สคร.12 สงขลา เตือนผู้ปกครอง ระวังบุตรหลานรับประทานไส้กรอกไม่มีคุณภาพ เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต
สคร.12 สงขลา เตือนผู้ปกครอง ระวังบุตรหลานรับประทานไส้กรอกไม่มีคุณภาพ เสี่ยงอันตรายถึงชีวิต
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา (สคร.12 สงขลา) เตือนผู้ปกครอง ระวังบุตรหลานรับประทานไส้กรอกไม่มีคุณภาพ ระบุแหล่งผลิตไม่ชัดเจน เสี่ยงเด็กป่วยด้วยภาวะเมธฮีโมโกลบิน(Methemoglobin) อันตรายถึงชีวิต
นายแพทย์เฉลิมพล โอสถพรมมา ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กล่าวถึง สถานการณ์ผู้ป่วยที่มีภาวะเมธฮีโมโกลบิน ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 12 พบเด็กป่วยด้วยภาวะเมธ ฮีโมโกลบิน ในจังหวัดตรัง จำนวน 3 ราย จากรายงานการลงพื้นที่สอบสวนโรคของหน่วยงานในพื้นที่ พบว่า หลังผู้ป่วยรับประทานไส้กรอกภายในระยะเวลา 30 นาที มีอาการเวียนศีรษะ รู้สึกแขนขาอ่อนแรง ล้มลง หน้าซีด ปลายมือปลายเท้าเขียว ง่วงนอน โดยชนิดของไส้กรอกที่รับประทานเป็นไส้กรอกแบบหลายสี บรรจุในถุงพลาสติกใส ไม่ระบุยี่ห้อ และรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ ไม่มีเลขทะเบียน อย.กำกับ
ภาวะเมธฮีโมโกลบินในเลือด (Methemoglobin) เป็นภาวะที่ “ฮีโมโกลบิน” ในเม็ดเลือดแดงทำปฏิกิริยากับสารเคมีกลายเป็น “เมธฮีโมโกลบิน” ซึ่งในภาวะปกติฮีโมโกลบินจะทำหน้าที่จับกับออกซิเจน เมื่อ กลายเป็นเมธฮีโมโกลบินจะไม่สามารถจับกับออกซิเจนได้ ทำให้ร่างกายเกิดภาวะขาดออกซิเจน และสีเม็ด เลือดเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ
ทั้งนี้ ผู้ป่วยจะมีอาการของการขาดออกซิเจน เช่น มึนศีรษะ เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย หายใจเร็ว ปลาย มือปลายเท้าเขียว และปากเขียว หากรุนแรงจะมีอาการหอบเหนื่อยมาก เลือดเป็นกรด ความดันโลหิตต่ำและ เสียชีวิตได้
ผู้ปกครองควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ไส้กรอกที่มีคุณภาพ ระบุฉลากรายเอียดแหล่งที่มาชัดเจน สถานที่ผลิต วันหมดอายุ และมีมาตรฐานการรับรองที่เชื่อที่ถือ ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัย สามารถสอบถามได้ที่ สายด่วนกรมควบคุมโรค 1422
พรรณภัทร เพชรรัตน์ สวท.สงขลา รายงาน
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ สวท.สงขลา กรมประชาสัมพันธ์
Relate topics
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”