ยนเรียนรู้สร้างกระแสแห่งการเปลี่ยนแปลงให้เกิดการขยายการทำงานในระดับพื้นที่ให้กว้างขวางมากขึ้น

๕.เสนอเป็นชุดนโยบายด้วยการสร้างรูปธรรม model ต่างๆ ต่อหน่วยงานในระดับนโยบาย เพื่อให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง เช่น นวัตกรรม ปรับปรุงกฎหมาย การพัฒนากำลังคน การบูรณาการทรัพยากรและงบประมาณ เป็นต้น


สังคมสูงวัยน่ากลัวจริงหรือ?  แล้วต้องเตรียมการอย่างไร

ช่วง​ Coffee​ talk.ในเวทีติดตามเสริมพลังสังคมสูงวัยภาคใต้ นายแพทย์อภิชาติ รอดสม รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการเข้าสู่สังคมสูงวัย นั่นคือ ต้องรวยให้เร็ว แก่ให้ช้า เจ็บให้สั้นและตายดี และชวนแกนนำในพื้นที่ทั้ง ๑๘ แห่ง ว่าหลังจากที่มีธรรมนูญแล้ว ต้องร่วมกันสร้างศูนย์กลางชุมชนแห่งการเรียนรู้ ที่ประกอบด้วย สนามเด็กเล่นสร้างปัญญา พื้นที่ปลูกผักและอาหารปลอดภัย ศูนย์ Daycare พัฒนาเลี้ยงลูกและให้ผู้สูงอายุถ่ายทอดภูมิปัญญาแก่คนรุ่นหลัง ทางด้าน ดร.กุลทัต หงส์ชยางกูร จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ย้ำให้เห็นว่าต้องร่วมกันพัฒนาและสร้างความตื่นตัวตั้งแต่เมื่อยังเป็นปฐมวัย วัยเรียน วัยแรงงาน จึงจะมีความพร้อม และต้องคำนึงทั้งในมิติสุขภาพ การสร้างรายได้และการออมอย่างจริงจัง รวมถึงการให้การศึกษาที่เข้าถึงในทุกกลุ่มคน

นายวรรธนันท์ ศักดิ์ตระกูล ผู้ชำนาญการจากสำนักสนับสนุนวิชาการ ๑๑ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่นอกจากจะนำเสนอข้อมูลสำคัญในพื้นที่แล้ว ยังได้ชวนให้ลงมืออย่างจริงจัง ทั้งทางด้านการส่งเสริมสุขภาพทางกายและจิตที่ดี ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในครัวเรือนและชุมชน การรอบรู้พลวัตทางสังคม ซึ่งแม้หลายประเด็นอาจเริ่มทำตอนสูงอายุไม่ท้น แต่ยังไม่สายที่จะเริ่มเพื่อให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตที่ดี

ปัจจุบันทั้งไทยและโลกกำลังเผชิญกับสังคมผู้สูงวัย (Aging Society) และคาดว่าภายในปี พ.ศ. ๒๕๘๓ จะเปลี่ยนเป็นสังคมผู้สูงวัยโดยสมบูรณ์ซึ่งถือเป็น Mega Trend ที่นำมาซึ่งผลกระทบต่อบริบททางเศรษฐกิจ สุขภาพและสังคมโลกอย่างรุนแรง เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยทางสังคมกำหนดสุขภาพ พบว่าประเด็นสังคมสูงวัย จะส่งผลกระทบทั้งเชิงบวกและลบต่อระบบสุขภาพไทยในระยะยาว การลุกขึ้นมาร่วมกันพัฒนาระบบรองรับที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้ผู้คนในสังคมตระหนักและตื่นตัวรับมือ จึงสำคัญยิ่ง สอดคล้องกับการทำนโยบายสาธารณะ ที่มีหัวใจคือการเป็นเจ้าของร่วมในเรื่องนั้น เช่นเดียวกับเครื่องมือที่เรียกว่าธรรมนูญสุขภาพ จะมีชีวิต กินได้ เคลื่อนได้จริง ทุกภาคส่วนในชุมชนต้องเข้ามาร่วมสร้างและเคลื่อนไปด้วยกัน


ขอบคุณข้อมูลจากเพจ สช. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

Relate topics