"งานข้อมูลในพื้นที่ 9 ชุมชนนำร่องเทศบาลนครหาดใหญ่ร่วมกับภาคีเครือข่าย สสส."

  • photo  , 1422x640 pixel , 122,530 bytes.
  • photo  , 1422x640 pixel , 113,599 bytes.
  • photo  , 1420x640 pixel , 115,691 bytes.
  • photo  , 1420x640 pixel , 87,686 bytes.
  • photo  , 1420x640 pixel , 119,249 bytes.
  • photo  , 1420x640 pixel , 80,211 bytes.

"งานข้อมูลในพื้นที่ 9 ชุมชนนำร่องเทศบาลนครหาดใหญ่ร่วมกับภาคีเครือข่าย สสส."

วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 รับคำเชิญของท่านสมพร ใช้บางยาง เข้าไปนำเสนอระบบข้อมูลที่มูลนิธิชุมชนสงขลาดำเนินการอยู่ทั้งในระดับปฎิบัติและแนวคิด ในการประชุมร่วมของสสส.สำนัก 3 กับทน.หาดใหญ่ ภายใต้โครงการพัฒนานครหาดใหญ่เมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน ณ ห้องประชุมสำนักงานโครงการ

งานข้อมูลเป็นกิจกรรมเริ่มต้นของโครงการที่จะดำเนินการกับ 9 ชุมชนนำร่อง

ได้นำเสนอการจัดการข้อมูลของแอพพลิเคชั่น iMed@home ที่มีทั้งใช้แบบสอบถามและผ่านระบบเยี่ยมบ้าน ในการดูแลประชากรผู้อยู่ในภาวะพึ่งพิง เป็นการจัดการข้อมูลรายบุคคลในระดับตั้งแต่ชุมชน/หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ ทั้งเก็บข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลปัญหา/ความต้องการ การลงบริการ เพื่อใช้ประกอบการทำแผน(ระดับชุมชนและระดับบุคคล) แก้ปัญหาและรายงานผล ซึ่งต้องพัฒนากลไกผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาร่วมดำเนินการตั้งแต่ต้น ข้อมูลเป็นเพียงเครื่องมือให้ไปถึงเป้าหมาย

การทำงานระดับชุมชน จะต้องดำเนินการควบคู่กันไปทั้งพัฒนาทีมบนฐานความรู้สึกเป็นเจ้าของ มีส่วนร่วมกับแต่ละภาคส่วน และคู่กับกลไกเสริมหนุนระดับนโยบายในการปรับเปลี่ยน Mindset การทำงานร่วมกัน ไม่คิดแบบแยกส่วน และประสานสรรพกำลังผู้ที่เกี่ยวข้องได้มาร่วมทำงานบนประโยชน์ของเมืองร่วมกัน

และเสนอไปถึงการให้มี Datacenter ของเมือง เพื่อนำข้อมูล data ของแต่ละหน่วยงานที่ทำงานแยกส่วนจากกันเข้ามาสู่ระบบเดียวกัน ควบคู่กันไปด้วย งานพื้นฐานของเมืองเหล่านี้ ยังถมไม่เต็ม และยังมีอยู่ไม่มาก โดยเฉพาะความเป็นชุมชน ที่มีแต่ชื่อ นับเป็นโจทย์ร่วมที่น่าท้าทายมาก กับการลงมือทำร่วม มากกว่าไปทำให้

Relate topics