"การทำงานชุมชนคือโอกาสการพัฒนาตนเอง"
"การทำงานชุมชนคือโอกาสการพัฒนาตนเอง"
วันที่ 20 มกราคม 2564 มูลนิธิชุมชนสงขลา/กขป.เขต 12 เข้าร่วมในฐานะเครือข่ายความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในการทำงานกับเทศบาลนครหาดใหญ่ ร่วมรายงานผลการดำเนินงานด้านการพัฒนาสังคม โดยศูนย์อาสาสมัคร ม.อ. และเป็นส่วนหนึ่งของ Hatyai Sandbox plus ในมิติสังคม เพื่อขอคำแนะนำจากนายกเทศมนตรีนครหาดใหญ่และทีมงานในการทำงานร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ใน 6 ชุมชน
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำบุคลากร ม.อ. 20 คน นักศึกษา 20 คน และอาสาสมัครชุมชน 15 คน ดำเนินการใน 6 ชุมชนได้แก่ ชุมชนป้อมหก ชุมชนจันทร์วิโรจน์ ชุมชนจันทร์นิเวศน์ ชุมชนรัชมังคลาภิเษก ชุมชนสถานีสอง ชุมชนบางหัก
กิจกรรมสำคัญได้เก็บข้อมูลกลุ่มเปราะบาง 250 ครัวเรือน พบปัญหาสำคัญด้านที่อยู่อาศัย ชุมชนแออัดเสี่ยงต่อการติดเชื้อ การตกงาน/ขาดรายได้ คุณภาพชีวิตเด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุ และได้พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครเพื่อเสริมการทำงานในชุมชน ระดมทุนผ่านโครงการอาหารปันอิ่ม และร่วมจัดตั้งกลุ่มเส้นด้าย-หาดใหญ่ ตรวจหาเชื้อให้กับประชาชนกว่า 7 พันรายในช่วงเวลา 2 เดือน
กิจกรรมที่จะดำเนินการในปี 65 ภายใต้การสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จะนำทีมอาสาสมัครและบุคลากรจำนวน 50 คนร่วมกับเครือข่ายลงทำกิจกรรมยกระดับคุณภาพชีวิต 3 กลุ่มวัยเน้นการส่งเสริมอาชีพ การพัฒนาเด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุ การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในครัวเรือน
ทั้งนี้มูลนิธิชุมชนสงขลาเข้าสนับสนุนระบบข้อมูลโดยใช้แอพ iMed@home สำรวจข้อมูลกลุ่มเปราะบางทางสังคม
นายสาคร ทองมุณี นายกเทศมนตรีพร้อมให้การสนับสนุน ทำงานร่วมกันโดยจะมีการ MOU ความร่วมมือเพื่อให้เกิดการทำงานอย่างเป็นทางการเสริมหนุนต่อไป พร้อมกับพัฒนากระบวนการทำงานที่ยังต้องการพลังจากเครือข่ายและการทำงานร่วมกันของแต่ละภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
ดร.วิชัย กาญจนสุวรรณ รองนายกเทศมนตรี ได้กล่าวถึงข้อมูลประชากรแฝงในพื้นที่ พบข้อมูลจากสิทธิบัตรทอง ประกันสังคม และข้าร่าชการ ทำให้ประมวลจำนวนประชากรในพื้นที่ทน.หาดใหญ่ได้ว่ามีราว 310,000 คน มากกว่าประชากรตามทะเบียนที่มี 150,000 คน ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจของโครงการและทุนทางสังคมอื่นๆ เช่น โครงการของสสส.สำนัก 3 ที่ลงทำงานในอีก 9 ชุมชนจะได้นำมาสู่การวางแผนการแก้ปัญหาร่วมกันต่อไป
ดร.วิชัย กล่าวอีกว่า สิ่งที่จะได้มากที่สุดจากการทำงานร่วมกันก็คือ บัณฑิตอาสา จะได้พัฒนาตนเอง ได้เรียนรู้ ได้เข้าใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ซึ่งจะเป็นพื้นฐานทำให้เกิดความสำเร็จในชีวิตต่อไป
Relate topics
- ประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมพลังสร้างความเข้มแข็งนโยบายสาธารณะว่าด้วย "ร่วมสร้างเส้นทางอาหารให้มั่นคงและปลอดภัย"
- รายงานผลการดำเนินงานของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน(กขป.) เขตพื้นที่ 4 และ เขตพื้นที่ 7 ในการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ครั้งที่ 3/2565
- หมู่บ้าน "พริกไทยพันธุ์สุไหงอุเป" อัตลักษณ์ แห่งทุ่งหว้า สตูล
- “ความมั่นคงทางอาหารในภาวะวิกฤต”บ้านห้วยลึก เคียนซา สุราษฏร์ธานี
- รายงานผลการดำเนินงานของเขตสุขภาพเพื่อประชาชน(กขป.) เขตพื้นที่ 3 และ เขตพื้นที่ 10 ในการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ครั้งที่ 2/2565
- ทิศทางและแนวทางศูนย์ประสานหลักประกันสุขภาพและคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดชุมพร
- "บอนสี" ราชินีแห่งไม้ใบพร้อมให้เรียนรู้ที่ฟาร์มตัวอย่างบ้านควนหรัน อำเภอาะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา
- "วัดเตรียมรองรับสังคมสูงวัยจังหวัดตรัง"
- ประชุมพัฒนาโครงการความมั่นคงทางอาหาร "ข้าวตรังหรอยจังหู้"
- สภาผู้บริโภคจังหวัดสุราษฎร์ธานีกับภารกิจ "ความร่วมมือคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดสุราษฎร์ธานี"