แลกเปลี่ยนการขับเคลื่อนธรรมนูญสูงวัยพื้นที่สงขลา สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช และตรัง
นโยบายสาธารณะเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับสังคมสูงวัยอย่างมีคุณภาพภายใต้วิถีชีวิตใหม่
โดยการแลกเปลี่ยนการขับเคลื่อนธรรมนูญสูงวัยใน ๔ พื้นที่คือ จังหวัดสงขลา สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช และจังหวัดตรัง เป็นการนำเสนอประสบการณ์ตรงจากพื้นที่ที่ใช้กระบวนการนโยบายสาธารณะทั้งในเรื่องของการจัดทำแผนสุขภาพ,ธรรมนูญสุขภาพ และกระบวนการรูปแบบอื่น รวมทั้งปรึกษาหารือในการติดตามเสริมพลังในระดับภาค ค้นหารูปแบบในการขับเคลื่อนแต่ละจังหวัด จากการแลกเปลี่ยนมีข้อเสนอแนะ ดังนี้
๑)ทบทวนบริบทการทำงานสังคมสูงวัยในภาคใต้เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และวางแผนการดำเนินงานให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง
๒)ใช้ธรรมนูญเป็นเครื่องมือในการทำงานเพื่อเป็นข้อตกลงในการรองรับสังคมสูงวัย
๓)วิเคราะห์สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของโลกเพื่อรองรับทุกกลุ่มวัย และเตรียมความสังคมสูงวัยในอนาคต
๔)เตรียมข้อมูลให้ทันสมัยปีต่อปีเพื่อใช้ในการวางแผนการทำงาน /ข้อมูลต้นทุนทางสังคม /ต้นทุนภาคีหุ้นส่วน /ต้นทุนทางวัฒนธรรม
๕)ใช้ฐานชุมชนเป็นตัวตั้งในการทำงาน ทำงานเชื่อมโยงทุกกลุ่มวัย ไม่ได้เฉพาะกลุ่มสูงวัยเท่านั้น
๖)รวบรวมชุดความรู้สำคัญในการขับเคลื่อนสังคมสูงวัยของภาคใต้
ประชุมแลกเปลี่ยนการขับเคลื่อนนโยบายสังคมสูงวัย วันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๖๗ ผ่านระบบ Zoom
ปราณี วุ่นฝ้าย บันทึกเรื่องราว
Relate topics
- หนุงเสริมพลังโครงการ“การผลิตและบริโภคผักปลอดสารเคมีในครัวเรือน” บ้านบางใหญ่ สุราษฏร์ธานี
- หนุนเสริมพลังโครงการเครือข่ายสุขภาวะยุคใหม่สร้างเมืองปลอดภัยห่วงใยคุณภาพชีวิตชาวบ้านหาร สงขลา
- นายกสมาคมผู้หญิงเพื่อสันติภาพ ร่วมแลกเปลี่ยน “แนวคิดจัดตั้งสมาคมฯ: เสียงจากประชาชนสู่การขับเคลื่อนสันติภาพ”
- UNDP และกระทรวงพม. เดินหน้ารับมือความท้าทายท่ามกลางสังคมสูงอายุและภาวะโลกรวน
- โซ่ข้อกลางเพื่อประชาชน: สันติวิธี เส้นทางสู่สันติสุขที่ยั่งยืนที่ชายแดนใต้
- หารือการขับเคลื่อนงานตามโครงการ “วัยรุ่นใต้ล่างรู้ทันบุหรี่ไฟฟ้า” พื้นที่สตูล
- สช.ผนึกกำลัง กขป. ทั่วประเทศเคลื่อนงานพัฒนารองรับสังคมสูงวัย มุ่งวางทิศชี้ทาง บูรณาการร่วม-เน้นทำบนฐานข้อมูลพื้นที่เป็นหลัก
- กขป.เขต ๑๒ จัดประชุมสร้างความร่วมมือการดำเนินงานปี ๒๕๖๘
- พมจ.กระบี่ ประสานความร่วมมือทุกภาคส่วน ร่วมออกแบบแผนปฏิบัติการปี 68 มุ่งสู่กระบี่อยู่เย็นเป็นสุข
- สสว.11 ชวนใช้ข้อมูลครัวเรือน(กลุ่มเสี่ยง)จากสมุดพกครอบครัวอิเล็กทรอนิกส์เพื่อขับเคลื่อนเชิงนโยบายอย่างพุ่งเป้า