การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำระดับจังหวัด (สุราษฏร์ธานี) และ Nature based Solution กับบริบทเมืองและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
การจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำระดับจังหวัด (สุราษฏร์ธานี) และ Nature based Solution กับบริบทเมืองและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
พื้นที่ชุ่มน้ำเป็นแหล่งรวมความหลากหลายทางชีวภาพ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่รองรับน้ำไว้ใช้ยามฤดูแล้ง และช่วยชะลอน้ำท่วมเข้าสู่เมืองยามเกิดอุทกภัย ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ถือเป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ชุ่มน้ำทางทะเลและชายฝั่ง และพื้นที่ชุ่มน้ำที่เป็นแหล่งน้ำจืด อาทิ แม่น้ำ คลอง บึง โดยแบ่งระดับความสำคัญได้ดังนี้ พื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระดับแรมซาร์ไซด์ 1 แห่ง (อุทยายแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง) ระดับนานาชาติ 5 แห่ง ระดับชาติ 1 แห่ง และระดับท้องถิ่นกว่า 250 แห่ง
เมื่อวันที่ 21-24 พฤษภาคม ที่ผ่านมา สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย หรือ TEI นำโดย ดร.จีรนุช ศักดิ์คำดวง ผู้เชี่ยวชาญ คุณพวงผกา ขาวกระโทก ผู้จัดการโครงการ และคณะนักวิจัย ร่วมกับ องค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) และศูนย์วนศาสตร์ชุมชนเพื่อคนกับป่า (RECOFTC)
ลงพื้นที่หารือกับหน่วยงานและชุมชนที่เกี่ยวข้อง อาทิ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองทุ่งทอง สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 4 อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง ชุมชนคลองฉนาก ชุมชนบางใบไม้ ชุมชนพรุคลองควาย และชุมชนบึงขุนทะเล โดยสำรวจสภาพพื้นที่ปัจจุบัน และการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ด้านการใช้ประโยชน์พื้นที่ในอดีตและปัจจุบัน ปัญหาด้านภัยพิบัติและการรับมือ และการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ
สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบจัดทำแผนปฏิบัติการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำ ได้ร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดทำแผนปฏิบัติการฯ โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ อาทิ การเปลี่ยนแปลงของสภาพพื้นที่แหล่งน้ำ บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานและชุมชนในการดูแลและจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำในความรับผิดชอบ หรือในพื้นที่ใกล้เคียงที่อยู่อาศัย รวมทั้งข้อเสนอแนะในการจัดทำแผนการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำที่เหมาะสมกับพื้นที่ โดยข้อมูลที่ได้ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทยจะรวบรวมและจัดทำแผนปฏิบัติการจัดการพื้นที่ชุ่มน้ำระดับจังหวัดต่อไป
นอกจากนี้ ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UDDC) ร่วมกับหน่วยงานภาคีความร่วมมือภายใต้โครงการเสริมสร้างขีดความสามารถเมืองและธรรมชาติในการตั้งรับปรับตัวต่อผลกระทบจากวิกฤติสภาพอากาศ (Urban Resilience Building and Nature) ได้แก่ IUCN RECOFTC ศูนย์เตรียมความพร้อมป้องกันภัยพิบัติแห่งเอเชีย (ADPC) และ TEI นำโดยดร. จีรนุช ร่วมจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อประเมินความต้องการการเพิ่มพูนศักยภาพ (Training Need Assessment) ให้แก่คณะกรรมการโครงการระดับจังหวัด ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐ และผู้แทนชุมชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 20-21 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องศรีวิชัย บี โรงแรมวังใต้ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
โดยการประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อทราบถึงความต้องการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนเป้าหมาย นอกจากนั้นยังเป็นการให้ความรู้ด้านบริบทของความเป็นเมือง ความหมายของ Urban Resilience ความท้าทายทางสังคม และความเสี่ยง ความเปราะบาง และความล่อแหลมจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการจัดทำแผนและผัง (Plan and Spatial Plan) การกำหนดขอบเขตพื้นที่เมืองศักยภาพในการดำเนินการโดยแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยธรรมชาติเป็นฐานในพื้นที่เมืองและระหว่างเมือง โดย ดร.จีรนุช เป็นวิทยากรกระบวนการให้คำแนะนำและวิเคราะห์พื้นที่เมืองร่วมกับผู้เข้าร่วมอบรม ซึ่งข้อมูลพื้นที่และความคิดเห็นที่โครงการได้รับจากผู้เข้าร่วมอบรมจะนำไปสู่การวางแผนงานและดำเนินงานร่วมกับหน่วยงานและชุมชนในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานีอย่างมีประสิทธิภาพ
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย - TEI
Relate topics
- ภารกิจภาคีเครือข่ายโครงการการพัฒนาระบบการจัดการความเสี่ยงภัยพิบัติด้วยข้อมูล ความรู้ แบบสหวิทยาการในพื้นที่ประสบภัยพิบัติซ้ำซากจังหวัดปัตตานี
- ประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อยกระดับพื้นที่นำร่องชุมชนสีเขียวเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนด้านความมั่นคงทางอาหารภาคใต้
- สงขลา "ความสุขเริ่มที่บ้าน : ปรับสภาพบ้านคนพิการติดเตียงสิทธิ์บัตรทอง"
- ผนึกพลัง 24 องค์กรเครือข่ายร่วมจัดทำบันทึกความร่วมมือ(MOU)ข้อตกลงธรรมนูญสถานศึกษาปลอดภัย ป้องกันปัจจัยเสี่ยง ฯ ในเด็กและเยาวชน จังหวัดนครศรีธรรมราช
- เวทีสานพลังเครือข่ายในการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะภาคใต้ เน้นประเด็นความมั่นคงทางอาหาร มนุษย์ สุขภาพ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการขับเคลื่อนแผนชุมชนสู่การพัฒนาท้องถิ่นแบบบูรณาการจังหวัดพัทลุง
- เครือข่ายเล่นเปลี่ยนโลก เปิดพื้นที่ “Let’s play festival” ปีที่ 2 เล่นอิสระใกล้บ้าน เพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งเรียนรู้
- งานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติครั้งที่ 17 พ.ศ. 2567 (วันที่ 27-28 พฤศจิกายน 2567)
- เยาวชนต้องพร้อม สู่อาสาสมัครรับมือน้ำท่วม (สงขลา)
- การหารายได้เสริมจากผักที่เราปลูก: กรณีของ “กะละห์” ต้นแบบจาก Node สสส.ปัตตานี