"พังงาแห่งความสุข" พื้นที่แห่งการร่วมสร้างสังคมให้เป็นสังคมแห่งความสุขร่วมกัน

  • photo  , 1567x1045 pixel , 186,545 bytes.
  • photo  , 1080x720 pixel , 76,066 bytes.
  • photo  , 1080x720 pixel , 90,168 bytes.
  • photo  , 1080x720 pixel , 81,211 bytes.
  • photo  , 1280x853 pixel , 109,628 bytes.
  • photo  , 1280x853 pixel , 92,757 bytes.
  • photo  , 1280x853 pixel , 84,863 bytes.
  • photo  , 1000x667 pixel , 140,665 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 187,664 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 117,521 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 138,141 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 110,953 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 137,934 bytes.
  • photo  , 1477x1108 pixel , 164,740 bytes.
  • photo  , 1000x753 pixel , 118,121 bytes.
  • photo  , 1000x753 pixel , 143,671 bytes.
  • photo  , 1000x753 pixel , 141,163 bytes.
  • photo  , 1000x753 pixel , 125,814 bytes.
  • photo  , 1000x753 pixel , 150,607 bytes.
  • photo  , 1000x753 pixel , 170,180 bytes.
  • photo  , 1000x753 pixel , 176,462 bytes.
  • photo  , 1000x1328 pixel , 239,053 bytes.
  • photo  , 1000x753 pixel , 125,696 bytes.
  • photo  , 1000x1333 pixel , 389,090 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 169,194 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 144,811 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 132,031 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 101,842 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 90,999 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 107,407 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 77,884 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 112,001 bytes.

"พังงาแห่งความสุข" พื้นที่แห่งการร่วมสร้างสังคมให้เป็นสังคมแห่งความสุขร่วมกัน

กว่าจะก่อเกิดเป็น "พังงาแห่งความสุข" กระบวนการที่สำคัญคือ

(1)การรวมคน  (2)การสร้างเป้าหมายร่วมของคน  (3)การสร้างยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนโดยอาศัย เครื่องมือ ความรู้ ประสบการณ์ และงบประมาณ จากหน่วยงานภาคีสนับสนุน ก่อเกิด ปั้นแต่ง จนกลายเป็น "สมัชชาพังงาแห่งความสุข" มากกว่า 12 ปี

ขั้นที่หนึ่ง (2554 - 2559) คือ ขั้นตอนของการจัดระบบองค์กรชุมชน การจัดการข้อมูล การขับเคลื่อนในพื้นที่ ก่อเกิดรูปธรรม เชื่อมร้อยเครือข่าย ใช้ระยะเวลากว่าห้าปี

ขั้นที่สอง (2560 - 2564) คือ การยกระดับความรู้ รูปธรรม สู่การจัดการ และขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นๆ พร้อมการสร้างความร่วมมือ กับหน่วยงานภาคี ภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรสนับสนุนต่างๆ ให้เข้ามาหนุนเสริม พัฒนา จนเกิดเป็น "ผังพัฒนาพังงาแห่งความสุข" ในช่วงนี้อาจใช้เวลา 5 ปี และนำเสนอแผน และผังการพัฒนา ต่อหน่วยงานระดับจังหวัด และองค์การบริหารส่วนจังหวัด เพื่อจัดทำแผนอุดหนุนงบประมาณ และความร่วมมือในการขับเคลื่อน

ขั้นที่สาม (2565 - 2567) คือ การนำแผนไปสู่การปฎิบัติ ซึ่งขั้นนี้ คือการรวบรวมแผนจากพื้นที่ แผนจากการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น แผนที่เกิดจากนโยบายในงานสมัชชาพังงาความสุข เพื่อพัฒนาเป็น "แผนและผังการพัฒนา" ที่ผ่านการยอมรับจากทุกภาคส่วน และนำไปบรรจุเป็นแผนพัฒนาจังหวัด และแผนงบประมาณองค์การบริหารส่วนจังหวัด ซึ่งในช่วงระยะเวลานี้อาจใช้เวลา หนึ่งถึงสามปี เพราะการสร้างความเข้าใจ การสร้างความร่วมมือ การสร้างความไว้วางใจ ในการทำงานร่วมกัน ต้องก่อเกิดจากการปฏิบัติการร่วมเท่านั้น ไม่อาจเกิดขึ้นได้จริงจากวงเจรจาแต่เพียงอย่างเดียว

ขั้นที่สี่ (2568 - 2573) คือ การขับเคลื่อนนโยบาย ผังการพัฒนาหลายเรื่องราวไม่สามารถนำไปสู่การกำหนดทิศทางการพัฒนาจังหวัดได้ หากไม่มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างอำนาจ แก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาในพื้นที่ รวมไปถึงอำนาจในการบริหาร จัดการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งไม่มีอยู่จริงนั้น จึงไม่สามารถที่จะกำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาในพื้นที่ให้เกิดขึ้นได้จริงตามแผนงาน และผังการพัฒนาที่คนพังงาได้พยายามขับเคลื่อนมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน

ที่ประชุมสมัชชาพังงาแห่งความสุขปีนี้ เห็นพ้องกันว่า

-จะขับเคลื่อนไปสู่ "จังหวัดจัดการตนเอง" ซึ่งอาจหมายถึง ...การเลือกตั้งนายกเทศมนตรีจังหวัดพังงา หรือจะเรียกว่าผู้ว่าราชการจังหวัดที่มาจากการเลือกตั้งก็ได้ แต่ต้องมีแค่ตำแหน่งเดียวในจังหวัดพังงา ... กำหนดระยะเวลาร่วมกันว่าต้องไม่เกิน 10 ปีจากนี้

-มีการกำหนดแผนและขั้นตอนการขับเคลื่อนไปสู่การปฏิบัติร่วมกัน เช่นการผลักดันให้บรรจุอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่จะมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญเกิดขึ้นในเร็ววันนี้ ...ต้องบรรจุเรื่องการกระจายอำนาจให้จังหวัดเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดขนาดใหญ่ ให้มีการเลือกตั้งผู้ว่าราชการจังหวัด หรือจะเรียกเป็นอย่างอื่นก็ตามก็ตาม จังหวัดพังงาต้องเป็นจังหวัดนำร่อง 10 จังหวัดแรกของประเทศด้วย

ทำไมจังหวัดพังงาถึงนำร่องได้ เพราะเราขับเคลื่อนเป็นกระบวนการ ขั้นตอน ดังที่กล่าวมาข้างต้น ถึงขนาดนี้ เราอาจพร้อมที่จะเดินหน้า หากนโยบายและกฎหมายเปิดโอกาส ให้จังหวัดพังงาเลือกผู้ว่าการจังหวัดเองได้ ผู้ว่าฯ หรือนายกเทศมนตรีจังหวัด หรือนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด หรือหรือจะเรียกเป็นอย่างไรก็ตาม นั่นไม่สำคัญกว่า เขาต้องเข้ามาบริหารการเมือง บริหารแผนที่ประชาชนจัดทำขึ้น เพื่อตอบสนองความต้องการที่เกิดจากประชาชนโดยแท้จริง

ชวนมารู้จัก "พังงาแห่งความสุข"  ชมคลิป




Cr. คุณไมตรี จงไกรจักร์  คสช.เขต 11  สมัชชาพังงาแห่งความสุข

12 มิถุนายน 2567

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ สช. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

Relate topics