"คนไทยไร้สิทธิ์"
"คนไทยไร้สิทธิ์"
วันที่ 14 ธันวาคม 2564 กขป.เขต 12 โดยคุณชาคริตโภชะเรือง เลขานุการ กขป.เขต 12 เข้าร่วมประชุมกับสปสช.เขต 12 และเครือข่ายเพื่อพัฒนาแนวทางการดำเนินงานเพื่อการเข้าถึงสิทธิหลักประกันสุขภาพของคนไทยที่มีปัญหาสถานะบุคคลในพื้นที่จังหวัดสงขลา
ศูนย์ประสานงานหลักประกันสุขภาพภาคประชาชนและมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย ได้ดำเนินการกับ 121 เคส(ข้อมูลที่พบในเบื้องต้น) สำเร็จไป 10 เคส ส่วนที่เหลือทำให้พบช่องว่างและอุปสรรคหลายประการ รวมกับการแลกเปลี่ยนกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้แก่ กรมการปกครอง ศอบต. พมจ./ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ฝ่ายสังคมสงเคราะห์รพ. สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ ม.อ. ดังนี้
1.ความร่วมมือ โดยเฉพาะหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง แนวปฎิบัติกับนโยบายยังเข้าใจไม่ตรงกัน ส่งผลให้นโยบายไม่ได้นำไปปฎิบัติ หรือประชาชนเข้าไม่ถึงแนวปฎิบัติของแต่ละหน่วยงาน สงขลามีเครือข่ายองค์กรที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก ทั้งภาครัฐส่วนภูมิภาค ส่วนท้องถิ่น ประชาชน เอกชน วิชาการ มีปัญหาทั้งการสวมสิทธิ์ การอยู่ในทะเบียนบ้านกลาง การเป็นคนต่างถิ่น ย้ายถิ่นทำงาน การไม่ได้แจ้งเกิด การมีคนไทยที่เดินทางไปมาระหว่างประเทศ ระบบการเชื่อมประสานแยกส่วนจากกัน ขาดการกำกับติดตามประเมินผล ข้อมูลไม่มีการส่งต่อเชื่อมโยงและไม่มีส่วนร่วมกับเครือข่าย
2.กฏหมายที่เกี่ยวข้อง มีรายละเอียดที่เข้าไม่ถึง กระจัดกระจาย มีข้อจำกัดทางการปฎิบัติ ระบบยังรวมอยู่ศูนย์กลาง ไม่ส่งต่อหรือกระจายอำนาจการจัดการ
3.ความต่อเนื่องในการแก้ปัญหา ด้วยการย้ายถิ่นฐานของผู้รับผิดชอบและคนไทยไร้สิทธิ์ รวมถึงขั้นตอนในการพิสูจน์สิทธิ์ การรับรองตัวตน การพิสูจน์ DNA การแก้ปัญหาใช้เวลานาน ขาดงบประมาณรองรับในการเดินทาง ไม่มีคนช่วยประสานงานส่งต่อให้กับหน่วยงานอย่างใกล้ชิด
4.ค่าใช้จ่ายในส่วนที่งานสังคมสงเคราะห์แต่ละรพ.รองรับ กรณีผู้มารับบริการไม่มีบัตรประชาชน แต่ละปีมีจำนวนหลายล้านบาท ภาระหนักในการแก้ปัญหาอยู่ที่ตัวเจ้าหน้าที่และองค์กรรับผิดชอบ ที่จะต้องช่วยเหลือทั้งในส่วนการเดินเรื่องแก้ปัญหาและการช่วยเหลือทางการเงิน
การแก้ปัญหาจึงคำนึงถึงตั้งแต่ต้นทางคือ การแจ้งเกิด ซึ่งยังพบปัญหาไม่มีการแจ้งเกิดให้ถูกต้อง นำมาสู่การเข้าไม่ถึงสิทธิ์ต่างๆดังที่เห็นอยู่ ไปจนกระทั่งเสียชีวิต
หน่วยงานที่่เข้ามาร่วมประชุมได้นำเสนอรูปแบบ ต้นทุนที่แต่ละองค์กรได้ดำเนินการ มีตัวอย่างดีๆ รวมถึงกิจกรรมแนวทางที่กำลังดำเนินการ รวมถึงกลไกที่มีอยู่ เป็นทุนที่ดี
ข้อสรุปการประชุมในวันนี้จึงต้องการเดินหน้าต่อไปเพื่อให้เกิดมรรคผลความสำเร็จ
1.แก้ปัญหา 121 เคสให้แล้วเสร็จ พร้อมจัดการความรู้เพื่อให้เห็นรูปแบบของปัญหาและแนวทางปฎิบัติ โดยสมาคมผู้บริโภคสงขลาและมูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย อาจมีพื้นที่นำร่องที่สามารถปฎิบัติการระยะยาว
2.ประสานภาคีเครือข่ายระดับจังหวัด/เขต โดยกขป.เขต 12 และสปสช.เขต 12 กำหนดยุทธศาสตร์การทำงาน ประสานส่งต่อภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องหนุนเสิรมการขับเคลื่อนระดับพื้นที่ สร้างกระบวนการ เครื่องมือรองรับการแก้ปัญหา และประสานเชิงนโยบายระดับเขต
3.มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย สสส. สปสช.และภาคีเชิงยุทธศาสตร์ระดับชาติ ประสานเชิงนโยบาย แลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้ามเขต แก้ปัญหาในประเด็นยุทธศาสตร์สำคัญ อาทิ การพิสูจน์สิทธิ์ การตรวจ DNA
Relate topics
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”