"ระบบการบริการและดูแลผู้ป่วยที่บ้าน โดยผู้ดูแลที่บ้านผ่านPlatform iMedCare"

  • photo  , 1477x1108 pixel , 177,210 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 154,988 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 180,529 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 197,970 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 185,194 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 170,800 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 146,208 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 151,908 bytes.
  • photo  , 816x612 pixel , 53,239 bytes.

"ระบบการบริการและดูแลผู้ป่วยที่บ้าน โดยผู้ดูแลที่บ้านผ่านPlatform iMedCare"

นั่นคือนิยามสั้นๆ ของ iMedCare อธิบายงานภายใต้ความร่วมมือที่มูลนิธิชุมชนสงขลากับคณะพยาบาลศาสตร์มอ.จับมือทำงานด้วยกัน ด้านหนึ่งรองรับสังคมสูงวัยในสังคมไทย ช่วยเต็มเต็มระบบบริการ อีกด้านหนึ่งเพื่อสร้างรายได้ให้กับองค์กรภาคประชาสังคมในแต่ละพื้นที่

ในส่วนจังหวัดสงขลา Platform iMedCare จะเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์เศรษฐกิจสร้างสรรค์ร่วมกับสร้างสังคมเป็นสุข ภายใต้แนวคิดวิสัยทัศน์สงขลา ๒๕๗๐ ร่วมกับสมัชชาสุขภาพจังหวัด/วันพลเมืองสงขลา และเป็นส่วนหนึ่งของงานเขตสุขภาพเพื่อประชาชนเขต ๑๒(กขป.)ระยะที่ ๒

เราได้รับการสนับสนุนจากหลายภาคส่วน...งบจากสวทช.ที่ได้มาทีมโปรแกรมเมอร์ คุณภานุมาศ นนทพันธ์ พัฒนาแอพพลิเคชั่น iMedCare ผ่านระบบ IoT/AI/ Sharing Economy เวอร์ชั่นแรกพัฒนาแล้วเสร็จ รอเพียงการทดสอบระบบหลังโควิด

ดร.แสงอรุณ อิสระมาลัย คณะพยาบาลฯปรับหลักสูตรอบรมสร้างผู้ดูแลที่บ้าน(Home Caregiver) โดยระบบ E-Learning/E-Testing และฝึกปฎิบัติในห้อง Lab รุ่นที่ ๑ อบรมด้วยงบจากองค์การบริหารส่วนจังหวัดและรุ่นที่ ๒ งบจากกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา กำลังอบรมร่วม ๑๐๐ คน ผู้ผ่านการอบรมจะได้รับประกาศนียบัตรรับรอง

ล่าสุดนัดทีมแกนนำรุ่น ๑ มาจัดตั้งชมรม imedCare สงขลาเพื่อเป็นเครือข่ายระดับจังหวัดร่วมกำหนดทิศทางการดำเนินงาน และเสริมหนุนพื้นที่ในระยะยาว

จากการประชุมร่วมกันได้ข้อสรุปวางจังหวะก้าวการดำเนินกิจกรรมในพื้นที่ต้นแบบ

๑.มกราคม ๖๕ แกนนำและ HCG ที่ผ่านการอบรมจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อสังคม imedCare (หรือชื่ออื่นที่เหมาะสม)อำเภอสะเดา อำเภอเมือง อำเภอหาดใหญ่ จัดวางโครงสร้างบริหารจัดการ อาทิ ที่ตั้ง โครงสร้างการบริหาร การประสานงาน การส่งต่อการบริการ คู่ขนานกับภาระงานทีมกลางดำเนินการ จัดทำสื่อจำพวกโปสเตอร์ แผ่นพับ เผยแพร่ในsocialmedia พร้อมเปิดบัญชีกองทุน

๒.กุมภาพันธ์ ประสานเครือข่ายบริการระดับอำเภอ : ร่วมประเมินความต้องการ จัดทำแผนเสริมหนุนระบบบริการที่มีในพื้นที่ และประชาสัมพันธ์Platformให้เป็นที่รู้จัก

๓.มีนาคม-จัดทำแผนบริการระดับตำบล รองรับระบบ LTC บางแห่งอาจจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนรองรับไปด้วย เน้นการเสริมหนุนระบบบริการของพื้นที่ ดูแลผู้ตกหล่นจากระบบบริการเป็นหลัก

ทั้งนี้จะมีบริการหลัก ได้แก่ ทำความสะอาดร่างกาย ทำความสะอาดที่นั่ง/ที่นอน ให้อาหาร พลิกตะแคงตัว ยืดเหยียดข้อและกล้ามเนื้อ เคาะปอดและดูดเสมหะ

บริการอื่นๆ ได้แก่ ๑) พูดคุยเป็นเพื่อน ๒) พาไปพบแพทย์ตามนัด ๓) พาไปวัด/พบเพื่อน/ไปซื้อของ/ออกกำลังกาย ฯลฯ ๔) ช่วยเหลือในกิจวัตรประจำวัน เช่น อาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า ป้อนข้าว พาเดิน เข้านอน

Platform มีการบันทึกประวัติการให้บริการรายบุคคล ที่สามารถส่งต่อข้อมูลและออกแบบการให้บริการร่วมกับ CM (Care Manager หมายถึง ผู้จัดการระบบการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุข) ในแต่ละพื้นที่จาก สปสช. กรณีพื้นที่ซึ่ง MOU ความร่วมมือกัน หรือสร้างความร่วมมือกับสปสช.ผ่านกองทุนสุขภาพตำบล กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพจังหวัด และ CM ของระบบที่ต่อไปทีมกลางจะสร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการ

โดยเปิดให้บริการ ๓ ระดับ คือ ระดับตำบลเน้นลูกค้ากลุ่ม LTC กลุ่มนี้ไม่เน้นสร้างรายได้ แต่จะเสริมการให้บริการในชุมชน สร้างคน(HCG)พัฒนาคุณภาพผู้ให้บริการ ส่วนระดับอำเภอโดยเฉพาะเขตเมืองที่จะเป็นกลุ่มพรีเมี่ยม จะสร้างรายได้ผ่านวิสาหกิจเพื่อสังคม และในรูปแบบเฟรน์ไซส์ กรณีจับมือกับสถานบริการเอกชน โดยเข้าเสริมการพัฒนามาตรฐานการให้บริการของ HCG และการใช้Platform

อนาคตจะเสริมบริการอื่น เช่น ฟื้นฟูสมอง การรับส่งอาหารสุขภาพร่วมกับ iGreenSmile การจ้างบริการทำความสะอาด ซ่อมไฟฟ้า ห้องน้ำ ฯลฯ ควบคู่กับการพัฒนาศักยภาพ HCG เพิ่มเติม และระดมทุนผ่านการถือหุ้น

สรุปการประชุมจากเวทีคู่ขนานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 14 เวทีเครือข่ายจังหวัดสงขลา

วันที่ 15 - 16 ธันวาคม 2564

Relate topics