"เตรียมแผนงานร่วมทุน อบจ.และ สสส.สงขลา"

  • photo  , 1080x720 pixel , 95,750 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 118,234 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 120,409 bytes.
  • photo  , 1000x564 pixel , 117,757 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 118,347 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 109,022 bytes.

"เตรียมแผนงานร่วมทุน อบจ.และ สสส.สงขลา"

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 กองเลขานัดหมายผู้เชี่ยวชาญและทีมพี่เลี้ยงแผนงานร่วมทุนทำความเข้าใจแนวทางดำเนินการ โดยมีเป้าหมาย 2 ประเด็นคือ ยาเสพติดในชุมชนและสุขภาพจิตในโรงเรียนมัธยมต้น ให้ข้อเสนอแนะต่อ(ร่าง)แนวทางสนับสนุนโครงการย่อย มีข้อสรุปสำคัญดังนี้

1.เรียนรู้ประสบการณ์การทำงานกับสสส.ในส่วนพี่เลี้ยงและเครือข่ายในสงขลา

2.พัฒนาโครงสร้างการดำเนินงานแผนงานร่วมทุน ประกอบด้วย

1)กลไกคณะกรรมการบริหาร 11 คน

2)คณะอนุกรรมการกลั่นกรองและติดตามผล 2 ชุดๆละ 7 คนรับผิดชอบประเด็นยาเสพติดในชุมชนและสุขภาพจิตในโรงเรียนมัธยม

3)ผู้เชี่ยวชาญ 1 คน

4)กองเลขา 6 คน 5)พี่เลี้ยงพัฒนาโครงการ 12-16 คน

3.โครงการย่อย 32 โครงการ แบ่งขนาดเป็น A=120,000 บาท จำนวน 4 โครงการ B=100,000 บาท จำนวน 20 โครงการ c=65,000 บาทจำนวน 8 โครงการ กระจายให้ครอบคลุม 16 อำเภอ ดำเนิน10เดือน(กรกฏาคม2567-30เมษายน2568)

4.กลุ่มเป้าหมายหลัก คือกลุ่มเสี่ยงที่เป็นเยาวชนอายุ 13-18 ปี

5.เริ่มดำเนินการ 1มกราคม2567-31กรกฏาคม2568 รวม18เดือน

6.การทำงานเน้นระบบทีม มีการทำงานร่วมกันระหว่างพี่เลี้ยงที่มาจากภาคีเครือข่ายที่มีความชำนาญแตกต่างแต่สามารถเสริมหนุนกันและกัน โดยแบ่งพื้นที่เป็น 4 โซนๆละ 4 อำเภอ พี่เลี้่ยงจะทำงานร่วมกันเป็นทีีม โซนละ 4 คน

7.เสนอให้ใช้ระบบรายงานและสนับสนุนโครงการย่อยใน www.happynetwork.org ที่มีการพัฒนาให้กับอบจ.สตูล/ปัตตานีได้ใช้งานไปแล้ว เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับกองเลขาที่จะนำข้อมูลโครงการย่อยนำเสนอให้กับสสส.ต่อไป

8.ใช้ระบบกลุ่ม iMed@home ที่พัฒนาแบบคัดกรองสุขภาวะรายคนมาใช้รองรับการปรับพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยงและวัดผลการปรับพฤติกรรมรวมถึงใช้ในการประสานภาคีเครือข่ายมาทำงานร่วมกัน

9.การทำงานในช่วงเริ่มต้น เน้นการเรียนรู้และสร้างความร่วมมือกับภาคียุทธศาสตร์ มีการประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างพี่เลี้ยง ตัวแทนพื้นที่โครงการย่อยร่วมกับผู้ปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อจัดทำต้นไม้ปัญหาและบันไดผลลัพธ์ที่จะเป็นแนวทางกลาง ให้พี่เลี้ยงนำไปเป็นแนวทางพัฒนาโครงการกับโครงการย่อย จากนั้นประชุมร่วมกับทีมพี่เลี้ยง ฝึกเขียนกิจกรรมและตัวชี้วัด

10.กองเลขาสรุปแนวปฏิบัติและคำถาม/คำตอบพื้นฐาน โดยเฉพาะการเงิน/ภาษีที่เกี่ยวข้อง ลดขั้นตอนที่จะสร้างความยุ่งยากให้กับคณะทำงานโครงการย่อยและให้เป็นแนวทางบริหารงานที่ถูกต้อง

ขั้นตอนต่อไปปรับแก้โครงการให้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์นี้ ประสานพี่เลี้ยงในส่วนสถานศึกษา และหาพี่เลี้ยงเพิ่มในอำเภอนาทวี/สะบ้าย้อย/กระแสสินธ์/สทิงพระ และประชุมคณะกรรมการบริหารเสนอเพื่ออนุมัติแผนงานและให้ข้อเสนอแนะต่อไป

Relate topics