ความมั่นคงทางอาหารตรัง ความมั่นคงทางอาหารภาคใต้
ความมั่นคงทางอาหารภาคใต้ ความมั่นคงทางอาหารตรัง
ความมั่นคงทางอาหาร 1 ใน วาระสำคัญของการขับเคลื่อนไปสู่ภาคใต้แห่งความสุข
ประเด็นนี้ถูกหยิบยกมาพูดคุยปรึกษาหารือ เชื่อมคน เชื่อมเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม
มีการทำงานทั้งการสังเคราะห์บทเรียนรูปธรรมพื้นที่ดี ๆ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของผู้คนที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์สถานการณ์พื้นที่ ต้นทุนศักยภาพ ปัญหา อุปสรรค และพัฒนาไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายผ่าน "งานสร้างสุขภาคใต้" มาต่อเนื่อง
เสาร์ที่ผ่านมาทาง พี่เผือก Taweewat Kruasai นายกสมาคมประชาสังคมชุมพร หนึ่งในหัวขบวนสำคัญในประเด็นนี้พร้อมทีมงาน ได้วาระสัญจรมาพูดคุยกับทีมตรังเพื่อชวนต่อภาพรวมและชวนทีมตรังออกแบบเพื่อช่วยกันขยับขับเคลื่อนร่วมกัน
ทีมตรังที่เข้าร่วมก็มีพี่บุ๋ม นางสาวสุวณี ณพัทลุง จากสมัชชาสุขภาพจังหวัดตรัง พี่เอี้ยง Samran Samathi และ อ.พิเชตวุฒิ Chet Nillaor จาก ม.อ.ตรัง หัวขบวน U2T ม.อ ตรัง
ในช่วงต้นพี่เผือกช่วยทบทวนภาพหลักคิดสำคัญในประเด็นความมั่นคงทางอาหาร ซึ่งประกอบด้วย
1)อธิปไตยทางอาหาร
2)หลักประกันของชีวิต
3)การจัดความสัมพันธ์ใหม่ ระหว่างผู้ผลิต ผู้บริโภค ผู้ประกอบการ
4)ฺBCG+SDG
โดยสำหรับรูปธรรมความมั่นคงทางอาหารก็ประกอบด้วย 6 ประเด็นย่อย
1)เกษตรสุขภาพ/เกษตรกรรมยั่งยืน
2)การฟื้นฟูระบบนิเวศ (ธนาคารต้นไม้ / ฝายมีชีวิต)
3)พันธุกรรมและพืชอัตลักษณ์
4)สุขภาวะชาวสวนยาง/ยางยั่งยืน
5)ประมง
6)การพัฒนาโครงข่ายความร่วมมือระดับภาค
โดยในปีนี้ก็จะมีแผนงานที่จะมาหนุนเสริมขบวนภาคใต้ มีชุมชนสีเขียวพัฒนายั่งยืน (สภาพัฒน์ฯ) ซึ่งจะขยับผ่าน
สวนยางยั่งยืน
ประมงยั่งยืน
เกษตรอัตลักษณ์ อาทิ ข้าว สมุนไพร
นอกจากนี้ก็มีแผนปี 2565 ของทาง การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) มีแนวนโยบายที่จะลงมาสนับสนุนพื้นที่
สวนยางยั่งยืนต้นแบบ
ศูนย์เรียนรู้สวนยางยั่งยืน
ปัจจัยการผลิต/เทคโนโลยี
สมัชชาสวนยางยั่งยืน
หลังจากนั้นทีมตรังช่วยกัน mapping ปักหมุดพื้นที่รูปธรรมที่เกี่ยวข้อง
ซึ่งมีทั้งต้นทุนภายใต้การขับเคลื่อนมติสมัชชาสุขภาพสุขภาวะคนตรังยั่งยืนด้วยการดูแลนาข้าว (ตั้งแต่ปี 2557 ) + พื้นที่การทำงาน U2T ม.อ.ตรัง ที่ลงมาขยับกันโดยเฉพาะโซนตรังนาในปี 2564 และพื้นที่เป้าหมาย 2565
ที่ประชุมช่วยกันสะท้อนข้อค้นพบจากการไปขยับกับตรังนาในช่วงที่ผ่านมา
ผู้นำกลุ่มทำนาส่วนใหญ่ โดยเฉพาะถ้าเป็นกลุ่มผู้นำทางการจะไม่ค่อยมีเวลาในการมาประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือข่าย
กลุ่มทำนาขาดคนรุ่นใหม่เข้ามาทำงานเชื่อมต่อ
คนทำนาสูงอายุที่ทำไม่ไหวปล่อยพื้นที่นาให้คนทำนาที่ทำไหวเช่าทำแทนและขอแบ่งปันข้าว
พื้นที่ทำนามีการใช้ประโยชน์นาข้าวประมาณ 6 เดือน อีก 6 เดือนส่วนใหญ่ปล่อยทิ้งไว้
ปัญหาการจัดการน้ำ
หน่วยงานรัฐส่วนใหญ่พร้อมในการหนุนเสริม / เพียงแต่วิธีการทำงานส่วนใหญ่เป็นไปในรูปแบบเดิม
กลุ่มทำนาหลายกลุ่มได้โอกาสจากนโยบาย/โครงการภาครัฐช่วยสนับสนุนกลุ่มให้แข็งแรงขึ้น มีทางเลือกมากขึ้น เช่น การสนับสนุนเครื่องมือรถจักรมาช่วยในการทำนา การเก็บเกี่ยวผลผลิต อาทิ จากแต่เดิมต่อรอรถเกี่ยวข้าวจากภาคกลาง ปัจจุบันตรังในพื้นที่ก็มีหลายตัวพึ่งตนเองได้มากขึ้น / แต่ก็มีเรื่องการบริหารจัดการภายในกลุ่มบางกลุ่มที่อาจจะยังไม่ได้ตอบโจทย์การลดต้นทุนการผลิตเท่าที่ควร
โจทย์/ความท้าทายในการขยับตรังนา
การพัฒนาคนรุ่นใหม่ / แกนนำแถว 2 ในพื้นที่
การเพิ่มพื้นที่การผลิตหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว
การใช้เครื่องมือแผนพัฒนาร่วมกับท้องถิ่นเพื่อสนับสุนนการพัฒนาสุขภาวะชาวนา
การพัฒนาเป็นผู้ประกอบการ
ช่วงท้ายช่วยกันหารือเพื่อการก้าวต่อขยับความมั่นคงทางอาหารตรัง
การเพิ่มข้อมูลช่วย mapping กลุ่มเครือข่ายที่เกี่ยวข้องนอกเหนือจากตรังนา ทั้งกลุ่มประมง กลุ่มสวนยาง กลุ่มผู้ประกอบการสังคม กลุ่มเศรษฐกิจและทุน(พอช.)
การเปิดวงเปิดพื้นที่ให้กลุ่มเครือข่ายที่เกี่ยวข้องของตรังทั้งภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคประชาสังคม ได้มาเห็นข้อมูลมาต่อภาพร่วมกัน และชวนมองกันไปข้างหน้า ระดับจังหวัด ระดับภาค
โจทย์การพัฒนาเป็น "ผู้ประกอบการ" เป็นประเด็นร่วม
ปกติตรังเราขึ้นชื่อเรื่อง "ยอน" เพื่อน รอบนี้เพื่อนมา "ยอน" ถึงที่ ภายใต้
ต้นทุนพื้นที่ปฏิบัติการที่กระจายตามฐานทรัพยากรวิถี เขา ป่า นา เล หลาด
ต้นทุนการทำงานทีมสมัชชาสุขภาพตรังแบบสานพลังเครือข่ายของจังหวัดตรังที่ทำกันมาอย่างต่อเนื่อง
ต้นทุนภาควิชาการหลายสถาบัน โดยเฉพาะ ม.อ.ตรัง ที่เริ่มลงมาคลุกการทำงานกับพื้นที่มากยิ่งขึ้น
ต้นทุนการทำงานหน่วยงานภาครัฐที่มีเป้าหมายใช้ชุมชนพื้นที่เป็นฐาน
กับวิสัยทัศน์ "ตรังเมืองพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืน"
หลังจากนี้โปรดติดตาม
ก้าวต่อไป
ก้าวความมั่นคงทาอาหารจังหวัดตรัง
ก้าวตรังเมืองพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืน
เชภาดร จันทร์หอม บันทึกเรื่องราว 29 ม.ค.65 ร้านทางเลือก จ.ตรัง
Relate topics
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”