หารือทิศทางการขับเคลื่อนพัทลุงมหานครแห่งความสุข
หารือทิศทางการขับเคลื่อนพัทลุงมหานครแห่งความสุข
พฤหัสบดีที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๙.๐๐ น. ดร.พา ผอมขำ รองนายก อบจ. พัทลุง ในฐานะประธานอนุกรรมการสภาขับเคลื่อนแผนท้องถิ่นแบบบูรณาการจังหวัดพัทลุง เป็นประธานการประชุมหารือทิศทางและกิจกรรมของสภาขับเคลื่อนฯ ณ ห้องรับรองสมาชิกสภาฯ ร่วมกับ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ เครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัดพัทลุง นักวิจัยโครงการประชาธิปไตยอัตลักษณ์ไทย และสมาคมสภาองค์กรชุมชนจังหวัดพัทลุง
โดยมีการร่วมกันทำแผนขับเคลื่อนสู่พัทลุงมหานครแห่งความสุข ได้แก่ การจัดทีมกลไกขับเคลื่อน และวางเป้าหมายสำคัญในการทำงานร่วมใน 8 ประเด็นนโยบายสาธารณะได้แก่ การศึกษา เศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติ อาหารปลอดภัย สวัสดิการชุมชน ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญา พื้นที่พิเศษ และการท่องเที่ยวชุมชน
ทั้งนี้ได้มีหน่วยงานและภาคียุทธศาสตร์ที่ร่วมกันวางเป้าร่วมได้แก่ NIDA ผ่านโครงการวิจัยประชาธิปไตยอัตลักษณ์ไทย พอช. ผ่านการยกระดับจังหวัดบูรณาการ (จังหวัดจัดการตนเอง) สช. หนึ่งจังหวัดหนึ่งนโยบายสาธารณะ สถาบันพระปกเกล้า สภาพลเมือง และ สสส. ศูนย์กฏหมายและนโยบายสุขภาวะ
โดย สช. ได้สนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะของจังหวัดพัทลุงผ่านประเด็น อาหารปลอดภัย : พันธุกรรมพื้นบ้าน และแหล่งผลิตอาหารปลอดภัย ในปี 2568 นี้
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ สช. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
Relate topics
- ประชุมเตรียมงานเวทีโชว์แชร์เชื่อม บุหรี่ไฟฟ้า ระดับภาคใต้
- สท.-สนง.เกษตรสงขลา จัดเวทีถอดบทเรียนยกระดับเครือข่ายเกษตรกรผลิตผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยี
- กขป.12 ประชุมสรรหากรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนที่มีวาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2568 - 2572
- จังหวะก้าวสำคัญ 3 เคลื่อนเพื่อพัทลุง
- “กขป.เขต 12 จัดเวทีเสนอแนะเชิงนโยบาย ชี้ปัญหาเร่งด่วนและข้อเสนอความร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยี และทุนทางพหุวัฒนธรรมลดความเปราะบางของครอบครัว”
- บพท. และ ม.อ.ปัตตานี จับมือ พอช. พร้อมบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อร่วมพัฒนาตำบลแก้จนนำร่องในพื้นที่เมืองปัตตานี
- System Map และ ข้อเสนอเชิงนโยบาย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ (เครือข่าย กขป.เขต 12)
- การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความมั่นคงทางอาหาร
- ตำบลพุมเรียง ชูผักไชยา และปลาอินทรีย์ ปั้นเมนูสุขภาพกินดี อยู่ดี ลด NCDs ที่พุมเรียง
- ต้นทุนเพื่อการพัฒนา จากทีมสนับสนุนชุมชนน่าอยู่เล็ก ๆ สู่โมเดลสุขภาวะชุมชนภาคใต้