เวทีความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับสตรี (ชายแดนใต้)
เวทีความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์สำหรับสตรี
ภัยคุกคามไซเบอร์เป็นเรื่องน่ากลัวในยุคนี้ เทคโนโลยีที่พัฒนาเร็วขึ้น ไม่เพียงทำให้ผู้บริโภคใช้เทคโนโลยีเพิ่มความสะดวกสบายให้ตัวเอง กลุ่มมิจฉาชีพที่เชี่ยวชาญด้านไอทีก็พร้อมยกระดับความสามารถการคุกคามทางโลกไซเบอร์เช่นกัน และระยะหลังไม่ได้ทำเพื่อความสนุก สะใจ แต่หวังทรัพย์สินเงินทองด้วย
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เป็นผู้หญิงกังวลกับการป้องกันตัวเองจากภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์น้อยกว่าผู้ชาย ความคิดนี้อันตรายมากสร้างความเสี่ยงให้ผู้หญิงเผชิญภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์ได้ง่ายกว่าผู้ชาย
ผู้หญิง 19% เชื่อว่า ตกเป็นเหยื่อทางอาชญากรรมบนโลกไซเบอร์ ขณะที่ผู้ชายเชื่อว่าตกเป็นเหยื่อ 25% เมื่อสำรวจความรู้ทั่วไปที่มีเกี่ยวกับภัยคุกคามโลกไซเบอร์ ผู้หญิงรู้เรื่องนี้น้อยกว่าผู้ชาย เช่น เมื่อเอ่ยถึง Ransomware ภัยคุกคามไซเบอร์ ที่บรรดาแฮ็กเกอร์เจาะข้อมูลเข้ามาในเครื่องมือเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตของเรา แล้วทำการตั้งรหัสผ่านข้อมูลนั้นไว้เป็นตัวประกัน เรียกเงินค่าตอบแทนแลกกับรหัสผ่านเพื่อให้เปิดข้อมูลได้ ผู้หญิง 38% ไม่รู้จัก Ransomware ส่วนผู้ชายที่ไม่รู้จักมี 27%
การที่ผู้หญิงไม่ตระหนักภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์ ทำให้ผู้หญิงสนใจป้องกันตัวเองจากภัยคุกคามบนโลกไซเบอร์น้อยลง ผู้หญิงมักอนุญาตให้บุคคลอื่นเข้าใช้อุปกรณ์หลักของตัวเองได้ถึง 36% ของ
ผู้หญิงที่ไม่ได้ป้องกันข้อมูล เพราะไม่เห็นความเสี่ยง 13% ของผู้หญิงไม่มีมาตรการรักษาความปลอดภัยบนอุปกรณ์ของตัวเองเลย สูงกว่าผู้ชายซึ่งอยู่ที่ 10%
ผลสำรวจยังระบุถึงการเผชิญหน้ามัลแวร์หรือซอฟต์แวร์เจตนาร้ายว่า ปีที่ผ่านมาผู้ชายเผชิญมัลแวร์ 35% มากกว่าผู้หญิงที่เผชิญ 27% ผู้ชายส่วนมากที่เผชิญได้รับผลกระทบด้านการเงิน 22% ผู้หญิง 19% ปกติผู้ชายเสียเงิน เพื่อซื้อโปรแกรมเสริมที่ออกแบบมาทำความสะอาดระบบหรือป้องกันในอนาคต ส่วนผู้หญิงเสียเงินกับการนำอุปกรณ์เชื่อมต่อของตัวเองให้ผู้เชี่ยวชาญช่วย
หากบุคคลทั่วไปและองค์กรตระหนักภัยคุกคามไซเบอร์ รู้จักศึกษาวิธีการละเมิด ก็จะปกป้องไม่ให้ข้อมูลตัวเองรั่วไหลหรือถูกโจมตีได้ดีขึ้น ความเสี่ยงจะเป็นผู้โชคร้ายก็ลดลง
ปาตีเมาะ เปาะอิแตดาโอะ บันทึกเรื่องราว
วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567
Relate topics
- ภารกิจภาคีเครือข่ายโครงการการพัฒนาระบบการจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติด้วยข้อมูล ความรู้ แบบสหวิทยาการในพื้นที่ประสบภัยพิบัติซ้ำซากจังหวัดปัตตานี
- ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับพื้นที่นำร่องชุมชนสีเขียวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านความมั่นคงทางอาหารภาคใต้
- สงขลา "ความสุขเริ่มที่บ้าน : ปรับสภาพบ้านคนพิการติดเตียงสิทธิ์บัตรทอง"
- ผนึกพลัง 24 องค์กรเครือข่ายร่วมจัดทำบันทึกความร่วมมือ(MOU)ข้อตกลงธรรมนูญสถานศึกษาปลอดภัย ป้องกันปัจจัยเสี่ยง ฯ ในเด็กและเยาวชน จังหวัดนครศรีธรรมราช
- เวทีสานพลังเครือข่ายในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะภาคใต้ เน้นประเด็นความมั่นคงทางอาหาร มนุษย์ สุขภาพ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการขับเคลื่อนแผนชุมชนสู่การพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการจังหวัดพัทลุง
- เครือข่ายเล่นเปลี่ยนโลก เปิดพื้นที่ “Let’s play festival” ปีที่ 2 เล่นอิสระใกล้บ้าน เพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งเรียนรู้
- งานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 17 พ.ศ. 2567 (วันที่ 27-28 พฤศจิกายน 2567)
- เยาวชนต้องพร้อม สู่อาสาสมัครรับมือน้ำท่วม (สงขลา)
- การหารายได้เสริมจากผักที่เราปลูก: กรณีของ “กะละห์” ต้นแบบจาก Node สสส.ปัตตานี