ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทบทวนแผนพัฒนาจังหวัดปัตตานี พ.ศ 2566-2570 (ฉบับทบทวนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569) และแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569

  • photo  , 940x788 pixel , 135,934 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 204,356 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 122,047 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 130,958 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 143,301 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 131,674 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 124,101 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 108,860 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 152,466 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 136,649 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 147,068 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 134,199 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 150,470 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 125,075 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 116,274 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 129,575 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 109,607 bytes.
  • photo  , 1000x1333 pixel , 205,893 bytes.

วันที่ 16 พฤษภาคม 2567  มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตปัตตานี นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อรุณีวรรณ บัวเนี่ยว รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพันธกิจสังคมวิทยาเขตปัตตานี และคุณธวัลรัตน์ ว่องกมล ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และพัฒนาวิทยาเขตปัตตานี  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จรีรัตน์ รวมเจริญ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทบทวนแผนพัฒนาจังหวัดปัตตานี พ.ศ 2566-2570 (ฉบับทบทวนประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569) และแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 ของจังหวัดปัตตานี  โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมการปฏิบัติการในครั้งนี้ ได้แก่ หัวหน้าส่วนราชการ/หน่วยงาน ผู้แทนภาคเอกชน/ภาคประชาสังคม  ในระหว่างวันที่ 16-18  พฤษภาคม 2567 ณ ห้องน้ำพร้าว1 โรงแรม ซี.เอส.ปัตตานี

เพื่อทบทวนแผนพัฒนาจังหวัดให้ทันต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต นำไปสู่การกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดปัตตานีที่สอดคล้องกับปัญหาและศักยภาพ เป็นไปตามความต้องการของทุกภาคส่วน รวมทั้งเพื่อเป็นกรอบทิศทางขับเคลื่อนการพัฒนาและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ในการจัดประชุมฯ โดย หัวหน้าสำนักงานจังหวัดปัตตานี

กล่าวเปิดการประชุมฯ และมอบนโยบายในการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัดฯ โดย รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี นายสนั่น สนธิเมือง แทนผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี นางพาตีเมาะ สะดียามู

การบรรยายในหัวข้อ "นโยบายและหลักเกณฑ์ในการทบทวนแผนพัฒนาจังหวัด สรุปสาระสำคัญของ ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่๑๓ เป้าหมายและแนวทางการพัฒนาภาคใต้ชายแดน (พ.ศ. 2566-2570) และการบูรณาการแผนพัฒนาในระดับพื้นที่ (One Plan)" โดย ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด สนจ.ปน.

โดยประเด็นการพัฒนาจังหวัดปัตตานีในปี 2568 มีประเด็นการพัฒนาอยู่ 5 ด้าน ได้แก่

1-พัฒนาคนอย่างเต็มศักยภาพในทุกช่วงวัยและมีสมรรถนะสูง

2-เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจฐานราก การเกษตรแบบยั่งยืน ผลิตภัณฑ์และบริการฮาลาลคุณภาพ เชื่อมโยงการท่องเที่ยว การค้า การบริการ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค

3-พัฒนาสังคมและศักยภาพคนทุกช่วงวัย ชุมชนน่าอยู่ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยั่งยืน

4-ลดความความยากจนข้ามรุ่นและความเหลื่อมล้ำ ภายใต้บริบทสังคมพหุวัฒนธรรมเข้มแข็ง

5-เสริมสร้างความมั่นคงและสังคมแห่งสันติสุข

การระดมความคิดเห็นเพื่อทบทวนแผนพัฒนาจังหวัดปัตตานี พ.ศ. ๒๕๖๖ -๒๕๗๐ หัวข้อดังนี้

1.สรุปการจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดปัตตานี พ.ศ. ๒๕๖๖ -๒๕๗๐ ในห้วงที่ผ่านมา

2.ความสำเร็จที่สำคัญของการพัฒนาจังหวัดในห้วงที่ผ่านมา

3.ปัญหาหรืออุปสรรคสำคัญในภาพรวมต่อการพัฒนาจังหวัดในห้วงที่ผ่านมา

4.การทบทวนปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกจังหวัดปัตตานี (SWOT Analysis) และการกำหนดทิศทางการพัฒนา (TOWS Matrix)

5.การทบทวนเป้าหมายการพัฒนาจังหวัด และตัวชี้วัดตามเป้าหมาย

6.การทบทวนจุดยืนในการพัฒนาจังหวัด (Positioning)

โดย คณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ดร.ธัญรดี ทวีกาญน์ คณะวิทยาการจัดการ

ผศ.ดรกฤษดี พ่วงรอด สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการสื่อสาร

ดร.วรพจน์ ปานรอด สาขาวิชาบริหารธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

อาจารย์กิตติพันธ์ เอกอารีสกุล คณะวิทยาการจัดการ

ผศ.ดร.สุธิรัส ชูชื่น คณะรัฐศาสตร์

ในการทบทวนปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกจังหวัดปัตตานี (SWOT Analysis) ในด้านมิติทุนมนุษย์และสังคม ดร. อรุณีวรรณ บัวเนี่ยว รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพันธกิจสังคมวิทยาเขตปัตตานี กล่าวว่าในบทบาทของสถาบันการศึกษาในปัจจุบันเอง จะต้องวิเคราะห์บทบาทของสถาบันการศึกษาที่นอกจากการความรู้ในการบ่มเพาะนักศึกษาในมหาวิทยาลัยแล้ว สถาบันการศึกษาก็ยังต้องคำนึงถึงส่วนที่มหาวิทยาลัย สามารถเป็นส่วนช่วยในการแก้ไขปัญหาของพื้นที่ในอีกมิติหนึ่งอีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ ศูนย์ประสานงานการวิจัยแก้ไขปัญหาความยากจนฯ

Relate topics