"ธรรมนูญสุขภาวะคนพิการ เทศบาลตำบลกำแพง จังหวัดสตูล"

  • photo  , 720x540 pixel , 30,513 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 196,389 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 76,976 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 67,903 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 62,217 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 160,687 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 127,166 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 157,705 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 175,854 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 190,643 bytes.

"ธรรมนูญสุขภาวะคนพิการทต.กำแพง"

กติกาหรือข้อตกลงในชุมชน ไม่ว่าจะเรียกขานอย่างไรล้วนเป็นกระบวนการสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของและมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางหรือแนวทางการพัฒนา

วันที่ 21 ธันวาคม 2564 นัดประชุมคณะทำงานจัดทำธรรมนูญสุขภาวะทต.กำแพง อ.ละงู จ.สตูล นำโดยนายกวิชิต แซ่ลิ้ม และรองนายกวราภรณ์ นำทีมรองปลัด สท. อสม. และเลขานุการนายกร่วมทำความเข้าใจการทำธรรมนูญสุขภาวะ โดยเน้นประเด็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ที่มีใน ๘ ชุมชนจำนวน ๑๓๙ คน รวมถึงฝึกใช้แอพพลิเคชั่น iMed@home ในการเก็บข้อมูลผ่านระบบการเยี่ยมบ้าน นำข้อมูลที่ได้มาเป็นส่วนหนึ่งของการสะท้อนปัญหาและกำหนดกติกาในการดูแลคุณภาพชีวิตคนพิการ รวมถึงบันทึกผลการช่วยเหลือรายบุคคล ข้อมูลกลางนี้จะเอื้อให้เกิดการบูรณาการปรับระบบการทำงานของหน่วยงานต่างๆร่วมกัน โดยการสนับสนุนของสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ(สช.) ร่วมกับคณะกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชน(กขป.) เขต ๑๒

ข้อมูลเชิงประจักษ์ที่มีทั้งข้อมูลพื้นฐาน ภาพ ข้อมูลความต้องการจากการลงเยี่ยมบ้านในด้านสุขภาพ สังคม สภาพแวดล้อมและบันทึกในแอพฯ การวัดสัญญาณชีพ เหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาระบบการดูแลคุณภาพชีวิตคนพิการร่วมกับหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง

ทีมเยี่ยมบ้านประกอบด้วยอสม. กำหนดคนและความรับผิดชอบต่อคนพิการในแต่ละชุมชนลงเก็บข้อมูล เริ่มด้วยการบันทึกข้อมูลพื้นฐานเพิ่มข้อมูลผู้ป่วย(คนพิการ)รายใหม่ เพื่อให้มีรายชื่อเข้าสู่ระบบ จากนั้นลงเยี่ยมบ้านสำรวจความต้องการ บันทึกข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญ วัดสัญญาณชีพ ให้แล้วเสร็จก่อนวันที่ ๑๐ มกราคม ทีมตำบลจะได้ประมวลผลข้อมูล นำเสนอคณะทำงานที่ประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในวันที่ ๑๒ มกราคม ร่างธรรมนูญสุขภาวะต่อไป

จุดเด่นของการจัดทำธรรมนูญสุขภาวะรอบนี้ เน้นการใช่ระบบข้อมูลกลางมาเป็นกระบวนการหนึ่งในการดำเนินการ ประกอบด้วย ระบบเยี่ยมบ้านผ่านแอพพลิเคชั่น iMed@home ใช้เก็บข้อมูลแบบเร่งด่วน และใช้แบบสอบถามคนพิการในระบบ www.communeinfo.com อสม.และทีมสามารถบันทึกข้อมูลที่จำเป็นในฐานข้อมูลรายบุคคลกรณีคนพิการดังกล่าว นำมาลงเก็บข้อมูลพื้นฐานสำคัญเพื่อใช้งานในเบื้องต้น อนาคตหากต้องการเก็บข้อมูลเชิงลึกผ่านแบบสอบถามที่มีกว่าสิบหน้าก็สามารถปรับใช้ได้ต่อไป โดยมีผู้ใช้งานประกอบด้วยทีมเยี่ยมบ้าน สามารถบันทึกและแก้ไขข้อมูลรายบุคคลประชากรเป้าหมายที่ตนรับผิดชอบ และทีม Admin ของตำบลที่จะประมวลผล เข้าถึงข้อมูลในภาพรวมของตำบล และสามารถแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคล ทีมดังกล่าวประกอบด้วยตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถใช้ข้อมูลฐานเดียวกันในการทำงาน โดยมีคุณภาพชีวิตของประชากรกลุ่มเป้าหมายรายบุคคลเป็นเป้าหมาย ระบบข้อมูลกลางจะช่วยให้แต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเห็นปัญหา ศักยภาพ ประวัติการช่วยเหลือดูแลคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆของประชากรเป้าหมายทั้งรายบุคคลและภาพรวมเชิงพื้นที่ รวมถึงการใช้ประโยชน์ในแง่สนับสนุนการบริการสาธารณะแบบบูรณาการอีกด้วย

ทต.กำแพงเป็นอีกพื้นที่ ซึ่งเห็นคุณค่าของกระบวนการดังกล่าว และต้องการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

Relate topics