ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”
การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”
ระหว่างวันที่11 - 12 ธันวาคม 2567
ห้องย่อยแลกเปลี่ยน World Café & interactive brainstorming
แนวทางการแก้ปัญหา ในบริบทปัจจุบันและอนาคตของประเทศไทย (ดิจิตอล การกระจายอำนาจ ปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศสภาวะแวดล้อม สังคมสูงวัย) แบ่งเป็น 3 Café โดยใช้กรอบ 5 มาตรการหลักจาก NCDs Ecosystem จากสมัชชาเฉพาะประเด็น ว่าด้วยการสานพลังสร้างสภาวแวดล้อมทางสังคมและสุขภาพเพื่อลดโรคไม่ติดต่อ
Café 1 : กลไกการคลังสร้างแรงจูงใจเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ
•กลไกการคลังระดับประเทศ (fiscal measures) และการระดมทุน
•กลไกการคลังสำหรับการจัดระบบบริการสุขภาพ (benefit packages & payment mechanisms)
Café 2 : ระบบตัดสินใจเชิงนโยบาย โครงสร้างพื้นฐาน และระบบสนับสนุนในการปฏิบัติงานป้องกันและควบคุม NCD เชิงรุก
•ระบบตัดสินในเชิงนโยบายระดับประเทศ/จังหวัด
•กลไก โครงสร้างพื้นฐาน และระบบสนับสนุนในการปฏิบัติงานในระดับพื้นที่
•ระบบข้อมูลเพื่อกำหนดทิศทางนโยบาย (ตัวชี้วัด/แหล่งข้อมูล/ระบบติดตามฯ)
Café 3 : มาตรการและนวัตกรรมสร้างสภาวะแวดล้อมทางกายภาพ สังคม และดิจิตอลที่เอื้อต่อการมีวิถีชีวิตสุขภาพดีในระดับพื้นที่ (จังหวัด เทศบาล ตำบล)
•การขยายผลกรณีความสำเร็จมาตรการและนวัตกรรมในระดับพื้นที่
•ระบบสนับสนุนในการปฏิบัติงานในระดับพื้นที่ (ด้านนโยบายและด้านวิชาการ)
ซึ่งจากการแลกเปลี่ยนของทั้ง 3 กลุ่มได้มีข้อเสนอเชิงนโยบาย เพื่อสร้างระบบริเวศเพื่อจัดการสภาวแวดล้อมเพื่อลดโรคไม่ติดต่อ คือ
NCDs Policy governance
•ปรับ mindset ระบบอภิบาลทุกระดับเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อสิทธิของประชาชนจะเข้าถึง Ecosystem อย่างปลอดภัย ปกป้องอันตรายต่อสุขภาพ
•พัฒนากลไกเพื่อพัฒนาให้เกิด ทุกนโยบาบห่วงใยสุขภาพ Health in all Policies ที่ใช้ inside-out approach
•พํฒนากลไกการประสานงานที่มีประสิทธิภาพ ระหว่างระบบอภิบาลที่หลากหลาย (หลายระดับ หลายประเด็น Centralization vs decentralization หรือ Top-down vs bottom-up)
•พัฒนาระบบอภิบาลที่เน้นการมีส่วนร่วมของตัวแทนพื้นที่หรือระดับปฏิบัติ
Date governance
•จัดทำข้อมูลติดตามสถานการณ์ระดับพื้นที่ : พฤติกรรมประชาชน & สถานการณ์ปัจจัยแวดล้อม
•ฐานข้อมูลสุขภาพรายบุคคล ระบุประชากรกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มเปราะบางว่าอยู่ที่ใดและคืนข้อมูลให้ผู้ป่วยดูแลสุขภาพตัวเองอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญสนับสนุน Self-test / Self-care ลดความซ้ำซ้อนในการให้บริการ
มาตราการทางเลือก
•บ้านปลอด NCDs (ไม่เอาน้ำอัดลม ขนมกรุบกรอบ เหล้า บุหรี่ในบ้าน) สิ่งเหล่านี้ไม่ทำให้เป็นเรื่องปกติ นิเวศที่ดีเริ่มต้นที่บ้าน พร้อมระบบกลไกสร้างแรงจูงใจ
•กำหนดเมนูไม่หวานเป็นเมนหลัก เพิ่มหวานเพิ่มราคา
•กำหนดให้มีฉลากโภชนาการแบบไฟจราจร
•จัดทำแผนที่ท่องเที่ยวชุมชนในพื้นที่ ท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพและระบบนิเวศ (งบ อปท.)
การขยายผลนวัตกรรมในพื้นที่
•งานบุญปลอดน้ำอัดลม จ.พิจิตร
•ปรับสูตรสินค้าอาหารของฝากประจำจังหวัด
•การแจก Salt meter ให้ผู้ป่วยติดตามการบริโภคโซเดียมของตัวเองและชุมชน
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก Jee Nanthiya
Relate topics
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- สสจ.สงขลาและเครือข่ายร่วมวางแผนคัดกรองกลุ่มเสี่ยงยาเสพติดและสุขภาพจิต อายุ 12-59 ปี
- "พัฒนามาตรฐานกลางการปรับสภาพบ้านคนพิการสิทธิบัตรทองจังหวัดสงขลา"