ถอดบทเรียนกลุ่มย่อยการใช้สื่อโปสเตอร์ (RCCE) ภายใต้โครงการ การจัดการพื้นที่สุขภาวะต้นแบบว่าด้วยเรื่อง “เด็กจะปลอดภัยจากวิกฤติโควิด 19”
โควิด19เด็กจะปลอดภัย
เด็กหมายถึงบุคคลซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะในประเทศของตน ส่วนใหญ่จะกำหนดที่อายุ 18 ปี ไม่ว่าจะมีอายุเท่าไร เด็กทุกคนต่างมีสิทธิมนุษยชนเช่นเดียวกับผู้ใหญ่ รวมทั้งสิทธิในการพูดและแสดงความเห็น รวมทั้งสิทธิด้านความเท่าเทียม สุขภาพ การศึกษา สิ่งแวดล้อมที่ดี สถานที่ปลอดภัยเพื่อการดำรงชีพ และการคุ้มครองให้ปลอดพ้นจากอันตรายทั้งปวง
วันที่ 22 เมษายน 2565 สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (กลุ่มลูกเหรียง) ได้จัดกิจกรรมถอดบทเรียนกลุ่มย่อยการใช้สื่อโปสเตอร์ (RCCE) ภายใต้โครงการ การจัดการพื้นที่สุขภาวะต้นแบบว่าด้วยเรื่อง “เด็กจะปลอดภัยจากวิกฤติโควิด 19” ณ ห้องประชุมบ้านลูกเหรียง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยมีผู้เข้าร่วม จำนวน 66 คน แยกเป็นเด็ก 33 คน ผู้ปกครองหรือผู้ดูแล 33 คน
กิจกรรมที่เกิดขึ้นนี้เป็นการพบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังจากที่แกนนำพี่ใจดีลงพื้นที่แนะนำคู่มือหรือสื่อโปสเตอร์ใน5เดือนที่ผ่านมา โดยมีหัวข้อหลักในการพูดคุยคือ เรื่องสิทธิเด็ก และกฎการรักษาความปลอดภัยในบ้านฉัน
กิจกรรมจะแบ่งกลุ่มเด็กและกลุ่มผู้ใหญ่ เพื่อให้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ได้แลกเปลี่ยนหรือเสนอความคิดเห็นกันได้อย่างเต็มที่
กลุ่มเด็กมีกิจกรรมดังนี้
1.กิจกรรมสิทธิเด็ก เป็นกิจกรรมที่พี่ๆได้แจกบัตรคำที่มีเนื้อหา ข้อความต่างๆ เพื่อให้เด็กๆได้ทบทวนว่าบัตรคำที่ได้นั้นจัดอยู่ในหมวดหรือสิทธิด้านใด
2.กิจกรรม การรู้จักเนื้อตัวร่างกายของตัวเอง เพื่อให้เด็กๆรู้ว่า คนเราทุกคนไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติไหน ฐานะอะไร ล้วนแต่มีสิทธิในร่างกายของตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ทุกคนพึงมี และสามารถปกป้องสิทธิของตนเองได้
3.กิจกรรมคุณลักษณะของการเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดี เป็นกิจกรรมที่ให้เด็กๆได้เขียนในกระดาษตามความรู้สึก ความคิด ได้อย่างเต็มที่ พร้อมได้มาแลกเปลี่ยนให้กับเพื่อนๆในตำบลอื่นๆได้ทราบพร้อมๆกัน
กลุ่มผู้ใหญ่ มีกิจกรรมดังนี้
1.กิจกรรมแนะนำตัวผ่านบัตรคำ คำรูปภาพที่ได้ เป็นกิจกรรมลดความความกังวล เครียด ก่อนเข้าสู่กระบวนการอื่นๆ
2.กิจกรรมสิทธิเด็ก เป็นกิจกรรมที่ทีมงานได้แจกบัตรคำที่มีเนื้อหา ข้อความต่างๆ เพื่อให้ผู้ปกครองได้ทบทวนว่าบัตรคำที่ได้นั้นจัดอยู่ในหมวดหรือสิทธิด้านใด
3.กิจกรรมเส้นชีวิต เป็นกิจกรรมที่ให้ผู้ปกครองได้ทบทวนความเปลี่ยนแปลงทั้งในตัวเด็กและตัวเองว่าแต่ละช่วงวัย มีความเปลี่ยนแปลงอะไรหรือมีอะไรเกิดขึ้นบ้าง เป็นกิจกรรมที่ทีมงานจะแจกบัตรคำที่มีเนื้อหาข้อความ แล้วให้ผู้ปกครองนำบัตรคำนั้นๆไปวางให้ตรงกับช่วงอายุที่เกิดความเปลี่ยนแปลง
ก๊ะอันดา(นามสมมติ) เล่าให้ฟังว่า จากการที่ตัวเองเข้าร่วมกิจกรรมที่ผ่านมา ทำให้ตัวเองได้รับความรู้เรื่องสิทธิเด็กมากขึ้น และรู้สึกผิดมาก ที่บางครั้งเป็นคนใจร้อนวู่วาม ด่วนตัดสินใจว่าลูกทำผิด ไม่เคยรับฟังหรือเปิดโอกสให้ลูกได้แสดงความคิดเห็น บางครั้งมักกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆให้ลูกๆ จึงทำให้ลูกๆเกิดความอึดอัดใจ เพิ่งเข้าใจว่าทำไมลูกไม่ค่อยปรึกษาปัญหาต่างๆกับตนเองเลย
น้องอัมรี (นามสมมติ) เล่าให้ฟังว่า หลังจากที่ตัวเองเข้าร่วมกิจกรรมกับพี่ๆทำให้ตัวเอง เป็นคนมั่นใจในตัวเองมากขึ้น ซึ่งเมื่อก่อนไม่ค่อยออกไปเล่นกับเพื่อนเนื่องจากเพื่อนๆ มักจะล้อเลียนที่ตัวเองรูปร่างใหญ่กว่าเพื่อนรุ่นเดียวกัน และสามารถแสดงความคิดเห็นตามความรู้สึกของตัวเองได้
จากการถอดบทเรียนในวันนี้ ทำให้ผู้ปกครองมีความรักความเข้าใจคนในครอบครัว ไม่ลงโทษโดยวิธีที่รุนแรง ไม่แสดงกิริยาข่มขู่ หรือทำให้บุคคลในครอบครัวอับอาย ไม่ลำเอียงในการเลี้ยงดู ครอบครัวมีความรักใคร่สามัคคี ไม่ทะเลาะเบาะแว้ง มีความเห็นอกเห็นใจกัน ให้การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และรู้จักบทบาทหน้าที่ตนเอง มีความรับผิดชอบ มีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ลักขโมย ไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับครอบครัว เป็นต้น
#โครงการการจัดการพื้นที่สุขกับภาวะต้นแบบว่าด้วยเรื่องเด็กปลอดภัยจากวิกฤตโควิด19
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ กลุ่มลูกเหรียง
Relate topics
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า
- เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) ชู “ข้อเสนอ 3 ข้อ” ปกป้องเด็กเยาวชนจาก “ภัยบุหรี่ไฟฟ้า” ในเวทีระดมความเห็นภาคีปฏิบัติการพื้นที่ “ภาคใต้”
- 17 ประเด็นที่เห็นจาก NHA17
- "ประชุม กขป.เขต 12 ทีมเล็ก"
- การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบและกลไกการจัดการพื้นที่ตำบลขอนหาด (ภาคีเครือข่าย สสส.)
- "พัฒนาศักยภาพทีมพี่เลี้ยงและกองเลขาแผนงานร่วมทุนฯสงขลา"
- ประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พ.ศ.2567 “การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค (P&P): กุญแจสู่ความสำเร็จของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า”