ความรุนแรงอันหนักหน่วงซ้ำซ้อนที่กดทับผู้หญิงชายแดนใต้

  • photo  , 1000x667 pixel , 99,784 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 102,797 bytes.
  • photo  , 960x640 pixel , 35,926 bytes.
  • photo  , 960x631 pixel , 86,915 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 107,181 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 80,963 bytes.
  • photo  , 2048x1365 pixel , 195,867 bytes.
  • photo  , 2048x1365 pixel , 171,751 bytes.
  • photo  , 2048x1365 pixel , 161,064 bytes.
  • photo  , 1566x1044 pixel , 136,815 bytes.

ความรุนแรงอันหนักหน่วงซ้ำซ้อนที่กดทับผู้หญิงชายแดนใต้

วันที่ 25 พ.ย. - 10 ธ.ค. ของทุกปี เป็น 16 วันของการรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล

ความรุนแรงที่ผู้หญิงในจชต.ได้รับนั้น หนักหน่วง และกดทับกันหลายชั้น หลายซ้อนมาก ภายใต้บริบทพื้นที่  ที่โควิดแพร่ระบาดอย่างหนัก อีกทั้ง สถานการณ์ความไม่สงบเดิม  และโลกยุคสื่อออนไลน์

"จน"

ก่อนโควิด สามจังหวัดชายแดนใต้  ได้ชื่อว่า "จนมากแบบเรื้อรัง"  ติดอันดับต้นๆ ของปท.มาหลายสิบปี  พิษโควิดยิ่งทำให้ "จนลง" รายได้เฉลี่ยของคนในพื้นที่ย่อมดำดิ่ง ต่ำเตี้ยกว่ารายได้เฉลี่ยก่อนนี้  5000 บาท/คน/เดือนแน่นอน  แถมความเหลื่อมหล้ำก็คงถ่างกว้างขึ้นไปเรื่อยๆ

"เจ็บ"

ส่วนความรุนแรงของโรคระบาด ก็ติดอันดับต้นๆ ของประเทศต่อเนื่องหลายเดือนมาแล้ว โควิดคร่าชีวิตคนในพื้นที่ไปกว่า 1,000 คน การใช้ยาแรง ทั้งเคอร์ฟิว lockdown (บางแห่งถูก lockdown เป็นเดือน เช่น ต.เกาะสะท้อน อ.ตากใบ จ.นราธิวาส ) เพื่อลดเจ็บ ลดตายจากโควิด แต่อีกด้านก็ส่งผลกระทบ  ทำให้ผู้คนยิ่ง "จนลง"  แถมเกิดคนจนกลุ่มใหม่ๆ  สมทบ

"ความรุนแรงในครอบครัว"

ความรุนแรงในครอบครัวเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากความเครียดและวิตกกังวลจากผลกระทบของทั้งความ "จน"  และ "เจ็บ" ที่สูงมากกว่าพื้นที่อื่น และหากสมาชิกในครอบครัวควบคุมอารมณ์กันไม่ได้  โอกาสที่จะกระทบกระทั่งกันโดยวาจา ไปจนถึงขั้นลงไม้ลงมือกัน โดยผู้หญิงรวมไปถึงเด็กๆ มักเป็นผู้ถูกกระทำ ก็ย่อมมีมากกว่าในสถานการณ์ปกติ

"บ้าน"  ที่ควรจะเป็นที่ปลอดภัยที่สุด  ก็กลายเป็นที่ไม่ปลอดภัยต่อไปได้

ก่อนโควิด พบว่าเกือบ 1 ใน 2 ของผู้หญิงฟ้องหย่าเพราะสามีติดยาเสพติด  ที่มักพ่วงมากับการไม่ส่งเสียเลี้ยงดูและทำร้ายร่างกายและจิตใจยาวนานหลายปี มีผู้หญิงมากถึง 23 คน  (ร้อยละ 10 ของผู้มาร้องเรียนที่ศูนย์ให้คำปรึกษาผู้หญิงเกี่ยวกับปัญหาครอบครัว ที่สำนักงานคณะกก.อิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส ) ที่สามีต้องโทษจำคุกนาน 8-33 ปี และไม่สามารถดูแลครอบครัวได้  (ข้อมูลที่ระบุในรายงานสถานการณ์เด็ก เยาวชน และผู้หญิงในจชต. จัดทำโดยศป.ดส.)

"ความรุนแรงจากสถานการณ์ไม่สงบ"

17 ปีของไฟใต้ ทำให้ผู้หญิงต้องกลายเป็นม่ายไป 3,132 คน เด็กกำพร้า  6,687 คน มีผู้หญิงเสียชีวิตโดยตรงจากสถานการณ์ 655 คน เด็กต่ำกว่า 18 ปี เสียชีวิต 271 คน แม้ระยะหลัง สถานการณ์คลี่คลายไปมาก  อย่างไรก็ตามเหตุการณ์เมื่อ 30 ก.ย.ที่ผ่านมา ที่มีผู้หญิงกับเด็กโดนลูกหลง ได้รับบาดเจ็บ จากเหตุการณ์โจมตีจุดตรวจที่อ.สุไหงโกลก จ.นราธิวาส  และความไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควรจะเป็นของการพูดคุยสันติสุข ซึ่งจะเป็นหนทางของการแสวงหาทางออกจากความขัดแย้ง โดยสันติวิธี  ทำใหัยังไม่มีความหวังว่าจะเกิดความสุขสงบในพื้นที่ชายแดนใต้ โดยปราศจากความรุนแรง และยั่งยืน

"ความรุนแรงจาก Hate Speech"

Hate Speech เป็นการแสดงออกถึงความเกลียดชังทางวาจาและการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ  ในโลกสมัยใหม่ สื่อออนไลน์ได้กลายเป็นช่องทางการโจมตีด้วย Hate Speech ที่ไปได้เร็วและแรงมาก

ความหวาดระแวงระหว่างคนสองวัฒนธรรม ทั้งชาวพุทธ - มุสลิม  ที่เป็นผลพวงจากเหตุการณ์ความไม่สงบในชายแดนใต้ ทำให้มีการใช้ Hate Speech  ระหว่างกันผ่านสื่อออนไลน์พิ่มขึ้น

ผู้หญิง และเด็กหญิงมุสลิม ที่แสดงอัตลักษณ์ทางศาสนาชัดเจน โดยการคลุมฮิญาบ ยังคงถูกกีดกัน เลือกปฏิบัติในพื้นที่การทำงาน  และการศึกษา รวมทั้งเป็นเหยื่อของ Hate Speech และการสร้างความหวาดกลัว

ส่วนผู้หญิงนักปกป้องสิทธิมนุษยชน Activist ในจังหวัดชายแเดนภาคใต้ ก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่ง ที่กลายเป็นเหยื่อจากปฏิบัติการ IO  และ Hate Speech ทางสื่อออนไลน์ ในขณะที่สังคมไทย Hate Speech อันเนื่องจากความเห็นต่างทางการเมือง แพร่กระจายผ่านทางสื่อโซเชียลอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการแบ่งข้าง กีดกัน และความสัมพันธ์ของผู้คนร้าวลึก

แกนนำกลุ่มผู้หญิงภาคประชาสังคม ได้รวมตัวกันเข้าอบรมเป็นวิทยากรกระบวนการ เรื่องการรู้เท่าทัน Hate Speech ทางสื่อออนไลน์ และการรับมือ เพื่อขยายผลไปจัดอบรมต่อให้แกนนำผู้หญิงในพื้นที่ชายแดนใต้อีก 100 คน

แม้ผู้หญิงในชายแดนใต้  จะตกเป็นเหยื่อความรุนแรงอันหนักหน่วงในรูปแบบต่างๆ ตามที่กล่าวข้างต้น  แต่ในอีกด้าน ก็เห็นความพยายามของกลุ่มผู้หญิงภาคประชาสังคม ที่ลุกขึ้นมาเป็น  Active Actor  หวังสร้างการเปลี่ยนแปลง

เพราะผลกระทบที่เธอได้รับนั้นสาหัจสากรรจ์  เกินกว่าจะยอมจำนน และนิ่งเฉย

หมายเหตุ  : ภาพประกอบ  เป็นภาพกิจกรรมความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้หญิงภาคประชาสังคมในพื้นที่ ในช่วงวันรณรงค์ยุติความรุนแรงต่อสตรีสากล 25 พ.ย. - 10 ธ.ค. 64

จัดโดย Civic Women ศป.ดส. และ UN Women

#CivicWomen

#UNWomen

#ศปดส

#Orangetheworld

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ CIVIC WOMEN

Relate topics