สช.จับมือกับสมาคม อบจ. แห่งประเทศไทย วางระบบการพัฒนาและขับเคลื่อนสุขภาพท้องถิ่น

photo  , 1477x1108 pixel , 171,354 bytes.

สช.จับมือกับสมาคม อบจ. แห่งประเทศไทย วางระบบการพัฒนาและขับเคลื่อนสุขภาพท้องถิ่น นำผลการศึกษาวิจัยหนุนเสริมการทำงานของ อบจ. พร้อมเร่งจัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาระบบสุขภาพท้องถิ่น

วานนี้ 16 พฤษภาคม 2567 สช. หารือความร่วมมือการพัฒนาและขับเคลื่อนระบบสุขภาพท้องถิ่นร่วมกับสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย โดยมี นพ.สุเทพ เพชรมาก เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ดร.ชูพงศ์ คำจวง นายกสมาคม อบจ. แห่งประเทศไทย นพ.ศักดิ์ชัย กาญจนวัฒนา อดีตเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นพ.ปรีดา แต้อารักษ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ นางสาวปรานอม โอสาร หัวหน้าศูนย์วิชาการสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะเพื่อเสริมพลังพลเมืองตื่นรู้ นายชาตรี ศรีสันต์ หัวหน้าสำนักงานสมาคม อบจ. แห่งประเทศไทย นางสาวบุญตา บางใย ผู้อำนวยการส่วนเลขานุการและประสานงาน เลขานุการนายกสมาคม อบจ. แห่งประเทศไทย นายโพยม  สุระสัจจะ ผู้อำนวยการส่วนยุทธศาสตร์และงบประมาณ เข้าร่วม

ที่ประชุมมีข้อสรุปการหารือร่วมกันทั้งระยะสั้น กลาง ยาว ดังนี้

1.ร่วมสนับสนุนการจัดเวทีสาธารณะปฏิบัติการพื้นที่สู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย : ความท้าทายระบบสุขภาพในมือของชุมชนและท้องถิ่น วันที่ 17 กรกฎาคม 2567 จำนวนผู้เข้าร่วม 500 คน ที่มุ่งเน้นกลุ่มเป้าหมายบุคลากรของท้องถิ่นทั่วประเทศ ที่เป็นสมาชิกของสมาคม อบจ. แห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สมาคม อบต. แห่งประเทศไทย รวมถึงพื้นที่ รพ.สต. ที่มีการถ่ายโอนภารกิจฯ ไปยัง อปท.

2.รวบรวมการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายพัฒนาระบบสุขภาพท้องถิ่นเสนอต่อรัฐมนตรี หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง

3.ร่วมกันจัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาระบบสุขภาพท้องถิ่น โดยเริ่มจัดวงหารือกับคณะอนุกรรมการด้านสาธารณสุขของสมาคม อบจ. แห่งประเทศไทย และหน่วยงานตระกูล ส. ช่วงต้นเดือนกรกฎาคม 2567

4.การจัดนำผลการศึกษาวิจัยขยายผลชุดความรู้ แนวทางกระบวนการทำงานให้กับท้องถิ่นทั่วประเทศ

5.ร่วมออกแบบกลไกบูรณาการด้านสุขภาพระดับจังหวัดที่เป็นคณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ โดยมีประธานเป็นนายก อบจ. เป็นประธาน มีผู้ทรงคุณวุฒิด้านสุขภาพที่เป็น #เครือข่ายสมัชชาสุขภาพจังหวัด รวมถึงองค์ประกอบเครือข่ายท้องถิ่น และด้านสุขภาพ เพื่อเป็นกลไกการขับเคลื่อนงานระบบสุขภาพท้องถิ่น โดยเฉพาะระบบสุขภาพปฐมภูมิของท้องถิ่น

6.การร่วมกันพัฒนากำลังคนท้องถิ่นให้มีความเข้าใจสุขภาพแบบองค์รวม

ขอบคุณข้อมุลจากเพจ สช. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

Relate topics