"ประชุมเครือข่ายพัฒนาเมืองสงขลา"
"ประชุมเครือข่ายพัฒนาเมืองสงขลา"
วันที่ 19 ตุลาคม 2564 ณ ห้องประชุมเทศบาลนครสงขลา
มูลนิธิชุมชนสงขลาในฐานะภาคี ร่วมกับพอช.ที่ได้เชิญภาคีเครือข่ายในพื้นที่ทน.สงขลามาสร้างความร่วมมือภายใต้การทำงานระยะยาวในการจัดการที่อยู่อาศัยและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยหรือคนจนเมือง
เมืองสงขลาเฉพาะในพื้นที่ทน.สงขลามี 55 ชุมชนกว่าครึ่งเป็นผู้บุกเบิกเข้ามาอาศัยในพื้นที่ มีปัญหาด้านที่อยู่อาศัยที่ไปแอบอิงอยู่ในที่การรถไฟบ้าง ธนารักษ์บ้าง เจ้าท่าบ้าง เอกชนบ้าง เป็นปัญหาร่วมของคนที่นี่ พอช.เองได้เข้ามาหนุนเสริมชุมชนอย่างต่อเนื่อง ช่วงสถานการณ์โควิด-19 บวกกับนโยบายการทำงานใหม่ที่ต้องการขยายเครือข่ายสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ จึงประสานเครือข่ายเข้ามาทำงานร่วมกัน
การประชุมครั้งนี้เป็นเสมือนการก่อตัวการทำงานใหม่ของเมือง ในนามเครือข่ายพัฒนาเมืองสงขลา โดยมี 13 ชุมชนที่ได้รับงบในช่วงโควิด+5 ชุมชนใหม่ เครือข่ายชุมชนริมคลองสำโรง ทน.สงขลา(กองสาธารณสุข/กองสวัสดิ์/กองช่าง) ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัด ม.ราชภัฎ(รวมม.ทักษิณ มทร.ศรีวิชัย) สมาคมเครือข่ายสุขภาพผู้สูงอายุ มูลนิธิชุมชนสงขลา สมาคมอาสาสร้างสุข พอช.ร่วมกันดำเนินการ ได้ประชุมร่วมกำหนดแนวทางทำงาน
1.ในเชิงกลไกขับเคลื่อน ให้มีคณะกรรมการหรือคณะทำงานระดับเมือง โดยมีรองนายกอำพล ทน.สงขลาเป็นประธาน มีกองเลขา(ทีมประสานงานและการเงิน)ขององค์กรชุมชน ประชุมเดือนละครั้ง ร่วมกำหนดแนวทางและสนับสนุนการดำเนินงาน โดยระยะแรกยังไม่แต่งตั้งเป็นทางการจนกว่าทุกอย่างจะเข้าระบบ
2.การประชุมแต่ละครั้งจะมีวาระหลัก ได้แก่
-วาระแจ้งเพื่อทราบ อาจเป็นการแนะนำองค์กร/กฏหมาย/แนวปฎิบัติ/ความรู้ที่เกี่ยวข้องในการทำงาน
-วาระรับรองรายงานการประชุม
-วาระสืบเนื่องจากการประชุม นำเสนอความก้าวหน้าการดำเนินงานของ 13 ชุมชนให้มีตัวแทนมานำเสนอชุมชนละ3-5 นาที
-วาระเพื่อพิจารณา ครั้งหน้าจะเป็นการนำเสนอแผนการสำรวจข้อมูล การพัฒนาศักยภาพกลุ่มอาชีพ และพื้นที่นำร่องในการทำงานร่วมในปี 65 โดยนัดประชุมครั้งที่ 2 วันที่ 19 พฤศจิกายน เวลา 09.00-12.00 น.
3.แผนระยะสั้น 19 คค.-18 พย.64
3.1 จัดประชุมร่วมกับ 8 ชุมชนริมคลองสำโรง+5 ชุมชนเป้าหมายใหม่ ที่ไม่ได้อยู่ใน 13 ชุมชนที่ได้รับงบสนับสนุน เพื่อร่างแผนการสำรวจข้อมูล การพัฒนาศักยภาพ การสร้างความเข้มแข็งของชุมชนในระยะยาว
3.2 ร่วมกับมูลนิธิชุมชนสงขลา พัฒนาศักยภาพตัวแทนชุมชนและเยาวชน (ผู้ใหญ่ 1 เด็ก 1 ต่อชุมชน) การใช้แอพพลิเคชั่น iMed@home ในการเก็บข้อมูลการเยี่ยมบ้าน และการใช้สื่อ
3.3 นัดแกนนำ 13 ชุมชนพัฒนาศักยภาพ จัดเวทีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้พร้อมกับรับสมัครชุมชนนำร่องที่จะดำเนินการร่วมกับภาคีเครือข่ายในพื้นที่
ทั้ง 3 กิจกรรมนำร่างแนวทางมารายงานและขออนุมัติในที่ประชุมใหญ่อีกครั้ง
4)แผนระยะยาว
-ด้านที่อยู่อาศัย ชุมชนจะสำรวจข้อมูล นำข้อมูลมารับรองกันในที่ประชุมใหญ่ แล้วจัดทำแผนงานแก้ปัญหา
-ด้านความเข้มแข็งของชุมชน เตรียมพร้อมพัฒนากลไก การออมทรัพย์ การบริหารจัดการ การทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิต/แผนสุขภาพ โดยบูรณาการความร่วมมือด้วยกัน
-ด้านระบบข้อมูล เชื่อมโยงงานที่อยู่อาศัยทั้งจังหวัดร่วมกับภาคส่วนต่างๆ
Relate topics
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”