หน่วยจัดการ Node Flagship พัทลุง กับภารกิจเวทีการกลั่นกรองโครงการ

  • photo  , 1000x750 pixel , 132,810 bytes.
  • photo  , 509x720 pixel , 96,590 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 114,660 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 123,727 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 120,613 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 128,881 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 124,572 bytes.

หน่วยจัดการ Node Flagship พัทลุง กำหนดจัดเวทีการกลั่นกรองโครงการที่ขอรับการสนับสนุนโครงการจากกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ในวันเสาร์ที่ 23 เมษายน 2565  ณ ศูนย์ส่งเสริมภูมิปัญญาผู้สูงอายุ เทศบาลเมืองพัทลุง

ในการดำเนินกิจกรรมดังกล่าวหน่วยจัดการฯ ได้รับความอนุเคราะห์การพิจารณากลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้แก่ นพ.สุภัทรฮาสุวรรณกิจ คุณชาคริต โภชะเรือง และคุณมานะ ช่วยชู ในหนุนเสริมกระบวนการสร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายภาคประชาสังคมในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัด ซึ่งในส่วนของหน่วยจัดการระดับ flagship พัทลุงนั้นกำหนดเป้าหมายการขับเคลื่อนงานสู่ “Phatthalung Green City”

ทั้งนี้มีประเด็นการพิจารณา จำนวน 5 ประเด็น ประกอบด้วย

1.การจัดการน้ำเสียชุมชน

2.การผลิตพืชอาหารปลอดภัยในสวนยาง

3.โครงการการจัดการขยะ

4.การจัดการนาปลอดภัยชุมชน

5.การจัดการทรัพยากรชายฝั่ง

มีจำนวนโครงการผ่านการพิจารณากลั่นกรองทั้งสิ้น 34 โครงการ

ในการนี้ ระยะเวลาการดำเนินโครงการ กำหนดระยะเวลาทั้งสิ้น 12 เดือน ตั้งแต่ พฤษภาคม 2565 - เมษายน 2566

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ สมาคมสร้างสุขฯคนเมืองลุง


บันทึกเพิ่มเติม

Node Flagship สสส.พัทลุง ชวนไปช่วยในฐานะผู้ทรงฯ ช่วยดูโครงการ 34 โครง ผม(ชาคริต โภชะเรือง) รับมา 10 เน้นด้านการจัดการขยะ

จุดเด่นของพัทลุง มีการประสานความร่วมมือกับอปท.ชัดเจนมากๆ ทั้งอบจ.(การทำยุทธศาสตร์จังหวัด) ทม.(เรื่องน้ำเสีย) และกองทุนสุขภาพตำบล โครงการมีการลงขันงบประมาณร่วมกัน ระบุชัดในโครงการ แยกกิจกรรมที่จะใช้งบของแต่กองทุนฯและงบจากสสส. โดยมีแนวทางกลางที่ Node ได้นำบทเรียนจากการทำงาน 2 ปีและต่อยอดกรณีพื้นที่ต้นแบบนำมาขยายผลให้กับโครงการในปีที่ 3

แบ่งเป็น 2 ช่วงคือเช้าและบ่าย โครงการย่อยประกอบด้วยพี่เลี้่ยงและตัวแทนโครงการ 2 คนเข้าพบผู้ทรงฯ ผมขอให้เข้าพบพร้อมกัน เพราะลักษณะกิจกรรมมีวัตถุประสงค์
ผลลัพธ์ ตัวชี้วัดเขียนตามบันใดผลลัพธ์เดียวกัน  แต่เนื่องจากบริบทปัญหาอาจจะมีบางแง่มุมแตกต่างกันบ้าง

จึงชวนมาแลกเปลี่ยนการทำโครงการร่วมกัน ตั้งแต่การมองภาพรวมของโครงการ เป้าหมายที่ต้องการ และเรียนรู้แนวคิด แนวทางปรับพฤติกรรมหรือสร้างสภาพแวดล้อมใหม่ของแต่ละโครงการ ตั้งแต่การวิเคราะห์แหล่งกำเนิดขยะแต่ละประเภท/แนวทางปรับพฤติกรรม โดยเฉพาะแรงจูงใจที่จะทำให้ครัวเรือนปรับพฤติกรรมทั้งคุณค่าของขยะที่ทีมจะต้องเข้าถึงความรู้ว่าขยะแต่ละประเภทนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง(ทำปุ๋ย น้ำหมัก หัวเชื้อน้ำยาเอนกประสงค์ น้ำเอนไซส์/ทอดผ้าป่าขยะรีไซเคิล ธนาคารขยะ เบาะลม เตียงลม เสื้อผ้ามือสองฯลฯ) หรือกลุ่มเป้าหมายจะมีแรงจูงใจอะไร เชื่อมโยงกับการค้นหาช่องว่างที่มี นำต้นทุนเดิมที่ดำเนินการมาแล้วมาแลกเปลี่ยนกัน การเรียนรู้บวกกับคำถามและข้อเสนอแนะจะจุดประกาย เปิดมุมมองและความคิดให้กว้างมากขึ้น ทำให้แต่ละโครงการสามารถทบทวนตัวเอง ปรับแก้กิจกรรม รายละเอียดการดำเนินงานได้ด้วยตนเอง

ชาคริต โภชะเรือง บันทึกเรื่องราว(เพิ่มเติม)

Relate topics