ความก้าวหน้าภารกิจเตรียมรองรับสังคมสูงวัยจังหวัดตรัง

  • photo  , 960x720 pixel , 95,510 bytes.
  • photo  , 2048x1536 pixel , 182,149 bytes.
  • photo  , 2048x1536 pixel , 138,256 bytes.
  • photo  , 1280x960 pixel , 131,430 bytes.
  • photo  , 1280x960 pixel , 121,573 bytes.
  • photo  , 1280x960 pixel , 134,025 bytes.
  • photo  , 960x540 pixel , 72,647 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 103,735 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 107,969 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 92,867 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 115,340 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 112,166 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 103,478 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 108,229 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 109,354 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 123,634 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 113,011 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 87,766 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 125,391 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 125,938 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 166,364 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 100,861 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 184,159 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 159,395 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 105,710 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 122,279 bytes.
  • photo  , 1000x1491 pixel , 283,291 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 120,696 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 98,296 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 107,244 bytes.
  • photo  , 2048x1536 pixel , 183,682 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 105,682 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 85,313 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 117,825 bytes.
  • photo  , 960x720 pixel , 142,074 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 127,061 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 124,822 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 153,622 bytes.
  • photo  , 1080x609 pixel , 181,221 bytes.

ที่นี่ควนกุน

พื้นที่สุดเขตชายแดนทิศตะวันตกของจังหวัดตรังประตูเมืองรอยต่อกับจังหวัดกระบี่

ทต.ควนกุน อ.สิเกา  1 ใน พื้นที่ปฏิบัติการ 14  พื้นที่/โครงการ เตรียมรองรับสังคมสูงวัยร่วมกับ Node Flagship จังหวัดตรัง

สำหรับ ทต.ควนกุน ปีนี้เป็นการทำงานปี 2 จากปีที่ผ่านมาขับเคลื่อนการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยโดยมีภาคประชาชน นำโดยชมรมผู้สูงอายุ/โรงเรียนผู้สูงอายุ เป็นแกนนำในการดำเนินโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย  โดย มี อ.สุธน โข้ยนึ้ง เป็นแกนนำสำคัญ

ปีนี้ปรับกลไกการทำงานที่ชักชวนภาคีท้องถิ่น และภาคีสุขภาพ ให้เข้ามามีส่วนร่วมมากขึ้น

ศุกร์ที่ผ่านมา (24 มิ.ย.65)  จึงเป็นการประชุมนัดหมายของคณะทำงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลควนกุน ครั้งที่ 1 โดยมีทั้งตัวแทนท้องถิ่น นายอุดม เมืองประทับ รองนายกทต. พี่สุภัชชา ศิริมี ผอ.กองสวัสดิการ มีเจ้าหน้าที่นักพัฒนาชุมชน มีประธานชุมชนทั้ง 5 ชุมชน มีเจ้าหน้าที่ รพ.สต.กะลาเส  มีประธานกองทุนสวัสดิการชุมชน เข้าร่วมปรึกษาหารือ

กระบวนการชวนกันเรียนรู้ภาพใหญ่แนวคิดการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย  ซึ่งส่งผลกระทบจากสัดส่วนประชากรเปลี่ยนไป ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น เด็กเกิดน้อยลง และวัยทำงานลดลง  keyword สำคัญคือ สังคมสูงวัยไม่ใช่สังคมผู้สูงอายุ  และต้องชวนกันให้ชุมชนท้องถิ่นร่วมกันสร้างระบบรองรับสังคมสูงวัย โดยการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยทั้งต้องเตรียมความพร้อม 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านสังคม ด้านสภาพแวดล้อม ด้านเศรษฐกิจการออม

ก่อนต่อด้วยขยายรายละเอียดโครงการ เป้าหมายผลลัพธ์การเปลี่ยนแปลงที่อยากเห็นต่อจากนี้ 10 เดือน

ที่ประชุมร่วมปรึกษาหารือ

-ทางเจ้าหน้าที่ รพ.สต. จะช่วยในการดึงข้อมูลจาก HOSxp สำหรับกลุ่มคัดกรอง 35 ปีขึ้นไป

-การปรึกษาเรื่องกลุ่มเป้าหมาย 200 คน สำหรับผู้สูงอายุ ทางสมาชิก 70 กว่าคนพร้อมจะเข้ามามีส่วนร่วม สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่กังวลคือกลุ่ม 35-59 ปีซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก

-รองนายก เสนอเชื่อมกับงาน ทต.ที่ทางนายกเทศมนตรีมีเป้าหมายจะลงพื้นที่พบปะประชาชนในแต่ละชุมชน  ซึ่งจะได้มีวาระเตรียมรองรับสังคมสูงวัยไปทำความเข้าใจและชักชวนหากลุ่มเป้าหมายดำเนินโครงการ

-ที่ประชุมหารือวันนัดหมายที่ส่วนใหญ่จะว่างตรงกันสำหรับคณะทำงาน ก็ได้เป็นวันพฤหัสบดี ช่วงบ่าย

-การปรับจุดเสี่ยงในพื้นที่สาธารณะ มองพื้นที่วัดเจริญร่มเมืองเป็นเป้าหมายหลัก ซึ่งทาง ทต.ก็มีแนวคิดในการปรับปรุงซึ่งจะได้บูรณาการร่วมกัน

ปิดท้ายเสริมพลังใจให้ทีมโดยพี่ตุ้ม ศรีหัทยา ชูสุวรรณ ผู้ทรงคุณวุฒิ Node Flagship จังหวัดตรัง ที่เน้นย้ำว่า สังคมสูงวัยไม่ใช่สังคมผู้สูงอายุ และกลุ่มเป้าหมายหลักในการทำงานเน้นกลุ่มคนที่ยังเป็นผู้สูงอายุ ได้แก่ 35-59 ปี สำหรับกระบวนการทำงานเน้นการมีส่วนร่วมและการเรียนรู้เพื่อเตรียมรองรับสังคมสูงวัย
ถ่ายภาพร่วมกันของทีมเป็นที่ระลึกพร้อมมอบข้าวเบายอดม่วง
แถมพิเศษมีหุงข้าวเบายอดม่วงให้ทีมทต.ควนกุนได้ชิม
ถือว่า kick off อย่างเป็นทางการสำหรับขับเคลื่อนโครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลควนกุน


ตำบลบ่อหินเตรียมรองรับสังคมสูงวัย

ชุมชนพหุวัฒนธรรมที่มีพี่น้องไทยพุทธ และไทยมุสลิมในพื้นที่ อ.สิเกา จ.ตรัง อีก 1 พื้นที่ปฏิบัติการชวนกันเตรียมรองรับสังคมสูงวัยร่วมกับ Node Flagship จังหวัดตรัง

การทำงานขับเคลื่อนกรณีบ่อหินมีทางสภาองค์กรชุมชนรับเป็นเจ้าภาพในการรับทุนโครงการ และประสานความร่วมมือกับภาคีท้องถิ่น ภาคีสุขภาพ ผู้นำท้องที่เข้าร่วม พฤหัสบดีที่ผ่านมา วงประชุมคณะทำงานเตรียมรองรับสังคมสูงวัยตำบลบ่อหิน ครั้งที่ 1 จึงนัดหมายภาคีเครือข่าย ทั้งภาคท้องถิ่น นำโดย  นายธรรมฤทธิ์ เขาบาท นายกอบต. หัวหน้าสำนักงานปลัด เจ้าหน้าที่นักพัฒนาชุมชน ผู้ช่วยนักพัฒนาชุมชน เข้าร่วม  ชักชวนภาคีสุขภาพ ประธานอสม. และแกนนำอสม. ในแต่ละหมู่บ้าน มีสมาชิกอบต. 2 4 6 7  และผู้ใหญ่บ้าน ม.9 เข้าร่วมเป็นคณะทำงานและปรึกษา

กระบวนการเป็นการแนะนำองค์กร สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.)  และชวนกันทำความเข้าใจภาพใหญ่แนวคิดเตรียมรองรับสังคมสูงวัยผ่านคลิปของ อ.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง  ต่อด้วยการทำความเข้าใจผลลัพธ์และตัวชี้วัดสำคัญของโมเดลสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยที่เป็นเชิงเป้าหมายที่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง 10 เดือนต่อจากนี้

ต่อจากนั้นพี่หน.สำนักปลัดก็ช่วยนำเสนอกิจกรรมสำคัญที่วางแนวจะขับเคลื่อนตลอดโครงการ หลายตัวชี้วัดที่ประชุมร่วมแลกเปลี่ยนและมีความเป็นไปได้จะบรรลุผลในการทำงาน เช่น การปรับสภาพบ้าน ซึ่งทางสภาองค์กรชุมชนมีการสำรวจและมีบ้านเป้าหมาย การพัฒนาศูนย์ช่วยเหลือสังคมที่ทางพี่ อพม. แจ้งว่าบ่อหินถูกเลือกเป็นตำบลนำร่องของ อ.สิเกา การประสานแผนงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเข้าสู่แผนท้องถิ่นก็จะมีการปรับอีกทีช่วงเดือนตุลาคมก็น่าจะสามารถเชื่อมประสานแผนงานโครงการกับแผนท้องถิ่นได้ เป็นต้น มีการหารือกัน อาทิ ประเด็นการปรับสภาพแวดล้อมพื้นที่สาธารณะ มีข้อเสนออยากให้ปรับบริเวณหาดแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ เป็นต้น  หลังจากนี้ก็ชวนให้เริ่มมองกลุ่มเป้าหมายที่จะมาร่วมจำนวน 200 คน โดยเสนอว่ากลุ่มคณะทำงาน ผู้ที่เข้าร่วมประชุมต้องเข้าร่วม เพราะเรื่องเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเป็นเรื่องของเราgทุกคน ไม่ใช่เรื่องเฉพาะผู้สูงอายุ
ด้วยต้นทุนความร่วมมือของพื้นที่

เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ชวนติดตาม


นาตาล่วงเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ปี 2

อีกหนึ่งพื้นที่ปฏิบัติการจาก 14 พื้นที่/โครงการร่วมขับเคลื่อนการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยร่วมกับ Node Flagship จังหวัดตรัง

สำหรับทต.นาตาล่วงเป็นการทำงานการขับเคลื่อนการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยปีที่ 2 จากปีแรกดำเนินการนำโดยชมรมผู้สูงอายุ และประสานความร่วมมือกับทางท้องถิ่น และรพ.สต. มาร่วมขับเคลื่อน โดยมีจุดเน้น "นาตาล่วงอ่อนหวาน" ชวนกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมด้านสุขภาพ ร่วมกับการส่งเสริมด้านการออม การปรับสภาพแวดล้อม เป็นมิติรอง

ปีนี้ทต.นาตาล่วงปรับโหมดโดยทางท้องถิ่นเข้ามาเป็นเจ้าภาพหลักและชักชวนภาคีสุขภาพ รพ.สต. อสม. และภาคีชุมชนทั้งชมรมผู้สูงอายุเข้ามาทำงานร่วมกัน โดยขับเคลื่อนเพื่อสร้างการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยทั้ง 4 มิติ ได้แก่ ด้านสุขภาพ ด้านสภาพแวดล้อม ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจ

พุธที่ผ่านมา (22 มิ.ย.65)  จึงเป็นการประชุมของคณะทำงานโครงการสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเทศบาลตำบลนาตาล่วง นำโดย นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลนาตาล่วง นายณัฐพงษ์ เนียมสม  ปลัดเทศบาล ทีมเจ้าหน้าที่จากกองสวัสดิการสังคม พี่วิวัฒน์ และพี่น้อย และกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม คุณหมอสุณี ไชยมล ผอ.รพ.สต.นาตาล่วง  มีประธานอสม.ทั้งระดับตำบล และหมู่บ้าน  มีตัวแทนชมรมผู้สูงอายุ และกำนันตำบลนาตาล่วงเข้าร่วม โดยใช้ห้องประชุมที่เทศบาล

กระบวนการเป็นการชวนกันทำความเข้าใจแนวคิดการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ต่อด้วยการชวนคลี่บันไดผลลัพธ์ดูกิจกรรมที่จะดำเนินการในช่วง 10 เดือน พิจารณาตัวชี้วัดสำคัญทั้ง 4 มิติ ในบันไดผลลัพธ์ 5 ขั้น คือ 1)คณะกรรมการเข้มแข็ง 2)มีการปรับสภาพแวดล้อมเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 3)มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเตรียมรองรับสังคมสูงวัย 4)มีคุณภาพชีวิตเตรียมรองรับสังคมสูงวัย และ 5) มีแผนงานโครงการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยของตำบล

ในบางตัวชี้วัดพื้นที่ก็ดำเนินการแล้ว เช่น กันพัฒนาศูนย์ช่วยเหลือสังคม

สำหรับด้านสุขภาพทาง คุณหมอสุณี แจ้งในที่ประชุมอาสาเป็นแกนนำหลักในการขับเคลื่อน

ประเด็นหารือสำคัญคือการค้นหากลุ่มเป้าหมาย 200 คน ซึ่งกลุ่มหลัก 35-59 ปีร้อยละ 80 และกลุ่มเป้าหมายรอง 60 ปีขึ้นไปร้อยละ 20

เดิมคณะทำงานคิดเบื้องต้นว่า 6 หมู่บ้าน กระจายเป็นหมู่ละประมาณ 35 คน ซึ่งจะเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ทาง รพ.สต. มีข้อมูลหมู่ละ 5  กลุ่มเป้าหมายอสม. หมู่ละ5 คน ผู้สูงอายุหมู่ละ 5 คน และให้ทางท้องที่หาให้อีกหมู่ละ 20 คน

แต่นายกให้ข้อคิดว่าที่ผ่านมาการค้นหากลุ่มเป้าหมายก็จะใช้ในลักษณะนี้ที่แบ่งๆกันไปในการค้นหากลุ่มเป้าหมาย ซึ่งก็จะได้จำกัด  กลุ่มหน้าเดิมในแต่ละหมู่ ครั้งนี้อยากจะขอให้มีใบสมัคร มีแบบสอบถามกระจายไปเลยแล้วให้ประชาชนแสดงความคิดเห็นว่าใครอยากเข้ามามีส่วนร่วมและสนใจเข้าร่วมโครงการบ้าง โดยจะให้ผนวกกับรายละเอียดกับกิจกรรมโครงการอื่น ๆ ของเทศบาลที่จะดำเนินการก็ถามไปพร้อมๆ กัน

มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากปลัดเทศบาลว่าการดำเนินการอยากให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตคนนาตาล่วง และทำจากต้นทุนของพื้นที่

ปิดท้ายด้วยการถ่ายรูปหมู่ร่วมกัน

หลังจาก kick off อย่างเป็นทางการแล้ว

หลังจากนี้เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่ชวนเรียนรู้และติดตามการขับเคลื่อนการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยไปด้วยกัน


"ก้าว ทต.คลองปางเตรียมรองรับสังคมสูงวัย "

ทต.คลองปาง ชุมชนท้องถิ่นตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดตรัง พื้นที่จรดกับ ต.กะปาง อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช นับเป็นอีกหนึ่งประตูเมืองของจังหวัดตรัง
ทต.คลองปางเป็นชุมชนการค้าหลักของ อ.รัษฎา ทำการค้าขายมาแต่โบราณ ประชาชนส่วนใหญ่ทำอาชีพค้าขาย อีกส่วนหนึ่งทำเกษตรกรรมสวนยางพารา สวนปาล์มและสวนผลไม้ ทต.คลองปางมีประชากรทั้งสิ้น 2224 คน มีประชากรชายมากกว่าหญิง ประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป  430  คน  คิดเป็นร้อยละ 19.33  ซึ่งแทบจะเข้าสู่สังคมสูงวัยสมบูรณ์แล้ว (ร้อยละ 20)

ที่ผ่านมาพื้นที่ ทต.คลองปาง มีความโดดเด่นในงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ การมีโรงเรียนผู้สูงอายุวิถีพุทธ วิถีธรรม ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ในระดับจังหวัด  มีความโดดเด่นในงานด้านส่งเสริมสุขภาพ มีการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นมีประสิทธิภาพ งานสูงวัยเท่าทันสื่อ

หลังจากทีม Node Flagship มีโอกาสชักชวนทีมคลองปางในหลายโอกาสในการมาเรียนรู้ประเด็นการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ปีนี้ทีมคลองปาง โดยผู้บริหารชุดใหม่ และการประสานงานของพี่ปลา ผอ.กองสวัสดิการสังคม จึงตอบรับคำชักชวนร่วมเป็น 1 ใน 14 พื้นที่ปฏิบัติการ/โครงการในประเด็นเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ร่วมกับ Node Flagship จังหวัดตรัง

วันอังคารที่ผ่านมา (21 มิ.ย.65)  จึงเป็นการนัดประชุมคณะทำงานภายหลังเวทีปฐมนิเทศโครงการฯ เพื่อทำความเข้าใจทิศทาง และภาพรวมการดำเนินกิจกรรมเตรียมรองรับสังคมสูงวัย

ผู้เข้าร่วมมีตั้งแต่ทีมคณะผู้บริหาร นำโดยนายศุภกิจ ศาสตร์สุวรรณ นายกทต.คลองปาง  และรองนายก 2 ท่าน มีปลัดทต. มีผอ.กองสวัสดิการสังคม และเจ้าหน้าที่ มีนายกฤษณะ  บวรศุภศรี  ผญ.ม.2 ผู้ใหญ่ใจดีของพื้นที่ มีผอ.รพ.สต. มีแกนนำชมรมผู้สูงอายุ  และอสม.เข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง
กระบวนการก็เป็นการแนะนำองค์กร สสส. มีการชวนทำความเข้าใจแนวคิดเตรียมรองรับสังคมสูงวัย และต่อด้วยการอธิบายขยายความผลลัพธ์ ตัวชี้วัดสำคัญ และกิจกรรมที่จะดำเนินการ

หลายตัวชี้วัดการดำเนินงานในพื้นที่เริ่มไปแล้ว อาทิ การจัดทำข้อมูลคนเปราะบาง การหาช่องทางการเตรียมปรับสภาพบ้านให้คนเปราะบาง  หรือปลายเดือนนี้ทางทต.ก็กำลังจะเปิดศูนย์ช่วยเหลือสังคม

การมีกิจกรรมส่งเสริมความรู้การออมที่หลากหลาย  การจัดทำไลน์กลุ่มเพื่อสื่อสารขับเคลื่อนเตรียมรองรับสังคมสูงวัย และปลายเดือนนี้ทางโรงเรียนผู้สูงอายุของพื้นที่ก็จะเปิดดำเนินอีกครั้ง ซึ่งมีข้อเรียกร้องจากเหล่านักเรียนที่อยากให้กลับมาดำเนินการ ความพิเศษของที่นี่โรงเรียนผู้สูงอายุไม่ได้มีแต่กลุ่มผู้สูงอายุ แต่จะรวมไปถึงกลุ่มเตรียมรองรับสังคมสูงวัยเช่นกัน

เก็บภาพบรรยากาศร่วมกัน ปิดท้ายด้วยการกินขนมจีน และแถมด้วยของฝากเป็นทุเรียนจากนายกสำหรับทีม

อีกหนึ่งพื้นที่ปฏิบัติการที่จะช่วยกันสร้างการเรียนรู้เตรียมรองรับสังคมสูงวัย

ตลอด 10 เดือนต่อจากนี้ชวนกันติดตามครับ


“Small area เกาะลิบง”

อีกหนึ่งพื้นที่เป้าหมายสร้างการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงเพื่อเตรียมรองรับสังคมสูงวัย

ม. 3 ม. 6 ม.8 คือ ขอบเขตเชิงพื้นที่ชวนกันขับเคลื่อนการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยครั้งนี้ ด้วยความที่เป็นตำบลเกาะลิบงลักษณะพิเศษ 8 หมู่บ้าน 3 แผ่นดิน โดยหมู่บ้านอยู่บนเกาะลิบง 4 หมู่บ้าน เกาะมุกด์ อีก 1 หมู่บ้าน และบนฝั่ง คือบ้านมดตะนอย บ้านสุไหงบาตู และหาดยาว 3 หมู่บ้าน

และการทำงานภายใต้โมเดลสามภาคีสานพลังเตรียมรองรับสังคมสูงวัย ที่จะต้องมีความร่วมไม้ร่วมมืออย่างน้อย 3 ภาคส่วนทั้ง ภาคีท้องถิ่น ภาคีสุขภาพ และภาคีประชาชน คือเงื่อนไขสำคัญในการรับทุนครั้งนี้

รพ.สต.มดตะนอย โดยการประสานงานของพี่หมอหนึ่ง พี่หมอสมโชค จึงอาสาเป็นตัวเชื่อมประสานกับภาคีท้องถิ่น  อบต.เกาะลิบง และภาคีประชาชน กลุ่มองค์กรชุมชน และฝ่ายท้องที่ให้เข้ามามีส่วนร่วม และขอตั้งต้นจาก 3 หมู่บ้านซึ่งอยู่ในขอบเขตการทำงานของ รพ.สต. อยู่แล้วเป็นพื้นที่เรียนรู้นำร่องของตำบล

จันทร์ที่ผ่านมา(20 มิ.ย.65) จึงเป็นการประชุมปรึกษาหารือกันครั้งแรกภายหลังการจัดเวทีปฐมนิเทศโครงการที่มีแกนนำบางส่วนได้เข้าร่วมในระดับจังหวัดเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา
ครั้งนี้ชักชวนทีมคณะทำงานทั้งแกนนำ อสม. 3 หมู่บ้าน ผู้นำท้องที่ ผู้นำศาสนา และแกนนำผู้สูงอายุที่เปลี่ยนจากผู้ป่วยติดเตียงกลับมาใช้ชีวิตแบบไม่ติดเตียง  ขาดในส่วนผู้นำท้องถิ่นที่ติดประชุมด่วนไม่ได้เข้าร่วม โดยใช้ห้องประชุมรพ.สต.เป็นสถานที่นัดหมาย

กระบวนการเป็นการชักชวนกันเรียนรู้แนวคิดการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยผ่านคลิปของ อ.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง ที่ชวนเห็นสถานการณ์ภาพใหญ่ที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างไร และการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยต้องเตรียมในมิติอะไรบ้าง

ต่อจากนั้นเป็นการชวนกันทบทวนต้นไม้ปัญหาที่ช่วยฉายภาพสถานการณ์ของ 3 หมู่บ้านของปัญหาผู้สูงอายุทั้งด้านสุขภาพ ด้านสังคม ด้านสภาพแวดล้อม และด้านเศรษฐกิจการออม ซึ่งปัญหาต่าง ๆ มาจากรากของปัญหา ความเชื่อ/ทัศนคติ ความรู้ พฤติกรรม สภาพแวดล้อม และกลไกอะไรบ้างที่กำลังเผชิญอยู่

และตามด้วยการคลี่บันไดผลลัพธ์ที่อธิบายเส้นทาง แผนที่เพื่อไปสู่เป้าหมายการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยที่ต้องชวนกันพัฒนาให้เกิดกลไกคณะทำงานที่เข้มแข็ง การชวนกันปรับด้านสภาพแวดล้อม การปรับพฤติกรรมเตรียมรองรับสังคมสูงวัย การมีคุณภาพชีวิตที่ดี และการไปสู่ความยั่งยืนของพื้นที่  โดยมีกิจกรรม และตัวชี้วัด ที่สอดคล้องในแต่ละขั้นอย่างไรบ้างในระยะเวลาการทำงาน 10 เดือน

ผู้เข้าร่วมยกมือสัญญาใจในการร่วมกันขับเคลื่อนปฏิบัติการครั้งนี้

ระหว่างการพูดคุยทำความเข้าใจ

“ถ้าชุมชนไม่ได้เตรียมความพร้อม….อะไรจะเกิดขึ้น ? ทางเลือก คือ เราจะอยู่เฉย ๆ  หรือจะจับมือช่วยกันทำ”

คำพูดชวนกันคิดของพี่หมอสมโชค รพ.สต.มดตะนอย

ช่วงท้ายเน้นย้ำกันถึงจังหวะการก้าวต่อ หลังจากนี้คือช่วงเวลาในการพัฒนาทีมคณะทำงานของโครงการฯให้มีความเข้าใจแนวคิดการเตรียมรองรับสังคมสูงวัย การช่วยกันค้นหากลุ่มเป้าหมายในแต่ละหมู่บ้าน เน้นย้ำว่ากลุ่มเป้าหมายหลัก 80 % เป็นกลุ่ม 35-59 ปี และ กลุ่มเป้าหมายรองอีก 20 % เป็นผู้สูงอายุ การช่วยกันคิดกิจกรรมที่อยากสร้างการเปลี่ยนแปลงเตรียมรองรับสังคมสูงวัยในแต่ละหมู่บ้าน

สุดท้ายรูปแบบการเตรียมรองรับสังคมสูงวัยแม้จะมีแนวทางกลางจาก Node Flagship แต่สุดท้ายการขับเคลื่อนก็จะเป็นในแบบฉบับของเรา คือ คำพูดทิ้งท้ายสร้างความมั่นใจให้กับทีมพื้นที่จากพี่หมอสมโชค


ที่นี่เกาะสุกร

อีกหนึ่งพื้นที่ร่วมปฏิบัติการ "เตรียมรองรับสังคมสูงวัย" ร่วมกับทีม Node Flagship จังหวัดตรัง และภาคีเครือข่าย

วันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (16 มิ.ย.65) เป็นเวทีนัดหมายคุยกันยกแรกของทีมคณะทำงานเตรียมรองรับสังคมของตำบล โดยมีทางทีม Node Flagship จังหวัดร่วมลงไปพื้นที่ช่วยสร้างความเข้าใจถึงทิศทางเป้าหมายในการทำงานร่วมกัน

คณะทำงานที่เข้าร่วมประชุมมีทั้งผู้แทนท้องถิ่นทั้งฝ่ายบริหาร รองนายกอบต. เลขานุการนายกอบต. มีเจ้าหน้าที่นักพัฒนาชุมชน มีเจ้าหน้าที่จาก รพ.สต.เกาะสุกร ตัวแทนท้องที่ผู้ใหญ่บ้านจาก ม.2 และม.4 แกนนำชมรมผู้สูงอายุ /โรงเรียนผู้สูงอายุ และกำลังสำคัญ อสม.

ภายหลังจากชวนดูคลิปแนะนำองค์กร สสส. และคลิป เตรียมรองรับสังคมสูงวัย ของ อ.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง แล้ว ทาง จ๊ะพิศ ในฐานะผู้ประสานงานโครงการฯ จึงนำเสนอที่ไปที่มาสถานการณ์สังคมสูงวัยของตำบลผ่านต้นไม้ปัญหา

นอกเหนือจากข้อมูลปัญหาของผู้สูงอายุที่ส่วนใหญ่ไม่ต่างจากพื้นที่อื่น  ๆ ทั้งทางด้านสุขภาพ สังคม สภาพแวดล้อม และเศรษฐกิจแล้ว

แต่มีข้อมูลหนึ่งที่ทำให้หลายคนตกใจ คือสัดส่วนผู้สูงอายุที่ ปัจจุบันประชากรผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีอยู่ 516 คน จากประชากรทั้งหมด 2152 คน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 23.9 ซึ่งถือว่าเข้าสู่สังคมสูงวัยสมบูรณ์แล้ว

ต่อด้วยการลำดับกิจกรรมที่จะทำในช่วง 10 เดือนต่อจากนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ร่วมเติมเต็มขยายความเข้าใจโดยทาง พี่จำเนียร มานะกล้า พี่เลี้ยงพื้นที่ที่ช่วยในขั้นตอนการพัฒนาโครงการ

มีการหารือเบื้องต้นกันถึงกลุ่มเป้าหมาย 200 คน โดยเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก 35-59 ปี จำนวน 160 คน และ 60 ปีขึ้นไป 40 คน โดยกระจายกันในทุกหมู่แต่วัดส่วนตามจำนวนประชากร ซึ่ง 4 หมู่มีไม่เท่ากัน และเห็นว่าควรต้องทำเป็นใบสมัคร

เมื่อทีมเริ่มพร้อม หลังจากนี้ก็จะเป็นกระบวนการค้นหากลุ่มเป้าหมาย การจัดทำข้อมูลเตรียมรองรับสังคมสูงวัย และดำเนินกิจกรรมเพื่อเตรียมรองรับสังคมสูงวัยในแต่ละมิติ
ช่วงท้ายก็สร้างความมั่นใจให้ทีมคณะทำงานโครงการฯของเกาะสุกรว่าการทำงานไม่ได้ทำงานโดดเดี่ยว แต่จะมีระบบพี่เลี้ยง การติดตามหนุนเสริม การพัฒนาศักยภาพโดยทีม Node Flagship จังหวัดตรัง ตลอดการดำเนินโครงการ

อีก 10 เดือนมาติดตามความเปลี่ยนที่นี่ ที่เกาะสุกรกันครับ


วัดเตรียมรองรับสังคมสูงวัยในเขตปกครองคณะสงฆ์อำเภอปะเหลียน-อ.หาดสำราญ

1 ใน 3 เขตปกครองคณะสงฆ์ในพื้นที่จังหวัดตรังที่ร่วมปฏิบัติการดำเนินการขับเคลื่อนวัดเตรียมรองรับสังคมสูงวัยร่วมกับกับทาง Node Flagship จังหวัดตรัง และภาคีเครือข่ายในปีนี้ โดยมีวัดเป้าหมาย 6 วัด ได้แก่ วัดทุ่งยาว วัดหนองสมาน วัดภูมิประสิทธิ์ วัดในเขา วัดธาตุสุขสำราญ วัดป่าธรรมาวาส

วันนี้เป็นการหารือวงเล็กเพื่อทำความเข้าใจโครงการวัดเตรียมรองรับสังคมสูงวัยอีกครั้งภายหลังมีการปรับรายละเอียดโครงการตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อเตรียมความพร้อม kick off อย่างเป็นทางการ

มีท่านมหารัตนากร เจ้าอาวาสวัดในเขาในฐานะเลขานุการโครงการ พระคุณเจ้าตัวแทนจากวัดธาตุสุขสำราญ พี่ศักดิ์ ญาติโยมของวัดในเขา และกำนันตำบลบ้าหวีที่มาร่วมแจมในช่วงท้าย ทีมสนับสนุน Node Flagship จังหวัดตรัง  นำโดยท่านอิทธิยาวัธย์ พี่เลี้ยงโครงการฯ  พี่บุ๋ม ผม น้องแอม และแม่ที่มาร่วมกิจกรรมด้วย บันไดผลลัพธ์ถูกคลี่ให้เห็นภาพรวมที่อยากให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใน 10 เดือนต่อจากนี้ มีกลุ่มเป้าหมายหลักเป็นพระสงฆ์ทั้ง 6 วัดประมาณ 40 รูป และกลุ่มเป้าหมายรองญาติโยมของวัดอีก 60 คน  มีด้านสำคัญจุดเน้นในการทำงาน ได้แก่ ด้านสุขภาพพระสงฆ์ และด้านการปรับสภาพแวดล้อมให้วัดปลอดภัยสำหรับผู้สูงอายุ  ตัวชี้วัดหลายข้อถูกตั้งคำถามถึงวิธีการวัดผล

พักยกลงไปดูพื้นที่นาข้าวของพี่ศักดิ์ที่อยู่ใกล้วัด และมีความตั้งใจจะใช่เป็นกิจกรรมเชื่อมโยงคนสามวัยของวัด นอกจากนี้ก็มีการปรึกษาถึงรายชื่อกลุ่มเป้าหมายที่จะมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงาน ทั้งทีมของวัด ภาคีสำคัญที่ควรเชิญเข้ามาร่วมทั้งท้องที่ ท้องถิ่น ผู้แทนสาธารณสุขอำเภอ ผู้แทนภาคเอกชนที่เป็นกำลังของวัด

การเตรียมวิธีการเพื่อให้ได้ข้อมูลสุขภาพพระสงฆ์ใน 6 วัดเป้าหมายเพื่อเป็นข้อมูลนำเข้าก่อนการประชุมคณะทำงานครั้งแรก หลังจากนี้การออกแบบกระบวนการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้เตรียมรองรับสังคมสูงวัย ลดความเป็นวิชาการ เชื่อมโยงกับสิ่งใกล้ตัวที่พระดำเนินการอยู่บ้างแล้ว และการทำให้มีความรู้สึกเป็นเจ้าของโครงการร่วมกันของทีมคณะทำงานกลางนับเป็นโจทย์ท้าทาย

#ตรังเมืองคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืน

#วัดเตรียมรองรับสังคมสูงวัย

#NodeFlagshipTrang

#สสส

เชภาดร จันทร์หอม  บันทึกเรื่องราว

Relate topics