"ความร่วมมือกับเหล่ากาชาดและสมัชชาสุขภาพจังหวัดยะลา"
"ความร่วมมือกับเหล่ากาชาดและสมัชชาสุขภาพจังหวัดยะลา"
วันที่ 21 มกราคม 2565 สมัชชาสุขภาพจังหวัดยะลา ตัวแทนพื้นที่ดำเนินการธรรมนูญสุขภาพตำบล 4 ตำบล เหล่ากาชาดจังหวัดยะลา สสจ. พมจ.ร่วม 50 คน ร่วมเรียนรู้การพัฒนาระบบข้อมูลกลางของพื้นที่ผ่าน Platform iMed@home โดยมีมูลนิธิชุมชนสงขลาและกขป.เขต 12 มาร่วมสนับสนุน
ผู้เข้าร่วมได้ฝึกใช้แอพฯ iMed@home โดยเฉพ่าะระบบเยี่ยมบ้าน เพื่อให้เครือข่ายในพื้นที่ลงเก็บความต้องการ บันทึกกิจกรรมการให้ความช่วยเหลือประชากรโดยเฉพาะกลุ่มเปราะบางทางสังคม ข้อมูลที่ได้จะส่งต่อไปยังหน่วยงานในพื้นที่และกาชาดจังหวัดเพื่อร่วมกันหาทางช่วยเหลือดูแลคุณภาพชีวิตต่อไป
มีข้อสรุปความร่วมมือในสวนของการจัดทำกลุ่มเฉพาะที่เข้ามาดูแลคนไข้ในพระบรมราชูปถัมภ์ 34 รายของสมเด็จพระเทพฯ บูรณาการข้อมูลการให้ความช่วยเหลือจากกาชาด พมจ. สาธารณสุข ระบบกลุ่มจะทำงานร่วมกันระหว่าง Admin หลัก สมาชิก และผู้ป่วยทั้ง 34 ราย
ทั้งยังรับทราบความก้าวหน้าในการจัดทำธรรมนูญสุขภาพตำบลที่บางแห่งจะเข้าสู่การประกาศใช้แล้วอีกด้วย
การพัฒนาศักยภาพและการฝึกใช้ระบบนี้ ยังได้อนุมัติสิทธิให้มี Admin ระดับจังหวัด ตำบลเพื่อช่วยสนับสนุนการทำงานร่วมกัน และนัดหมายการหารือการพัฒนาระบบข้อมูลกลางระดับจังหวัดโดยการประสานงานระหว่างสมัชชาสุขภาพจังหวัด เหล่ากาชาดจังหวัด กขป.และสปสช.เขต 12 เพื่อลดความซ้ำซ้อนและประสานบูรณาการการทำงานร่วมกันต่อไป
Relate topics
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”