"เกษตรและอาหารสุขภาพสงขลา"

  • photo  , 1000x750 pixel , 138,630 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 197,955 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 141,042 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 166,099 bytes.
  • photo  , 1108x1477 pixel , 181,439 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 182,178 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 153,975 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 153,285 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 151,176 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 142,325 bytes.

"เกษตรและอาหารสุขภาพสงขลา"

จับมือร่วมกันระหว่างกขป.เขต 12,สมัชชาสุขภาพจังหวัดสงขลา สหกรณ์จังหวัดสงขลา มูลนิธิชุมชนสงขลาและเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัด ภายใต้โครงการบูรณาการสร้างสุขภาพอนามัยภาคประชาชนปี 2565 อบจ.สงขลา เดินสายสร้างความร่วมมือระดับอำเภอ เริ่มด้วยอำเภอควนเนียงและบางกล่ำ เชิญเกษตรจังหวัด เครือข่ายเกษตรกรในพื้นที่ ตัวแทนท้องถิ่น ณ ห้องประชุุมอำเภอบางกล่ำ

พัฒนากระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม สร้างเศรษฐกิจฐานรากบนฐานทรัพยากรและเป้าหมายด้านสุขภาพ คือการส่งเสริมการผลิตและการตลาดเกษตรและอาหารสุขภาพ

มูลนิธิชุมชนสงขลาและเครือข่ายเกษตรสุขภาพจังหวัด นำเสนอแนวทางการส่งเสริมเกษตรกรกลุ่มเกษตรอินทรีย์ PGS และ GAP ใช้แนวคิดตลาดล่วงหน้าจับมือกับรพ. โรงแรม ฯลฯ จัดทำ Platform Greensmile ที่มีตั้งแต่ฐานข้อมูลเกษตรกรระดับจังหวัด แอพพลิเคชั่น Green Smile ใช้ในการรับรองผลผลิตมาตรฐาน PGS และกำลังพัฒนาแอพฯ iGreen Smile ส่งวัตถุดิบอาหารปลอดภัยสู่รพ. ประสานเครือข่ายในพื้นที่มาร่วมดำเนินงานตั้งแต่รวมกลุ่มเกษตรกรจากแต่ละเครือข่าย การสร้างคนกลางที่จะเป็นคู่ค้ากับภาครัฐในการรวบรวมและจัดส่งผลผลิต โดยมีมูลนิธิชุมชนสงขลานำPlatformดังกล่าวมาสนับสนุนพร้อมประสานความร่วมมือเชิงนโยบายกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เป้าหมายร่วมสร้างฐานความเข้มแข็งของชุมชนในระยะยาว มีวิสาหกิจกลางทำหน้าที่คนกลางในการเชื่อมโยงฐานทุนทรัพยากรในพื้นที่ ดำเนินกิจการเพื่อชุมชนบูรณาการงานเกษตร การท่องเที่ยว วัฒนธรรม และสุขภาพเข้าด้วยกัน บนฐานความร่วมมือของเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง โดยมีท่านสหกรณ์จังหวัดนำสหกรณ์การเกษตรระดับอำเภออาสาเป็นโซ่ข้อกลาง ประเดิมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ บางกล่ำ ควนเนียง หาดใหญ่

ทั้งนี้สหกรณ์เกษตรควนเนียง กำลังส่งเสริมการผลิตในมาตรฐาน Gap มีอุปสรรคตรงเกษตรกรผลิตให้ไม่ได้ตามเป้า/ที่ดินบางคนไม่มีเอกสารสิทธิ์ ปัจจุบันมีผลผลิตมาตรฐาน GAP ผักยกแคร่ 50 หลัง ปลูกผลไม้ตามฤดูกาล เช่น แตงโม10 ราย ส่งผลผลิตให้สหกรณ์เครือข่าย บางครั้งก็แลกเปลี่ยนผลผลิต ผลผลิตบางส่วนสหกรณ์รับรองเอง และมีการส่งเสริมการตลาดแบบการท่องเที่ยว มาซื้อถึงแปลง

สหกรณ์เกษตรบางกล่ำได้มีการ MOU กับหน่วยงานต่างๆ มีเกษตรกร GAP 30 ราย/ทำจริงอยู่ราว 10 ราย ผลผลิตไม่พอจำหน่าย กำลังพัฒนาตลาดของตัวเอง โดยมีวิสาหกิจชุมชนบ้านหารเป็นหัวขบวน ต่อไปจะทำผักยกแคร่ มีแนวทางให้เงินกู้นำเงินที่ล้นระบบสหกรณ์นำมาส่งเสริมอาชีพให้สมาชิก

กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่ตำบลแม่ทอม ร่วมกับ node flagship สสส.สงขลา 20 คน ต้องการรับรองมาตรฐาน PGS จะเป็นอีกความร่วมมือ

ได้ข้อสรุปประสานจัดเวทีหารือร่วมระดับอำเภอ โดยร่วมมือกันเป็นเครือข่าย ต่อยอดฐานทุนของพื้นที่ เชื่อมโยงสร้างความร่วมมือผ่านแกนนำ ทำงานร่วมกันระหว่างสหกรณ์เกษตร มูลนิธิชุมชนสงขลา เกษตรจังหวัด เริ่มจัดเวทีระดับอำเภอปลายเดือนเมษายน ประสานเกษตรกรที่สนใจเข้าสู่ระบบการตลาดเข้ามาร่วมดำเนินกิจกรรม

Relate topics