"กระแสสินธุ์เกษตรอินทรีย์วิถีโหนดนาเล"

  • photo  , 1000x750 pixel , 163,447 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 155,220 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 132,127 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 191,139 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 139,542 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 142,247 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 111,533 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 94,069 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 175,400 bytes.

"กระแสสินธุ์เกษตรอินทรีย์วิถีโหนดนาเล"

สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนสงขลา ร่วมกับเกษตรและสหกรณ์สงขลา เครือข่ายสมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืน อำเภอกระแสสินธฺุ์ อำเภอระโนด และอำเภอสทิ้งพระ

จัดอบรมกระบวนทัศน์กับการพัฒนาที่ยั่งยืน และอบรมผู้ตรวจแปลง SDGsPGS อำเภอกระแสินธุ์ 55 คน เพื่อพัฒนาเครือข่ายเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมของจังหวัดสงขลาอย่างยั่งยืน ที่ใช้กลไกแบบครบห่วงโซ่ ซึ่งในการขับเคลื่อนเน้นการสร้างเครือข่ายระดับอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน สู่ 1 ครัวเรือน 1 เกษตรอินทรีย์ เพื่อให้อำเภอจัดการตนเอง เป็นการพัฒนาเชิงรุก ถึงพื้นที่ชุมชน ทั้ง 22 ชุมชน จาก 4 ตำบล (ตำบลเกาะใหญ่ ตำบลโรง ตำลเชิงแส และตำบลกระแสสินธุ์)

โดยแผนการขับเคลื่อนของอำเภอกระแสสินธุ์ ใช้สูตร 25-25-25 ใน  4 ตำบลๆ ละ 25 = 100 แกนนำ และ 22 หมู่บ้านๆ ละ 25 คน =  550 ครัวเรือน เกษตรอินทรีย์ รวมทั้งอำเภอ = 675 ครัวเรือน เกษตรอินทรีย์ และพัฒนาไปตาม Roadmap สัมมาชีพในแต่ละปี ในรูปแบบนี้ จะทำให้ อำเภอกระแสสินธุ์ สามารถยกระดับเกษตรกรสู่การพัฒนาเครือข่ายที่เข้มแข็ง และสร้างเศรษฐกิจครัวเรือน ในแต่ละชุมชนและแตกตัวได้ตามเป้าหมาย

วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565  อำเภอกระแสสินธุ์ใช้โรงเรียนวัดโตนดด้วนเป็นโมเดลเป็นศูนย์กลางในการประกาศวาระเกษตรอินทรีย์ของกระแสสินธุ์ ที่จะเป็นต้นแบบขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กัน ทั้ง โรงเรียน ชุมชน วัด ร้านอาหาร ตลาดเขียว ถือว่า เป็นต้นแบบอีก หนึ่งอำเภอ ที่ขับเคลื่อนเกษตรอินทรีย์ของจังหวัดสงขลาสู่ความยั่งยืน

เรียนรู้ไปด้วยกันกับเรา สมาพันธ์อำเภอกระแสสินธุ์ สมาพันธ์เกษตรกรรมยั่งยืนสงขลา ศูนย์อำนวยการจิตอาสาพระราชทานภาค 4 ศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ภาคใต้ คณะพัฒนาความมั่นคงด้านอาหารสงขลา (สสส.)  และศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไทยบ้านภูลิตา

ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไทยบ้านภูลิตา

Relate topics