"แผนงานร่วมทุนฯ สงขลา ARE จังหวัด"
"แผนงานร่วมทุนฯสงขลา ARE จังหวัด"
การประชุมประเมินผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา (ARE) ประเด็นยาเสพติดในชุมชนและสุขภาพจิตในสถานศึกษา ครั้งที่ 1 แผนงานร่วมทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาวะในพื้นที่จังหวัดสงขลา วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09.30-15.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 3 ศูนย์บริบาลผู้สูงอายุ จ.สงขลา มีผู้เข้าร่วม 11 คน ประกอบด้วยตัวแทนกรรมการบริหารแผนงานฯ อนุกรรมการกลั่นกรองฯ ผู้เชี่ยวชาญ ทีมกองเลขา ทีมพี่เลี้ยง เสนอแนะแนวทางสำคัญ สร้างหุ้นส่วนความร่วมมือระดับจังหวัด มี one plan กำหนดเป้าหมายร่วม พื้นที่ร่วม ทรัพยากรร่วม พร้อมหาจุดเน้นเชิงประเด็น
ทั้งนี้ที่มาของประเด็นยาเสพติดในชุมชนและสุขภาพจิตในสถานศึกษาคือ ปัญหาระดับจังหวัด จึงต้องการสร้างชุมชนเข้มแข็งเพื่อเป็นเกราะกำบัง
สาระสำคัญการประชุม คือ ร่วมกันพิจารณาผลลัพธ์ เป้าหมายและตัวชี้วัดของแผนงานร่วมทุนฯสงขลา บรรลุผลตามเป้าหมายดังนี้
1.เกิดกลไกคณะกรรมการที่มีขีดความสามารถในการดำเนินงานสร้างสุขภาวะของประชาชนในพื้นที่จังหวัดสงขลา ตัวชี้วัดประกอบด้วย
1)คณะกรรมการบริหารแผนงานร่วมทุนตามองค์ประกอบที่กองทุนฯกำหนด จำนวน 11 คน
2)คณะอนุกรรมการ จำนวน 2 คณะ ได้แก่ คณะอนุกรรมการด้านกลั่นกรองและติดตามประเมินผล ด้านยาเสพติดในชุมชน 1 ชุด ด้านส่งเสริมสุขภาพจิตในโรงเรียน 1 ชุดๆละ 7 คน
3)ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 1 คน
4)กองเลขานุการสนับสนุนการดำเนินงาน จำนวน 6 คน
5)ทีมพี่เลี้ยงโครงการ ประจำอำเภอ 16 อำเภอ ซึ่งแบ่งตามพื้นที่ออกเป็น 4 โซน 4 อำเภอต่อ 1 โซน โดยกำหนดทีมพี่เลี้ยงโซนละ 4 คน รวมเป็น จำนวน 16 คน
ผลที่เกิด เป็นไปตามเป้าหมาย ข้อ 1-4 ยกเว้นข้อที่ 5 ที่มีทีมพี่เลี้ยงเพียง 10 คน
2.เกิดการกระจายโอกาสการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพโดยสนับสนุนโครงการที่มุ่งผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงที่เป็นเยาวชน 13-18 ปีและปัจจัยสภาพแวดล้อม/ปัจจัยทางสังคมที่กำหนดสุขภาพของกลุ่มเป้าหมาย ไม่น้อยกว่า 30 โครงการ ครอบคลุมในพื้นที่ 12-16 อำเภอ ในจังหวัดสงขลา
ผลที่ได้ เป็นไปตามเป้าหมาย สนับสนุนโครงการไปทั้งสิ้น 30 โครงการ ครอบคลุมพื้นที่ 13 อำเภอ (ขาดอำเภอนาหม่อม กระแสสินธ์ คลองหอยโข่ง)
ปัญหาอุปสรรคที่พบในภาพรวม
1)ช่วงพัฒนาโครงการ มีระยะเวลากระชั้นชิดเกินไป โดยเฉพาะการทำงานกับโรงเรียนที่มีเวลาปิดเทอม เปิดเทอมก็มีกิจกรรมรัดตัว โรงเรียนขนาดใหญ่ไม่สมัครเข้าร่วม
2)โครงการย่อยระดับชุมชน ส่วนใหญ่เป็นชุมชนใหม่ ไม่คุ้นเคยกับการทำงานตามรูปแบบของสสส. ยังคุ้นชินกับการทำงานแบบเดิมที่มีหน่วยงานเข้ามาช่วยดำเนินการ และไม่เป็นโครงการที่มีกิจกรรมต่อเนื่อง คณะทำงานมีองค์ประกอบไม่หลากหลาย บางคนเข้าๆออกๆ มีภาระงานประจำรัดตัว ในส่วนโรงเรียนครูที่รับผิดชอบเป็นคนต่างถิ่น พิึ่งพึงความรับผิดชอบในตัวบุคคลหรือผู้นำ
3)ความเสี่ยงของการเบิกจ่ายงบประมาณ บางโครงการเบิกจ่ายครั้งเดียวถือเงินสดติดมือไว้จำนวนมาก
4)กิจกรรมล่าช้า สืบเนื่องจากการกลั่นกรองและปรับแก้โครงการ มีปัญหาอุทกภัยในพิื้นที่
5)ข้อจำกัดของระเบียบการเงิน กรณีกิจกรรมที่มีความหลากหลาย เน้นการพัฒนาศักยภาพ หลายกิจกรรมไม่สามารถดำเนินการในโครงการได้ การทำงานของพี่เลี้ยงในกรณีข้ามอำเภอ งบค่าเดินทางแบบเหมาจ่ายไม่เพียงพอ
6)ความไม่สันทัดการใช้แอพพลิเคชั่นในการคัดกรองกลุ่มเป้าหมายและระบบติดตามโครงการของแผนงานร่วมทุนฯ
7)มีโครงการที่มีความเสี่ยงสูงที่ไม่สามารถดำเนินการต่อได้ 2 โครงการ
ข้อเสนอแนะ
1)ต่อยอดโครงการปีที่ 1 ที่มีศักยภาพอาศัยประสบการณ์เป็นพี่เลี้ยงโครงการย่อยขยายผลหาเครือข่ายโครงการ
2)มีเวลาในการเตรียมความพร้อม พัฒนาโครงการร่วมกับผู้รับผิดชอบ/เลขา/การเงิน/หน่วยงานภาคี การอบรมการใช้ระบบสนับสนุน(แอพพลิเคชั่นและระบบติดตาม)ก่อนเริ่มทำโครงการ
3)จัดระบบสนับสนุนระดับจังหวัด เสริมหนุนการดำเนินงานโครงการย่อย นำพื้นที่เป้าหมายที่สสจ.ได้คัดกรองปัจจัยเสี่ยงกับกลุ่มเสี่ยงอายุ 12-59 ปีจำนวน 10% ของจังหวัด มากำหนดพื้นที่ดำเนินการในรอบถัดไป พร้อมกำหนดยุทธศาสตร์ จัดทำ one Plan MOU ความร่วมมือกับหุ้นส่วนทางสังคม อาทิ รพ.จิตเวช รพ.อำเภอ สปสช. สสจ.มหาวิทยาลัย วพบ. เป็นต้น แชร์คน เงิน งาน ประสานมาร่วมเป็นองค์กรของบสนับสนุนเป็นพี่เลี้ยงให้กับโครงการย่อย จัดทำบัญชีวิทยากรระดับโซน สร้างเครือข่ายผู้นำแห่งความเปลี่ยนแปลงระดับอำเภอ/ตำบล ให้สามารถเป็นทีมหรือกลไกสนับสนุนโครงการย่อย รวมถึงมีศักยภาพในการเขียนของบประมาณกองทุนสุขภาพตำบลหรืออื่นๆ
4)กำหนดจุดเน้นประเด็นยาเสพติด...น้ำกระท่อม บุหรี่ไฟฟ้า ประเด็นสุขภาพจิต...โรคซึมเศร้า การบูลลี่ และควรเปิดกว้างให้โรงเรียนและชุมชนสามารถทำโครงการยาเสพติดและสุขภาพจิตได้ด้วย
5)ปรับแก้ระเบียบการใช้งบประมาณ เพื่ออำนวยความสะดวกในการบริหารงาน
6)เพิ่มจำนวนพี่เลี้ยงในพื้นที่ระดับอำเภอ ตามเป้าหมายร่วม 1 คนต่อ 2 โครงการ รวมถึงพัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้่ยงและเครือข่ายผู้นำการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง
7)ระยะสั้นเสริมพลังโครงการย่อย เน้นการให้กำลังใจ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การรับฟังปัญหา/อุปสรรค จัดกิจกรรม 21 กพ.นี้ เป้าหมายโครงการละ 3 คน
นำโครงการเด่นมานำเสนอ ได้แก่ ประเด็นยาเสพติด...สมดุลสุนทรี กับโครงการของตำบลพะตง ประเด็นสุขภาพจิต...โครงการโรงเรียนคูเต่าวิทยากับรร.วัดบ่อทรัพย์ สร้างแรงบันดาลใจ พร้อมใช้เวิร์ลคาเฟ่สร้างความสัมพันธ์และการแลกเปลี่ยนบทเรียนการดำเนินงาน สร้างความตระหนักถึงเป้าหมายของแผนงานที่ต้องการสร้างชุมชนเข้มแข็ง สร้างเสริมสุขภาวะ ป้องกันกลุ่มเสี่ยงรายใหม่ มากกว่ามุ่งแก้ปัญหาในเชิงปราบปรามหรือบำบัดรักษา
Relate topics
- ประชุมเตรียมงานเวทีโชว์แชร์เชื่อม บุหรี่ไฟฟ้า ระดับภาคใต้
- สท.-สนง.เกษตรสงขลา จัดเวทีถอดบทเรียนยกระดับเครือข่ายเกษตรกรผลิตผักอินทรีย์ด้วยเทคโนโลยี
- กขป.12 ประชุมสรรหากรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนที่มีวาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2568 - 2572
- จังหวะก้าวสำคัญ 3 เคลื่อนเพื่อพัทลุง
- “กขป.เขต 12 จัดเวทีเสนอแนะเชิงนโยบาย ชี้ปัญหาเร่งด่วนและข้อเสนอความร่วมมือโดยใช้เทคโนโลยี และทุนทางพหุวัฒนธรรมลดความเปราะบางของครอบครัว”
- บพท. และ ม.อ.ปัตตานี จับมือ พอช. พร้อมบูรณาการความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อร่วมพัฒนาตำบลแก้จนนำร่องในพื้นที่เมืองปัตตานี
- System Map และ ข้อเสนอเชิงนโยบาย 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ (เครือข่าย กขป.เขต 12)
- การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศต่อความมั่นคงทางอาหาร
- ตำบลพุมเรียง ชูผักไชยา และปลาอินทรีย์ ปั้นเมนูสุขภาพกินดี อยู่ดี ลด NCDs ที่พุมเรียง
- ต้นทุนเพื่อการพัฒนา จากทีมสนับสนุนชุมชนน่าอยู่เล็ก ๆ สู่โมเดลสุขภาวะชุมชนภาคใต้